ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอินโดนีเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ธนบดั เมืองโคตร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
งง
บรรทัด 1:
<!---{{ต้องการอ้างอิง}}--->
{{กล่องข้อมูล ประเทศ
| native_name = {{lang|id|Republik Indonesia}} <small>{{id icon}}</small>
| conventional_long_name = สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
| common_name = อินโดนีเซีย
| image_flag = Flag of Indonesia.svg
| image_coat = National emblem of Indonesia Garuda Pancasila.svg
| symbol_type = ตราแผ่นดิน
| image_map = Indonesia (orthographic projection).svg
| national_motto = Bhinneka Tunggal Ika<br /> ([[ภาษาชวา#ภาษาชวาเก่า|ชวาเก่า]]/[[ภาษากาวี|กาวี]]: "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย") <br />
| national_anthem = [[อินโดเนซียารายา]]<center>[[ไฟล์:Indonesiaraya.ogg]]</center>
| official_languages = [[ภาษาอินโดนีเซีย]]
| capital = [[จาการ์ตา]] |latd=6|latm=08|latNS=S|longd=106|longm=45|longEW=E
| largest_city = [[จาการ์ตา]]
| government_type = [[ประชาธิปไตย]][[ระบบประธานาธิบดี]]
| leader_title1 = [[รายชื่อประธานาธิบดีอินโดนีเซีย|ประธานาธิบดี]]
| leader_title2 = รองประธานาธิบดี
| leader_name1 = [[โจโก วีโดโด]]
| leader_name2 = [[Ma'ruf Amin]]
| area_rank = 14
| area_magnitude = 1_E10
| area_km2 = 1,904,569
| area_sq_mi = 735,355 <!-- Do not remove per [[WP:MOSNUM]] -->
| percent_water = 4.85
| population_estimate = 265,015,300
| population_estimate_year = 1 กรกฎาคม 2561
| population_estimate_rank = 4
| population_census =
| population_census_year =
| population_density_km2 = 116
| population_density_sq_mi = 302 <!-- Do not remove per [[WP:MOSNUM]] -->
| population_density_rank = 84
| GDP_PPP_year = 2560
| GDP_PPP = 3.257 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
| GDP_PPP_rank =
| GDP_PPP_per_capita = 12,432 ดอลลาร์สหรัฐ
| GDP_PPP_per_capita_rank =
| GDP_nominal_year = 2560
| GDP_nominal = 1.020 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
| GDP_nominal_rank =
| GDP_nominal_per_capita = 3,895 ดอลลาร์สหรัฐ
| GDP_nominal_per_capita_rank =
| Gini_year = 2556
| Gini = 39.5<ref name="GINI">{{cite web|url=https://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.GINI?locations=ID |title=Indonesia|publisher=World Bank}}</ref>
| HDI_year = 2559
| HDI = {{increase}} 0.689
| HDI_rank = ที่ 113
| HDI_category = <font color="orange">ปานกลาง</font>
| sovereignty_type = [[เอกราช]]
| sovereignty_note = จาก [[ประเทศเนเธอร์แลนด์|เนเธอร์แลนด์]] ([[ดัชต์อีสต์อินดีส]])+
| established_event1 = ประกาศ
| established_event2 = เป็นที่ยอมรับ
| established_date1 = 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488
| established_date2 = 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492
| currency = [[รูปียะฮ์]]
| currency_code = IDR
| time_zone = มีหลายเขต
| utc_offset = +7 to +9
| time_zone_DST = ไม่ใช้
| utc_offset_DST = +7 to +9
| drives_on = ซ้ายมือ
| cctld = [[.id]]
| calling_code = 62
| footnotes =
}}
 
'''อินโดนีเซีย''' ({{lang-id|Indonesia}}) หรือชื่อทางการคือ '''สาธารณรัฐอินโดนีเซีย''' ({{lang-id|Republik Indonesia}}) เป็น[[หมู่เกาะ]]ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่าง[[คาบสมุทรอินโดจีน]]กับ[[ทวีปออสเตรเลีย]] และระหว่าง[[มหาสมุทรอินเดีย]]กับ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] มีพรมแดนติดกับ[[ประเทศมาเลเซีย]]บน[[เกาะบอร์เนียว]]หรือกาลีมันตัน ({{lang|id|Kalimantan}}), [[ประเทศปาปัวนิวกินี]]บน[[เกาะนิวกินี]]หรืออีรียัน ({{lang|id|Irian}}) และ[[ประเทศติมอร์-เลสเต]]บน[[เกาะติมอร์]] ({{lang|id|Timor}})
 
== ประวัติ ==
{{หลัก|ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย}}
[[ไฟล์:Taman Ayun.jpg|left|250px|thumb|[[เปอลิงกีฮ์เมรู]]ของ[[ปูราตามันอายุน]] [[จังหวัดบาหลี]] เดิมเป็นที่ตั้งของ[[อาณาจักรบาดุง]]]]
อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของ[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|เนเธอร์แลนด์]]อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 [[ประเทศญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]บุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
 
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ ระหว่างการเรียกร้องเอกราชทำให้เกิดผู้นำในการเรียกร้องหลายท่านที่ควรค่าแก่การยกย่องดังที่พบในรายนาม[[วีรบุรุษแห่งชาติ (อินโดนีเซีย)]] เช่น [[กี ฮาจาร์ เดเวนตารา]] (Ki Hajar Dewantara) จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามใน[[ข้อตกลงลิงกาจาตี]] (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ [[ซูการ์โน]]และ[[ฮัตตา]]ไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
 
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดน[[อีรียันตะวันตก]]เข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอีรียันตะวันตกและให้ชาวอีรียันตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอีรียันตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอีรียันตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506
 
== ภูมิศาสตร์==
อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,826,440 ตารางกิโลเมตร มีประมาณ 17,000 เกาะ พื้นที่กว่า 70% ไม่มีผู้คนอาศัย มีภูเขาสูงตามเทือกเขาที่มีความสูงมากอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนองบึงใช้ประโยชน์ไม่ได้
 
ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะหลัก 5 เกาะคือ [[นิวกินี]], [[ชวา]], [[กาลีมันตัน]], [[ซูลาเวซี]] และ[[สุมาตรา]] เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะสุมาตรา ส่วนเกาะชวาเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะหลักทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรกว่า 200 ล้านคนอาศัยอยู่บนเกาะนี้และเป็นที่ตั้งกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นเมืองหลวง หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์-เลสเต
 
=== ภูมิอากาศ ===
ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) อินโดนีเซียมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่
 
== การเมืองการปกครอง ==
ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบ[[สาธารณรัฐ]] มี[[ประธานาธิบดี]]เป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ
 
=== การแบ่งเขตการปกครอง ===
ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น [[จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย|31 จังหวัด]] ({{lang|id|''provinsi''}}), 2 เขตปกครองพิเศษ* ({{lang|id|''daerah istimewa''}}) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** ({{lang|id|''daerah khusus ibukota''}}) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่
<center>
{{แผนที่ประเทศอินโดนีเซีย}}
</center>
{{Col-begin}}
{{Col-break}}
* '''[[เกาะสุมาตรา]]'''
** [[จังหวัดอาเจะฮ์]]* - [[บันดาอาเจะฮ์]]
** [[จังหวัดสุมาตราเหนือ]] - [[เมดัน]]
** [[จังหวัดสุมาตราใต้]] - [[ปาเล็มบัง]]
** [[จังหวัดสุมาตราตะวันตก]] - [[ปาดัง]]
** [[จังหวัดรีเยา]] - [[เปอกันบารู]]
** [[หมู่เกาะรีเยา]] - [[ตันจุงปีนัง]]
** [[จังหวัดจัมบี]] - [[จัมบี]]
** [[หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง]] - [[ปังกัลปีนัง]]
** [[จังหวัดเบิงกูลู]] - [[เบิงกูลู]]
** [[จังหวัดลัมปุง]] - [[บันดาร์ลัมปุง]]
* '''[[เกาะชวา]]'''
** เขตนครหลวงพิเศษ[[จาการ์ตา]]**
** [[จังหวัดชวากลาง]] - [[เซอมารัง]]
** [[จังหวัดชวาตะวันออก]] - [[ซูราบายา]]
** [[จังหวัดชวาตะวันตก]] - [[บันดุง]]
** [[จังหวัดบันเติน]] - [[เซรัง]]
** [[เขตพิเศษยกยาการ์ตา]] - [[ยกยาการ์ตา]]*
* '''[[หมู่เกาะซุนดาน้อย]]'''
** [[จังหวัดบาหลี]] - [[เด็นปาซาร์]]
** [[จังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก]] - [[กูปัง]]
** [[จังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก]] - [[มาตารัม]]
||
* '''[[เกาะบอร์เนียว]]'''
** [[จังหวัดกาลีมันตันเหนือ]] - [[ตันจุงเซอโลร์]]
** [[จังหวัดกาลีมันตันกลาง]] - [[ปาลังการายา]]
** [[จังหวัดกาลีมันตันใต้]] - [[บันจาร์มาซิน]]
** [[จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก]] - [[ซามารินดา]]
** [[จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก]] - [[ปนตียานัก]]
* '''[[เกาะซูลาเวซี]]'''
** [[จังหวัดโก-รนตาโล]] - [[โก-รนตาโล]]
** [[จังหวัดซูลาเวซีเหนือ]] - [[มานาโด]]
** [[จังหวัดซูลาเวซีกลาง]] - [[ปาลู]]
** [[จังหวัดซูลาเวซีใต้]] - [[มากัซซาร์]]
** [[จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้]] - [[เกินดารี]]
** [[จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก]] - [[มามูจู]]
* '''[[หมู่เกาะโมลุกกะ]]'''
** [[จังหวัดมาลูกู]] - [[อัมบน]]
** [[จังหวัดมาลูกูเหนือ]] - [[โซฟีฟี]]
* '''[[เกาะนิวกินี]]'''
** [[จังหวัดปาปัว]] - [[จายาปูรา]]
** [[จังหวัดปาปัวตะวันตก]] - [[มาโนกูวารี]]
{{Col-end}}
 
== กองทัพ ==
{{บทความหลัก|กองทัพอินโดนีเซีย}}
{{โครง-ส่วน}}
 
== เศรษฐกิจ ==
[[ไฟล์:Jakarta Skyline Part 2.jpg|thumb|275px|[[จาการ์ตา]]ในปี พ.ศ. 2551 ในภาพเห็นอาคาร[[วิซมา 46]] ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ ตั้งอยู่ใจกลางย่านเศรษฐกิจของเมือง]]
 
เศรษฐกิจของอินโดนีเซียเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออก[[น้ำมัน]]และ[[ก๊าซธรรมชาติ]] อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นแหล่งสำคัญที่สุดในการทำรายได้ให้อินโดนีเซีย นับแต่ยุคหลังได้รับเอกราชตลอดมา ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียได้นำรายได้มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการขนส่งและการคมนาคมสร้างฐานอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง มุ่งหวังสร้างความแข็งแกร่งให้กับการอุตสาหกรรมของประเทศ ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในตลาดโลกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523 – 2527 ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซีย รัฐบาลจึงหันมาส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตเพื่อลดการพึ่งพา รายได้จากน้ำมันและ[[ก๊าซธรรมชาติ]] เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ แร่โลหะที่มีค่า สินค้าอุตสาหกรรม ต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาภาคเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้อินโดนีเซียมีข้าวเพียงพอสำหรับเลี้ยงตนเองได้โดยไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไป ยกเว้นบางปีที่ผลผลิตข้าวไม่ดี ขณะเดียวกันรายได้จากการ ส่งออกสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะสินค้า อุตสาหกรรมได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญในปัจจุบัน โดยคิดเป็นร้อยละ 75 ของสินค้าออก ทั้งหมด
 
ในด้านอุตสาหกรรม อินโดนีเซียได้พัฒนาอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมต่อเรือที่[[จาการ์ตา]] [[สุราบายา]] [[เซอมารัง]] และ[[อัมบอยนา]] อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ชนิดต่าง ๆ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมกระจก
 
เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ รัฐบาลอินโดนีเซียได้พยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเรื่องเศรษฐกิจการค้า การเงิน การธนาคาร และการลงทุน เพื่อให้มีความเสรีและสะดวก ยิ่งขึ้น การผ่อนคลายรูปแบบของเศรษฐกิจที่มีรัฐควบคุมอยู่มาก เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนต่างชาติเข้ามาลงทุนในกิจการหลาย ๆ ภาคที่เคยจำกัดไว้ รวมทั้งด้าน[[สาธารณูปโภค]] อาทิ การพัฒนาแหล่งพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม เป็นต้น
 
ดังนั้น เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจึงมีการขยายตัวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความมั่นคงทางการเมือง ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และค่าจ้างแรงงานไม่สูงมาก ล้วนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการลงทุนของต่างชาติ อย่างไรก็ตาม การประกอบการที่ดำเนินแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การกู้ยืมเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากภายนอกเพื่อลงทุนในกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การผลิตและประกอบการที่ไม่มีการแข่งขันเนื่องจากได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตประเทศอื่นได้
 
การไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการโยกย้ายเงินทุน การโจมตีค่าเงินในภูมิภาค หนี้สินต่างประเทศ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย รวมทั้งในอินโดนีเซียในช่วงปี พ.ศ. 2540 – 2541 ก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ซึ่งอินโดนีเซียต้องพึ่งพากู้เงินจาก[[กองทุนการเงินระหว่างประเทศ]]และ[[ธนาคารโลก]]
 
สินค้าออกที่สำคัญของอินโดนีเซีย นอกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว ได้แก่ [[ไม้อัดพลายวูด]] เสื้อผ้า ผ้าผืน [[ยางแปรรูป]] รองเท้า อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะและผลิตผลทางการเกษตร ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ [[ญี่ปุ่น]] [[สหรัฐอเมริกา]] [[สิงคโปร์]] และ[[เกาหลีใต้]] ส่วน สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ รถยนต์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา [[เยอรมนี]] และ[[เกาหลีใต้]]
 
=== การคมนาคม ===
[[ไฟล์:TransJakarta Bundaran HI.jpg|thumb|รถโดยสารสาธารณะ[[ทรานส์จาการ์ตา]] เข้าเทียบท่าที่ป้ายรถประจำทางบนช่องทางเดินรถพิเศษ]]
การคมนาคมในอินโดนีเซียได้รับอิทธิพลจากทรัพยากรและประชากรของชาติหมู่เกาะนี้ โดยเฉพาะการขนส่งประชากรกว่า 250 ล้านคน แค่เฉพาะบน[[เกาะชวา]]อย่างเดียว<ref>{{cite journal|last1=Legge|first1=John D.|title=Review: Indonesia's Diversity Revisited|journal=Indonesia|date=April 1990|volume=49|issue=49|pages=127–131|url=http://cip.cornell.edu/seap.indo/1107012385|jstor=3351057|doi=10.2307/3351057|hdl=1813/53928}}</ref> การขนส่งในประเทศมีแนวโน้มจะเป็นแบบเกื้อกูลช่วยเหลือกันมากกว่าเป็นการแข่งขันในเชิงเศรษฐกิจ ในปี 2016 เม็ดเงินจากการคมนาคมขนส่งอย่างเดียวคิดเป็น 5.2% ของจีดีพี<ref>{{cite web|url=https://www.emis.com/blog/indonesia-transportation-sector-report-20172018|title=Indonesian Transportation Sector Report 2017/2018|author=del Olmo, Esmeralda|publisher=EMIS|date=6 November 2017|accessdate=24 October 2018|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20181024074026/https://www.emis.com/blog/indonesia-transportation-sector-report-20172018|archivedate=24 October 2018}}</ref>
 
ระบบถนนทั้งประเทศมีความยาวรวม {{convert|537838|km|mi|abbr=off}} (2016)<ref>{{cite web|url=https://www.bps.go.id/linkTableDinamis/view/id/820|title=Length of Road by Surface, 1957–2015 (Km)|publisher=BPS|language=id|accessdate=20 December 2017}}</ref> โดยจาการ์ตามีระบบ[[รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ]]ที่ขึ้นชื่อว่ามีเส้นทางเดินรถยาวที่สุดในโลก "[[ทรานส์จาการ์ตา]]" (TransJakarta)
ด้วยระยะทาง {{convert|230.9|km|abbr=off}} ใน 13 สายที่วิ่งจนถึงชานเมืองจาการ์ตา<ref>{{cite web|url=https://transjakarta.co.id/produk-dan-layanan/infrastruktur/koridor/|title=Koridor|publisher=TransJakarta|language=id|accessdate=15 August 2017}}</ref> [[รถสามล้อ]] เช่น ''bajaj'', ''becak'' และแท็กซี่แบบแบ่งกัน (share taxi) เช่น ''Angkot'' และ ''Metromini'' เป็นรูปแบบการขนส่งท้องถิ่นที่พบได้ทั่วไปในประเทศ ระบบการขนส่งทางรางส่วนมากกระจุกตัวอยู่ในชวา ทั้งขนส่งผู้โดยสารและสินค้า สำหรับรถไฟฟ้าและ[[โมโนเรล]]กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างใน[[จาการ์ตา]]และ[[ปาเล็มบัง]] ภายใต้ชื่อ MRT และ LRT<ref>{{cite web|url=https://www.indoindians.com/mrt-and-lrt-jakartas-new-rapid-transportation-coming-soon/|title=MRT and LRT, Jakarta's New Rapid Transportation: Coming Soon|publisher=Indo Indians|date=25 September 2017|accessdate=17 January 2018|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20180117032821/https://www.indoindians.com/mrt-and-lrt-jakartas-new-rapid-transportation-coming-soon/|archivedate=17 January 2018}}</ref><ref>{{cite web|url=http://properti.kompas.com/read/2016/10/22/162355221/lrt.palembang.beroperasi.juni.2018|title=Palembang LRT to begin operation in June 2018|author=Alexander, Hilda B.|publisher=Kompas|language=id|date=22 October 2016|accessdate=29 October 2016|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20161029175950/http://properti.kompas.com/read/2016/10/22/162355221/lrt.palembang.beroperasi.juni.2018|archivedate=29 October 2016}}</ref> นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้าง[[รถไฟความเร็วสูง]]ซึ่งประกาศในปี 2015 ถือเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้<ref>{{cite web|url=https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/south-east-asias-first-high-speed-rail-ready-for-construction-china-railway-corp|title=South-east Asia's first high-speed rail in Indonesia ready for construction: China Railway Corp|publisher=The Straits Times|date=2 July 2018|accessdate=26 September 2018|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20180711162201/https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/south-east-asias-first-high-speed-rail-ready-for-construction-china-railway-corp|archivedate=11 July 2018}}</ref>
[[ไฟล์:Terminal Garuda Indonesia di Bandara Soekarno-Hatta Cengkareng.jpg|thumb|เครื่องบินของ[[การูดาอินโดนีเซีย]]ที่[[ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา]]]]
ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียคือ [[ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา]] ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารผ่านเข้าออกมากที่สุดในซีกโลกใต้ ราว 63 ล้านคน ในปี 2017<ref>{{cite web|url=http://www.thejakartapost.com/news/2018/04/11/soekarno-hatta-worlds-17th-busiest-airport.html|title=Soekarno-Hatta world's 17th busiest airport|publisher=The Jakarta Post|accessdate=11 April 2018|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20180411120328/http://www.thejakartapost.com/news/2018/04/11/soekarno-hatta-worlds-17th-busiest-airport.html|archivedate=11 April 2018}}</ref> โดยมี[[ท่าอากาศยานนานาชาติงูระฮ์ ไร]] และ [[ท่าอากาศยานนานาชาติจ็วนดา]] มีผู้โดยสารเข้าออกมากที่สุดรองลงมาตามลำดับ สายการบินประจำชาติ "[[การูดาอินโดนีเซีย]]" เปิดตัวในปี 1949 ในปัจจุบันสายการบินชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก และเป็นสมาชิกของ[[สกายทีม]] ส่วนการคมนาคมทางน้ำมี[[ท่าเรือตันจัง ปริอ็อก]] เป็นท่าสำคัญที่มีการใช้งานเยอะที่สุดและขึ้นชื่อว่าทันสมัยที่สุดในประเทศ<ref>{{cite web|url=https://www.economist.com/news/special-report/21693404-after-decades-underinvestment-infrastructure-spending-picking-up-last|title=The 13,466-island problem|publisher=The Economist|date=27 February 2016|accessdate=16 June 2017}}</ref> รองรับการขนส่งสินค้ามากกว่า 50% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมดของประเทศ
 
=== วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ===
[[ไฟล์:Palapa B-2P.jpg|thumb|right|[[ดวงตราไปรษณียากร]]ที่ระลึกการปล่อย[[ดาวเทียมปาลาปา]]]]
 
งบประมาณแผ่นดินที่ใช้ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติถือว่าต่ำ น้อยกว่า 0.1% ของจีดีพีในปี 2017<ref>{{cite web|url=https://oxfordbusinessgroup.com/news/indonesia-seeking-greater-funding-rd|title=Indonesia seeking greater funding for R&D|publisher=Oxford Business Group|date=29 August 2017|accessdate=25 August 2018|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20171114015917/https://oxfordbusinessgroup.com/news/indonesia-seeking-greater-funding-rd|archivedate=14 November 2017}}</ref> อินโดนีเซียจึงถือว่าไม่ใช่ประเทศที่เป็นผู้นำด้านนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม
อินโดนีเซียมีภูมิปัญญาพื้นบ้านอันช่วยให้การดำรงชีวอตขแงชาวพื้นเมืองสะดวกสบสยขึ้นและเป็นที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะภูมิปัญญาพื้นบ้านในการสร้าง[[นาขั้นบันได]]ที่เรียกว่า ''เตอราเซอร์'' และเรือไม้ของ[[ชาวบูกิส]]และ[[ชาวมากัสซาร์]] ที่เรียกว่าเรือ "[[ปีนีซี]]"<ref>{{cite web|url=http://www.kastenmarine.com/phinisi_history.htm|title=History of the Indonesian Pinisi|author=Kasten, Michael|accessdate=9 December 2016|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20161209081906/http://www.kastenmarine.com/phinisi_history.htm|archivedate=9 December 2016}}</ref>
 
อินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่มีการพัฒนาและคิดค้นอากาศยานในการทหารเป็นของตนเองมาเป็นเวลานาน ในปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียยังเป็นผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ส่งออกให้กับ[[โบอิ้ง]] และ [[แอร์บัส]]<ref>{{cite web|url=https://finance.detik.com/industri/3135372/ptdi-ekspor-40-unit-pesawat-terlaris-cn235|title=PTDI Ekspor 40 Unit Pesawat, Terlaris CN235|author=Dwi Sutianto, Feby|publisher=detikFinance|date=5 February 2016|language=id|accessdate=15 August 2017|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20170815175446/https://finance.detik.com/industri/3135372/ptdi-ekspor-40-unit-pesawat-terlaris-cn235|archivedate=15 August 2017}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.thejakartapost.com/news/2010/01/30/habibie-receives-honorary-doctorate.html|title=Habibie receives honorary doctorate|publisher=The Jakarta Post|date=30 January 2010|accessdate=5 March 2016|deadurl=yes|archiveurl=https://web.archive.org/web/20160305072336/http://www.thejakartapost.com/news/2010/01/30/habibie-receives-honorary-doctorate.html|archivedate=5 March 2016}}</ref> อินโดนีเซียยังเคยเข้าร่วมโครงการของ[[เกาหลีใต้]]ในการคิดค้นและสร้างเครื่องบินเจ็ตไล่ล่า รุ่นที่ 5 [[KAI KF-X]].<ref>{{cite web|url=https://www.defenseindustrydaily.com/kf-x-paper-pushing-or-peer-fighter-program-010647/|title=KF-X Fighter: Korea's Future Homegrown Jet|publisher=Defense Industry Daily|date=21 November 2017|accessdate=23 November 2017|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20171123011721/https://www.defenseindustrydaily.com/kf-x-paper-pushing-or-peer-fighter-program-010647/|archivedate=23 November 2017}}</ref>
 
อินโดนีเซียยังมีโครงการและหน่วยงานด้านอวกาศของตนเอง [[สถาบันด้านการบินและอวกาศแห่งชาติ]] (''Lembaga Penerbangan dan Antariksa Nasional'', LAPAN) ซึ่งในราวทศวรรศปี 1970 อินโดนีเซียเป็นชาติกำลังพัฒนาชาติแรกที่ได้ส่งระบบ[[ดาวเทียม]]ขึ้นไปโคจร ชื่อว่า[[ปาลาปา]]<ref>{{cite web|url=https://www.nytimes.com/1976/07/08/archives/indonesian-satellite-to-be-launched-communications-craft-is-first.html|title=Indonesian Satellite to Be Launched|author=Mcelheny, Victor K.|publisher=The New York Times|date=8 July 1976|accessdate=2 August 2018|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20180802050737/https://www.nytimes.com/1976/07/08/archives/indonesian-satellite-to-be-launched-communications-craft-is-first.html|archivedate=2 August 2018}}</ref> อันเป็นกลุ่มดาวเทียมสื่อสารที่[[อินโดแซต อูเรอดู]] เป็นเจ้าของ ดาวเทียมดวงแรกของโครงการ ปาลาปา เอ 1 ได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรในอวกาศเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 1976 จาก[[ศูนย์อวกาศเคนเนดี]]ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา<ref>{{cite web|url=http://spacejournal.ohio.edu/issue8/his_marwah3.html|title=Planning and Development of Indonesia's Domestic Communications Satellite System PALAPA|publisher=Online Journal of Space Communication|date=2005|accessdate=18 May 2015|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20150518111302/http://spacejournal.ohio.edu/issue8/his_marwah3.html|archivedate=18 May 2015}}</ref> จนถึงปัจจุบันมีดาวเทียมกลุ่มปาลาปา รวม 16 ดวงที่ถูกส่งไปโคจร<ref>{{cite web|url=https://www.n2yo.com/satellites/?c=INDO&t=country|title=Satellites by countries and organizations: Indonesia|publisher=N2YO|accessdate=28 July 2018}}</ref> และ LAPAN ยังยืนยันไม่หยุดพัฒนาเท่านี้ และแสดงเจตจำนงที่จะส่งดาวเทียมจากฐานในประเทศภายในปี 2040<ref>{{cite web|url=https://lapan.go.id/index.php/subblog/read/2016/2814//2017|title=Lapan Target Luncurkan Roket Pengorbit Satelit Pada 2040|author=Faris Sabilar Rusydi|publisher=[[National Institute of Aeronautics and Space]] (LAPAN)|date=17 June 2016|language=id|accessdate=16 August 2016|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20170816111201/https://lapan.go.id/index.php/subblog/read/2016/2814//2017|archivedate=16 August 2017}}</ref>
 
=== การท่องเที่ยว ===
[[ไฟล์:Borobudur-Temple-Park Indonesia Stupas-of-Borobudur-03.jpg|thumb|[[บุโรพุทโธ]] แหล่งมรดกโลกและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญใน[[ยกยาการ์ตา]]]]
รายได้จากภาค[[การท่องเที่ยว]]คิดเป็น 28.2 พันล้าน ดอลล่าร์สหรัฐ<ref name="TTCR"/> ในปี 2017 อินโดนีเซียมีนักท่องเที่ยวจำนวน 14.04 ล้านคน เพิมขึ้นราว 21.8% จากปี 2016<ref>{{cite web|url=http://www.thejakartapost.com/news/2018/02/01/bps-records-14-04-million-tourist-arrivals-in-2017.html|title=BPS records 14.04 million tourist arrivals in 2017|publisher=The Jakarta Post|date=1 February 2018|accessdate=5 October 2018|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20180204073856/http://www.thejakartapost.com/news/2018/02/01/bps-records-14-04-million-tourist-arrivals-in-2017.html|archivedate=4 February 2018}}</ref> โดยเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินราว 2,009 ดอลล่าร์สหรัฐต่อคน นักท่องเที่ยวกลุ่มหลักได้แก่ชาวจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลย และญี่ปุ่น ตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2011 [[กระทรวงการท่องเที่ยว (อินโดนีเซีย)]] ได้ประกาศสโลแกนการท่องเที่ยวคือ ''อินโดนีเซียมหัศจรรย์'' (''Wonderful Indonesia'') ซึ่งยังคงใช้มาจนปัจจุบัน<ref>{{cite web|url=http://www.thejakartapost.com/news/2011/01/06/tourism-ministry-set-launch-%E2%80%98wonderful-indonesia%E2%80%99-campaign.html|title=Tourism Ministry set to launch 'Wonderful Indonesia' campaign|author=Erwida, Maulia|publisher=The Jakarta Post|date=6 January 2011|accessdate=12 March 2014|deadurl=yes|archiveurl=https://web.archive.org/web/20140312211940/http://www.thejakartapost.com/news/2011/01/06/tourism-ministry-set-launch-%E2%80%98wonderful-indonesia%E2%80%99-campaign.html|archivedate=12 March 2014}}</ref> สถานที่ท่องเที่ยวในอินโดนีเซียมีทั้งเชิงสิ่งแวดล้อม เช่น ชายหาดและทะเลที่ขึ้นชื่อและป่าดงดิบจำนวนมากทั่วประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่นแหล่งมรดกโลกสำคัญ อย่าง [[บุโรพุทโธ]] และ [[ปรัมบานัน]]
 
== ประชากร ==
จำนวนประชากรทั้งหมด 251,170,193 คน โดยการประมาณการของสหประชาชาติ{{อ้างอิง}}
 
=== เชื้อชาติ ===
{{บทความหลัก|กลุ่มชาติพันธุ์ในอินโดนีเซีย|ภาษาในประเทศอินโดนีเซีย}}
ชาวอินโดนีเซียส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าที่พูด[[ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน]] ภาษาของกลุ่มชนดังกล่าวสามารถที่จะสืบค้นย้อนไปถึงภาษาออสโตรเนเชียนดั้งเดิม ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีต้นกำเนิดใน[[ประเทศไต้หวัน|ไต้หวัน]] นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชนเผ่าที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เผ่าเมลาเนเซียน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่บน[[เกาะปาปัว]] ภาคตะวันออก ของประเทศ[[อินโดนีเซีย]] [[ชาวชวา]] คือ กลุ่มชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งมีอยู่ราว 42% ของจำนวนประชากร เป็นกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนชาติหลักๆ ที่มีจำนวนพอ ๆ กับ[[ชาวชวา]] เช่น [[ชาวซุนดา]] [[ชาวมลายู]] และ[[ชาวมาดูรา]] จิตสำนึกของความเป็น ชาวอินโดนีเซีย จะขนานควบคู่ไปกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตนเองอย่างเหนียวแน่น ความตึงเครียดทางสังคม ศาสนา และเชื้อชาติ เป็นสิ่งที่เคยกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง อันน่าสะพรึงกลัวมาแล้ว ชาวอินโดนิเซียเชื้อสายจีน เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง มีจำนวนราว ๆ ร้อยละ 3-4 ของจำนวนประชากรอินโดนีเซีย
 
=== ศาสนา ===
{{บทความหลัก|ศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย}}
{{bar box
| title = ศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย (2010)
| titlebar = #ddd
| left1 = ศาสนา
| right1 = ร้อยละ
| float = right
| bars =
{{bar percent|[[อิสลาม]]|green|87.2}}
{{bar percent|[[คริสต์]]|blue|7.0}}
{{bar percent|[[คาทอลิก]]|yellow|2.9}}
{{bar percent|[[พุทธ]]|orange|0.7}}
{{bar percent|[[ฮินดู]]|red|1.7}}
{{bar percent|[[ลัทธิขงจื๊อ|ขงจื๊อ]]และอื่น ๆ|red|0.2}}
}}
[[ไฟล์:Unterwegs in Java 452.jpg|thumb|ปัทมาสน์ (อาสนะที่ว่างเปล่า) สัญลักษณ์ของ[[อจินไตย (เทพเจ้า)|เทพอจินไตย]] เทพเจ้าสูงสุดของ[[ศาสนาฮินดูแบบบาหลี]] ศาสนาฮินดูมีผู้นับถือเป็นหลักบนเกาะบาหลี]]
ในปี ค.ศ. 2018<ref>[https://en.wikipedia.org/wiki/Religion_in_Indonesia] Religion in Indonesia</ref> ประเทศอินโดนีเซียมีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ [[ศาสนาอิสลาม]] 87.2% [[ศาสนาคริสต์]] 7% [[ศาสนาฮินดู]] 2.9% [[ศาสนาพุทธ]] 0.7% [[ลัทธิขงจื๊อ]]และศาสนาอื่น ๆ 0.2%
 
โดย[[ศาสนาฮินดู]]มีผู้นับถือเป็นหลักบน[[เกาะบาหลี]] คิดเป็นราว 84% ของประชากรทั้งหมด นับถือ[[ศาสนาฮินดูแบบบาหลี]] อันต่างจากศาสนาฮินดูในอนุทวีปอินเดียในบางส่วน เช่น มีศาสนสถานที่เรียกว่า[[ปูรา]] นับถือเทพเจ้าสูงสุดคือ [[อจินไตย (เทพเจ้า)]] เป็นต้น
 
=== การศึกษา ===
[[ไฟล์:COLLECTIE TROPENMUSEUM 'Een klas van het Nationaal Onderwijs Instituut 'Taman Siswa' te Bandung Java met mevrouw Soerjoadipoetro achter het bureau in gezelschap van een onderwijs-typiste' TMnr 10002303.jpg|thumb|สถาบันตามานซิสวา โรงเรียนแรกที่เปิดสอนแก่ชนพื้นเมืองในอินโดนีเซีย ซึ่งก่อตั้งโดย[[กี ฮาจาร์ เดเวนตารา]]]]
ระบบการศึกษาในโรงเรียนของอินโดนีเซีย ประกอบด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาชั้นมัธยมและการศึกษาระดับสูง และยังมีการศึกษาก่อนวัยเรียนเพื่อเตรียมควมพร้อมของเด็ก การศึกษาขั้นพื้นฐานของอินโดนีเซียกินเวลา 9 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการสร้างเสริมทักษะพื้นฐานให้แก่ ผู้เรียนเตรียมความพร้อมในฐานะปัจเจกชน ประชาชน และมนุษยชาติ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้จัดแบ่งโรงเรียนเป็น 2 ลักษณะ คือ โรงเรียนประถมศึกษาทั่วไป (General primary school) และโรงเรียนประถมศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ (Special primary school for handicapped children)
 
ระบบการศึกษาของอินโดนีเซียตั้งวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาไว้ว่า
# พัฒนาความรู้ของนักเรียนสำหรับการศึกษาต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้นและเพื่อพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์แขนงต่างๆ
# พัฒนาความสามารถของนักเรียนในฐานะเป็นสมาชิกของสังคมให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
 
โรงเรียนมัธยมศึกษาของอินโดนีเซีย แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 6 แบบ เพื่อผลิตนักเรียนตามความต้องการของผู้เรียนในอนาคต ดังนี้
#การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วไป เป็นการเตรียมความรู้ และพัฒนาทักษะสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป
#การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทางวิชาชีพ สามารถแยกการศึกษานี้ออกเป็น 6 กลุ่ม ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ได้แก่ เกษตรกรรมและการป่าไม้ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ธุรกิจและการจัดการ ความเป็นอยู่ของชุมชน การท่องเที่ยว และศิลปะหัตถกรรม
#การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านศาสนา
#การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านการบริการ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความรู้ความสามารถสำหรับผู้ที่จะเข้าเป็นพนักงานหรือข้าราชการ
#การศึกษาระดับมัธยมศึกษาพิเศษ เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่พิการทางร่างกายหรือจิตใจ
#การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีใช้เวลา 3-4 ปี ปริญญาโท 2 ปี ปริญญาเอก 3 ปี สถาบันที่ให้การศึกษาระดับสูงนี้มีลักษณะเป็นสถาบันวิชาการ โพลีเทคนิค สถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัย
 
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่สะท้อนปัญหาความไม่สมดุลในการจัดการศึกษาของอินโดนีเซีย เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรจำนวนมากที่สุดในอาเซียนคือ 243 ล้านคน แต่มีผู้เข้าสูงการศึกษาขั้นสูงหรือระดับปริญญาตรีขึ้นไปประมาณ 4.8 ล้านคนเท่านั้น ทั้งกลุ่มคนเหล่านี้ก็สนใจที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสในการทำงาน เคยมีผลสำรวจระบุว่า นายจ้างในอินโดนีเซียยินดีรับผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศมากกว่าผู้ที่จบในประเทศค่านิยมแบบนี้จึงผลักดันให้เยาวชนอินโดนีเซียต้องออกไปศึกษาต่อขั้นสูงในต่างประเทศแทน
 
== วัฒนธรรม ==
{{Main|วัฒนธรรมอินโดนีเซีย}}
[[ไฟล์:Istano Pagaruyuang.jpg|thumb|left|[[พระราชวังมีนังกาเบา]] ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมบ้านพื้นเมือง ([[รูมะฮ์อาดัต]]) แบบ[[รูมะฮ์กาดัง]]]]
วัฒนธรรมดั้งเดิมของอินโดนีเซียนั้นมีมาราว 2 สหัสวรรศ โดยได้รับอิทธิพลจาก[[อนุทวีปอินเดีย]] [[จีนแผ่นดินใหญ่]] [[ตะวันออกกลาง]] [[ยุโรป]] (ในช่วงล่าอาณานิคม)<ref name="JForshee">{{cite web|url=http://demografi.bps.go.id/phpFileTree/bahan/kumpulan_tugas_mobilitas_pak_chotib/Kelompok_1/Referensi/Jill_Forshee_Culture_and_Customs_of_Indonesia_Culture_and_Customs_of_Asia__2006.pdf|title=Culture and Customs of Indonesia|last=Forshee|first=Jill|publisher=Greenwood Press|date=2006|accessdate=10 October 2017|deadurl=yes|archiveurl=https://web.archive.org/web/20171010152700/http://demografi.bps.go.id/phpFileTree/bahan/kumpulan_tugas_mobilitas_pak_chotib/Kelompok_1/Referensi/Jill_Forshee_Culture_and_Customs_of_Indonesia_Culture_and_Customs_of_Asia__2006.pdf|archivedate=10 October 2017}}</ref><ref>{{cite encyclopedia|author=Henley, David|title=The Wiley Blackwell Encyclopedia of Race, Ethnicity, and Nationalism|date=2015|encyclopedia=The Wiley Blackwell Encyclopedia of Race, Ethnicity, and Nationalism|pages=1–7|publisher=John Wiley & Sons, Inc.|doi=10.1002/9781118663202.wberen460|chapter=Indonesia|isbn=978-1-118-66320-2}}</ref> และชาวเกาะพื้นเมือง[[ออสโตรนีเซียน]] ล้วนส่งผลให้อินโดนีเซียในปัจจุบันมีวัฒนธรรมแบบพหุวัฒนธรรม พหุเชื้อชาติ และพหุภาษา<ref name="ethnologue"/><ref name="Expat"/> ซึ่งทำให้มีลักษณะที่แตกต่างไปจากชนพื้นเมืองชาวเกาะดั้งเดิม มีความซับซ้อนในวัฒนธรรมสูง ในปัจจุบันอินโดนีเซียเป็นเจ้าของ[[มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม]] 9 รายการ เช่น มหรสพ[[วายัง]] (คล้าย[[หนังตะลุง]]ของไทย), [[ผ้าบาติก]], การเต้นพื้นเมืองบาหลี เป็นต้น<ref>{{cite web|url=https://ich.unesco.org/en/state/indonesia-ID?info=elements-on-the-lists|title=Indonesia – Intangible heritage, cultural sector|publisher=UNESCO|accessdate=21 December 2017}}</ref>
=== สถาปัตยกรรม ===
[[ไฟล์:Besakih Bali Indonesia Pura-Besakih-02.jpg|thumb|ซุ้มประตู[[จันดีเบินตาร์]] ลักษณะสำคัญของ[[สถาปัตยกรรมบาหลี]]และบันไดทางเข้า[[ปูราเบอซากิฮ์]]บนเกาะบาหลี]]
สถาปัตยกรรมอินโดนีเซียนั้นได้รับอิทธิพลจากหลากหลายวัฒนธรรม โดยได้รับอิทธิพลจาก[[สถาปัตยกรรมของอินเดีย]]เป็นหลัก ผสมผสานกับอิทธิพลจีน อาหรับ มุสลิม และยุโรป บ้านแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซียเรียกรวม ๆ ว่า [[รูมะฮ์อาดัต]] (rumah adat) ซึ่งรูมะฮ์อาดัตแต่ละแบบก็ใช้การก่อสร้างและวัสดุในท้องถิ่น ถือ้ป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละเผ่า<ref>{{cite book|title=Indonesian Houses: Tradition and Transformation in Vernacular Architecture|editor1=Reimar Schefold|editor2=P. Nas|editor3=Gaudenz Domenig|page=5|publisher=NUS Press|year=2004|isbn=978-9971-69-292-6|url=https://books.google.com/?id=Oup15S3lTDAC}}</ref> เช่น [[รูมะฮ์กาดัง]]ที่พบใน[[ซูลาเวซีใต้]], [[ตงโกนัน]]หรือบ้านหลังคาทรงเรือ, ศาลาแบบ[[เป็นโดโป]], หลังคาแบบ[[จ็อกโล]] ของ[[วัฒนธรรมชวา]], [[บ้านยาว]] และ [[รูมะฮ์เมลายู]]หรือบ้านมาเลย์ ของ[[ชาวดายัก]], [[สถาปัตยกรรมบาหลี]]ที่พบใน [[โบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี]] (ปูรา) และ โรงนา (ลัมบัง)
 
=== วรรณกรรม ===
วรรณกรรม ในสมัยที่ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาได้เข้าไปเผยแพร่ในอินโดนีเซีย วรรณกรรมของอินโดนีเซียมีความเจริญอย่างรวดเร็ว หนังสือที่มีชื่อเสียงในระยะนั้นได้แก่เรื่องเนการาเกอร์ตากามา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ และอำนาจของ[[อาณาจักรมัชปาหิต]] นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่ได้รับความนิยมกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องปาราราตัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกษัตริย์อินโดนีเซียในสมัยนั้น เขียนเป็นภาษาชวาโบราณ
ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้แพร่เข้าไปในอินโดนีเซีย ก็ได้มีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลาม และตำราหมอดูไว้หลายเล่ม โดยเขียนเป็นภาษาชวา
 
=== ดนตรีและนาฏศิลป์ ===
มหรสพที่มีชื่อเสียงหนึ่งคือ [[ระบำบารง]] (Barong Dance) เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเกาะบาหลี อินโดนีเซีย บารองเป็นสัตว์ในตำนาน ซึ่งมีหลังอานยาวและหางงอนโง้ง และเป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณดีงาม ซึ่งเป็นผู้ปกปักษ์รักษามนุษย์ต่อสู้กับรังดา ตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณชั่วร้าย ระบำบารงเป็นนาฏกรรมศักดิ์สิทธิ์ การร่ายรำมีท่าทีอ่อนช้อยงดงาม เสียงเพลงไพเราะ<ref>http://department.utcc.ac.th/thaiculture/index.php/360/51-barong-dance</ref>
 
=== อาหาร ===
{{หลัก|อาหารอินโดนีเซีย}}
[[ไฟล์:Nasi ramas rendang.JPG|thumb|left|''[[นาซีปาดัง]]'', ''[[เร็นดัง]]'', ''[[กูไล]]'' และผักนานาชนิด]]
อาหารอินโดนีเซียมีความหลากหลายสูงมาก<ref>{{cite web|url=https://www.sbs.com.au/food/article/2008/07/01/about-indonesian-food|title=About Indonesian food|publisher=Special Broadcasting Service|date=13 May 2015|accessdate=21 May 2015|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20150521014618/https://www.sbs.com.au/food/article/2008/07/01/about-indonesian-food|archivedate=21 May 2015}}</ref><ref name="Tumpeng">{{cite web|url=http://www.thejakartapost.com/news/2014/02/10/celebratory-rice-cone-dish-represent-archipelago.html|title=Celebratory rice cone dish to represent the archipelago|author=Natahadibrata, Nadya|publisher=The Jakarta Post|date=10 February 2014|accessdate=14 July 2014|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20140714213059/http://www.thejakartapost.com/news/2014/02/10/celebratory-rice-cone-dish-represent-archipelago.html|archivedate=14 July 2014}}</ref> อาหารพื้นเมืองได้รับอิทธิพลจากจีน อาหรับ และยุโรป รวมทั้งเครื่องเทศทั้งที่พบในท้องถิ่นและนำเข้ามาปลูกจากอินเดีย<ref>{{cite book|author=Witton, Patrick|title=World Food: Indonesia|publisher=[[Lonely Planet]]|year=2002|location=Melbourne|isbn=978-1-74059-009-9}}</ref> ข้าวเป็นอาหารหลักในอาหารออนโดนีเซีย ทานคู่กับอาหารคาว ส่วนมากปรุงรสด้วยเครื่องเทศ พริก กะทิ ปลา เนื้อไก่ เป็นวัตถุดิบหลัก<ref>{{cite book|author=Brissendon, Rosemary|title=South East Asian Food|publisher=Hardie Grant Books|year=2003|location=Melbourne|isbn=978-1-74066-013-6}}</ref>
 
อาหารขึ้นชื่อเช่น [[นาซี โกเร็ง]], [[กาโด-กาโด]], [[สะเต๊ะ]], [[โซโต]] อย่างไรก็ตามกระทรวงการก่องเที่ยวแห่งชาติได้เลือกให้ [[ตัมเป็ง]] เป็นอาหารประจำชาติในปี ค.ศ. 2014<ref name="Tumpeng"/> นอกจากนี้ยังมี[[อาหารปาดัง]] เช่น [[เร็นดัง]] [[เด็นดัง]] [[กูไล]] ซึ่งเมื่อปี 2017 สำนักข่าว[[ซีเอ็นเอ็น]] ภาคการท่องเที่ยว ได้เลือกให้[[เร็นดัง]] เป็นอาหารที่อร่อยที่สุด "ในโลก"<ref>{{cite web|url=http://edition.cnn.com/travel/article/world-best-foods-readers-choice/index.html|title=Your pick: World's 50 best foods|author=Cheung, Tim|publisher=CNN Travel|date=12 July 2017|accessdate=11 October 2017|deadurl=no|archiveurl=https://web.archive.org/web/20171011072505/http://edition.cnn.com/travel/article/world-best-foods-readers-choice/index.html|archivedate=11 October 2017}}</ref> อาหารหมักดองที่เป็นที่รู้จัก เช่น [[อ็อนค็อม]], [[เท็มเปะฮ์]] ซึ่งนิยมมากใน[[ชวาตะวันตก]]
 
หนึ่งในอาหารที่คนไทยรู้จักกันดีคือ [[กาโด-กาโด]] (Gado Gado) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียคล้ายกับ[[สลัดแขก]] ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอส[[สะเต๊ะ]] อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไป และยังเป็นเหมือนอาหารสำหรับคนรักสุขภาพได้อีกด้วย
 
=== กีฬา ===
{{บทความหลัก|ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย|อินโดนีเซียในโอลิมปิก|อินโดนีเซียในเอเชียนเกมส์}}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{commons|Indonesia|{{PAGENAME}}}}
{{Sister project links|commons=Indonesia}}
; รัฐบาล
* [http://www.indonesia.go.id/en/ รัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย]
* [http://www.setneg.go.id/ Minister of The State Secretary] {{id icon}}
* [http://www.bps.go.id/ Statistics Center]
* [https://www.cia.gov/library/publications/world-leaders-1/world-leaders-i/indonesia.html Chief of State and Cabinet Members]
 
; ข้อมูลทั่วไป
* {{CIA World Factbook link|id|Indonesia}}
* [http://ucblibraries.colorado.edu/govpubs/for/indonesia.htm Indonesia] from ''UCB Libraries GovPubs''
* {{dmoz|Regional/Asia/Indonesia}}
* [http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-14921238 Indonesia profile] from the [[BBC News]]
* [http://www.britannica.com/EBchecked/topic/286480/Indonesia Indonesia] at ''[[Encyclopædia Britannica]]''
* [http://www.ifs.du.edu/ifs/frm_CountryProfile.aspx?Country=ID Key Development Forecasts for Indonesia] from [[International Futures]]
* {{Wikiatlas|Indonesia}}
 
; การท่องเที่ยว
* [http://www.indonesia.travel/ Official Site of Indonesian Tourism]
* {{Wikivoyage|Indonesia}}
{{ประเทศอินโดนีเซีย}}
{{เอเชีย}}
{{โอเชียเนีย}}
{{อาเซียน}}
{{เอเปค}}
{{โอเปก}}
{{UNSC}}
{{G20}}
{{องค์การความร่วมมืออิสลาม}}
 
[[หมวดหมู่:ประเทศอินโดนีเซีย]]
[[หมวดหมู่:สาธารณรัฐ|อ]]