ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอินเดีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8597444 สร้างโดย 2403:6200:8871:E265:31A8:B2B3:B1B4:2A77 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 75:
[[ไฟล์:India topo big.jpg|thumb|alt=Map of India. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบริเวณสีเหลือง (ความสูงตั้งแต่ 100–1000 เมตร) บางบริเวณแถบตอนใต้และตะวันออกเป็นสีน้ำตาล (ความสูงตั้งแต่ 1000 เมตร) บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นบริเวณสีเขียว (ความสูงต่ำกว่า 1 เมตร)|แผนที่ภูมิประเทศของอินเดีย]]
 
ประเทศอินเดียเกิดขึ้นบน[[อนุทวีปอินเดีย]] (Indian subcontinent) ซึ่งตั้งอยู่บนบริเวณ[[แผ่นเปลือกโลก|แผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian tectonic plate)]] ซึ่งในอดีตนั้นเคยเชื่อมอยู่กับแผ่นออสเตรเลีย การรวมตัวทางภูมิศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอินเดียนั้นเกิดขึ้นราว 75 ล้านปีก่อน เมื่ออนุทวีปอินเดียซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของ[[มหาทวีป]]แห่งตอนใต้ คือ [[มหาทวีปกอนด์วานา]] (Gondwana) ได้เริ่มเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่บริเวณมหาสมุทรอินเดียซึ่งในขณะนั้นยังไม่เกิดขึ้น โดยกินเวลารวมทั้งหมดประมาณ 55 ล้านปี หลังจากนั้นอนุทวีปอินเดียนได้ชนเข้ากับแผ่น[[ทวีปยูเรเชีย]] อันเป็นที่มาของการเกิดเทือกเขาที่มีความสูงที่สุดในโลก คือ [[เทือกเขาหิมาลัย]] ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตอนใต้ของเทือกเขาซึ่งเคยเป็นท้องทะเลอันกว้างขวางได้ค่อยๆค่อย ๆ กลายมาเป็นผืนดินราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นที่ราบลุ่ม[[แม่น้ำคงคา]]ตอนเหนือของอินเดีย (Indo-Gangetic Plain) ทางภาคตะวันตกนั้นติดกับ[[ทะเลทรายธาร์]] ซึ่งถูกกั้นกลางด้วย[[ทิวเขาอะราวัลลี]]
 
อนุทวีปอินเดียนั้นได้คงอยู่จนกลายมาเป็น[[คาบสมุทรอินเดีย]]ในปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดทางธรณีวิทยา และยังเป็นบริเวณที่มีความคงที่ทางภูมิศาสตร์ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย โดยกินพื้นที่กว้างขวางจรดเทือกเขาสัทปุระ (Satpura) ทางตอนใต้ และเทือกเขาผิงอ ในภาคกลางของอินเดีย โดยมีลักษณะคู่ขนานกันไปจรดชายฝั่ง[[ทะเลอาหรับ]]ใน[[รัฐคุชราต]]ทางทิศตะวันตก และที่ราบสูงโชตนาคปุระ (Chota Nagpur Plateau) ที่เต็มไปด้วยแร่รัตนชาติใน[[รัฐฌาร์ขัณฑ์]]ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนทิศใต้นั้นประกอบด้วยแผ่นดินคาบสมุทรบนที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau) ซึ่งถูกขนาบโดยเทือกเขาริมทะเลทั้งสองฝั่งที่เรียกว่า เทือกเขากัทส์ทิศตะวันตก และตะวันออก(Western and Eastern Ghats) ในบริเวณนี้จะพบหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งมีอายุถึง 1 พันล้านปี
 
[[ไฟล์:KedarRange.jpg|thumb|left|upright|เทือกเขาเคดาร์ (Kedar Range) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหิมาลัย มองจากวิหารฮินดู (Kedarnath Temple)]]
 
ชายฝั่งของอินเดียนั้นมีระยะทางประมาณ {{Convert|7517|km|mi|-2}} แบ่งเป็นระยะทางบนคาบสมุทรอินเดีย {{Convert|5423|km|mi|-2}} และ {{Convert|2094|km|mi|-2}} ใน[[หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์]]และ[[ลักษทวีป]] จากแผนที่ทะเลของอินเดียนั้น ชายฝั่งบนแผ่นดินใหญ่ของอินเดียประกอบด้วยหาดทรายถึง 43% กรวดและหิน 11% รวมถึงหน้าผา และ 46% เป็นดินเลนและโคลน
 
แม่น้ำในอินเดียแบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทคือ แม่น้ำจากเทือกเขาเอเวอเรส แม่น้ำคาบสมุทรเดคคาน แม่น้ำชายฝั่ง และแม่น้ำในดินแดนภายในแม่น้ำหิมาลัย ปกติจะเกิดจากน้ำที่ละลายมาจากหิมะ ในภาคเหนือของอินเดีย ดังนั้น แม่น้ำเหล่านี้จะมีน้ำไหลเต็มที่อยู่ตลอดเวลา และมีความลาดชันค่อนข้างต่ำ ในฤดูมรสุมเมื่อฝนตกมาก แม่น้ำเหล่านี้จะรับน้ำไว้ได้ไม่หมด จึงทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่อยู่เสมอ ส่วนแม่น้ำในคาบสมุทรเดคคาน โดยปกติได้น้ำจากน้ำฝน ดังนั้นปริมาณน้ำในแม่น้ำดังกล่าว จึงมักจะมากน้อยไม่แน่นอน อีกทั้งมีความลาดชันลดหลั่นลง จึงรับน้ำได้มาก และช่วยระบายน้ำในฤดูมรสุมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำย่อย ๆ ซึ่งไม่มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำทั้งสองประเภทดังกล่าว และอยู่ตามชายฝั่งโดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก จะมีเส้นทางสั้น ๆ และมีขนาดแคบ จึงรับน้ำได้ในปริมาณจำกัด สำหรับแม่น้ำในดินแดนภายใน เป็นลำน้ำเล็ก ๆ ไม่มีทางออกทะเล ปลายทางของแม่น้ำหากไม่ไหลลงแอ่งน้ำ ทะเลสาบ ก็จะเหือดแห้งไปใน[[ทะเลทรายธาร์]]
บรรทัด 89:
ส่วนลุ่มน้ำของระบบแม่น้ำอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ รองลงมาได้แก่ ลุ่มแม่น้ำโคธาวารีนาเลีย (Godavari) ในเขตที่ราบสูงเดคคาน ระบบน้ำตาปี (Tapi) ในภาคเหนือ และระบบน้ำเพนเนอร์ (Penner) ในภาคใต้ การที่อินเดียถูกแวดล้อมด้วยพรมแดนธรรมชาติรอบด้าน คือมีทั้งภูเขาและฝั่งทะเลเป็นพรมแดน ได้แยกอินเดียออกจากส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย ทำให้อินเดียตั้งอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง ซึ่งนับว่ามีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อวิถีชีวิตของชาวอินเดีย ทำให้ชาวอินเดียมีอารยธรรมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะของตนเองโดยเฉพาะ และในโอกาสเดียวกัน พรมแดนธรรมชาติดังกล่าว ช่วยให้สามารถรักษาวัฒนธรรมของตนให้สืบเนื่องตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน
 
สภาพอากาศของอินเดียนั้นได้รับอิทธิพลจากสองแหล่งใหญ่ๆใหญ่ ๆ คือ[[เทือกเขาหิมาลัย]] และ[[ทะเลทรายธาร์]] ทำให้มีทั้งฤดูร้อนอันอบอุ่น และฤดูหนาวที่มีมรสุม [[เทือกเขาหิมาลัย]]นั้นมีบทบาทมากในการป้องกันลมพัดลงลาดเขา (Katabatic wind) ทำให้บริเวณส่วนใหญ่ของประเทศนั้นอบอุ่นกว่าประเทศอื่นๆอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ในละติจูดเดียวกัน ส่วน[[ทะเลทรายธาร์]]นั้นก็มีบทบาทในการขับเคลื่อนความชื้นของ[[ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้]] ซึ่งลมมรสุมนี้เองที่ทำให้ทุกปีๆปี ๆ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมนั้นมีฝนกรดตกในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ
 
จากการแบ่งเขตภูมิอากาศนั้น อินเดียประกอบด้วยภูมิอากาศหลักๆหลัก ๆ 4 แบบได้แก่ แบบเขตร้อนชื้น (tropical wet), แบบเขตร้อนแห้งแล้ง (tropical dry), แบบอบอุ่นชื้น (subtropical humid), และแบบเทือกเขาสูง (montane)
 
ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ชาวดราวิเดียน ชาวอารยัน เริ่มกำเนิดอารยธรรมต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำสินธุ ต่อมาในสมัย อาณาจักรเมารยะ ซึ่งมีดินแดนในตอนเหนือตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำสินธุจรดอ่าวเบงกอลพระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างความรุ่งเรืองในการปกครองและได้สนับสนุนการเผยแผ่พุทธศาสนา
บรรทัด 100:
ปี พ.ศ. 2289 ถึง ปี พ.ศ. 2306 เกิดสงครามอังกฤษกับฝรั่งเศส ในอินเดีย ปรากฏว่า อังกฤษชนะ
 
จากนั้นอังกฤษเริ่มยึดเบงกอล และรัฐต่างๆต่าง ๆ ในอินเดีย จนสิ้นสุดกับสงครามซิกข์ ปี พ.ศ. 2392
 
จนกระทั่งอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ หลังจากการรณรงค์ต่อต้านการปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลานาน อินเดียจึงได้รับเอกราช และได้รับการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐอินเดีย