ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเฮอัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
== ศาสนา ==
 
ในยุคเฮอังพุทธศาสนานิกาย[[วัชรยาน]]จากจีนราชวงศ์ถังเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมพุทธศาสนาในญี่ปุ่นถูกปกครองโดยพุทธศาสนาหกสำนักแห่งเมืองนาระ (Six schools of Nara) ซึ่งเน้นการคิดวิเคราะห์และศึกษาพระธรรมมากกว่าการปฏิบัติ คณะสงฆ์เมืองนาระมีอำนาจมากทั้งในทางศาสนาและทางโลก ทำให้พระจักรพรรดิคัมมูมีพระประสงค์จะหลีกเลี่ยงอิทธิพลของคณะสงฆ์เมืองนาระ ราชสำนักญี่ปุ่นในยุคเฮอังจึงให้การสนับสนุนแก่พุทธศาสนานิกายวัชรยานใหม่ซึ่งมาจากประเทศจีนเพื่อคานอำนาจกันกับคณะสงฆ์เมืองนาระ ประกอบด้วยนิกาย''ชิงงน'' ({{ญี่ปุ่น|真言|Shingon}}) และนิกาย''เท็งไดเทงได'' ({{ญี่ปุ่น|天台|Tendai}}) นิกายวัชรยานซึ่งเน้นเรื่องพิธีกรรมการบูชามำให้เกิดการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาและ[[ศาสนาชินโต]]หรือความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น เรียกว่า ''ชิมบูตสึ-ชูโง'' ({{ญี่ปุ่น|神仏習合|Shinbutsu-shūgō}})
 
=== นิกายเท็งเทงไดและนิกายชิงงน ===
[[ไฟล์:Enryakuji Konponchudo02s5s3200.jpg|thumb|230x230px|หอคมปงชูโด (Konpon-chūdō, 根本中堂) ของวัดเองเรียกุบนเขาฮิเอ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาญี่ปุ่นนิกาย''เทงได'']]
ในค.ศ. 804 พระภิกษุญี่ปุ่นสองรูปได้แก่ พระภิกษุไซโช ({{ญี่ปุ่น|最澄|Saichō}}) และพระภิกษูคูไก ({{ญี่ปุ่น|空海|Kūkai}}) ลงเรือไปกับคณะทูตเดินทางไปยังประเทศจีนยุคราชวงศ์ถังเพื่อศึกษาพุทธศาสนา ภิกษุไซโชเดินทางไปศึกษาที่เขาเทียนไถในขณะที่ภิกษุคูไกเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาวัชรยานที่เมือง[[ฉางอัน]] บนเขาเทียนไถพระภิกษุไซโชศึกษาพุทธศาสนานิกายมหายาน[[เทียนไถ]]ซึ่งให้ความสำคัญแก่การศึกษา[[สัทธรรมปุณฑริกสูตร]] (Lotus Sutra) เป็นสำคัญ ในขณะที่ภิกษุคูไกศึกษาหลักการของพุทธศาสนาวัชรยานตันตระ หรือพุทธศาสนาคุยหยาน (Esoteric Buddhism) ในแบบราชวงศ์ถังเรียกว่า''ถังมี่'' ({{Zh-all|c=唐密|t=|s=|p=Tángmì|w=|j=}}) หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ''มิกเกียว'' ({{ญี่ปุ่น|密教|Mikkyō}}) ซึ่งเน้นในเรื่องการปฏิบัติและพิธีกรรมเพื่อการบรรลุโพธิจิต หลักการปฏิบัติและพิธีกรรมของวัชรยานนั้นเป็นความลับไม่เปิดเผยแก่คนทั่วไป พระสงฆ์ผู้ซึ่งได้รับการ "อภิเษก" เข้าสู่พุทธศาสนาวัชรยานแล้วเท่านั้นจึงสามารถเข้าถึงหลักคำสอนของวัชรยานได้ ภิกษุคูไกเล่าเรียนกับภิกษุชาวจีนและได้รับการอภิเษกเข้าสู่พิธีกรรมของวัชรยาน เช่นเดียวกับพระภิกษุไซโชซึ่งนอกจากศึกษานิกายเทียนไถแล้วยังได้เรียนรู้พุทธศาสนาวัชรยานจากประเทศจีนอีกด้วย
[[ไฟล์:Shingon goma ceremony.jpg|left|thumb|200x200px|พิธี''โคมะ'' (Goma) หรือพิธีบูชาไฟ มาจากพิธีโหมกรรมของอินเดีย เป็นพิธีที่สำคัญของนิกาย''ชิงงน'' เพื่อบูชา[[วิทยาราช|''วิทยาราช'']][[อจละ]] (Acala) ผู้มีบทบาทในการทำลายสิ่งชั่วร้าย]]
ภิกษุไซโชศึกษาพุทธศาสนาที่จีนเป็นเวลาประมาณหนึ่งปีจึงเดินทางกลับญี่ปุ่นในค.ศ. 805 และก่อตั้งนิกายเท็งไดขึ้น ในค.ศ. 806 พระจักรพรรดิคัมมูพระราชทานภูเขาฮิเอ ({{ญี่ปุ่น|比叡山|Hiei-zan}}) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครหลวงเฮอังเกียวให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเท็งไดนำไปสู่การก่อตั้ง[[วัดเอ็นเรียกุ|วัดเองเรียกุ]] ({{ญี่ปุ่น|延暦寺|Enryaku-ji}}) ชาวญี่ปุ่นในยุคเฮอังเชื่อว่าทิศอีสานเป็นทิศอัปมงคลการตั้งวัดใหญ่ทางทิศนั้นจะเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้ายและปีศาจต่างๆไม่ให้เข้ามากล้ำกรายนครเฮอังเกียวได้ นิกาย''เทงได''ของญี่ปุ่นมีความแตกต่างจากนิกายเทียนไถของจีน นิกายเทียนไถของจีนเน้นเรื่องการศึกษาสัทธรรมปุณฑริกสูตร แต่นิกาย''เทงได''มีพิธีกรรมเกี่ยวกับวัชรยานร่วมด้วย ราชสำนักญี่ปุ่นในต้นยุคเฮอังให้การสนับสนุนแก่นิกาย''เทงได'' ภิกษุไซโชปฏิรูปพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ในญี่ปุ่นใหม่ แต่เดิมนั้นพระสงฆ์ญี่ปุ่นรับศีล[[ปาติโมกข์]]ในการ[[อุปสมบท]]ตามรูปแบบของเมืองนาระ พระภิกษุไซโชมีความเห็นว่าศีลปาติโมกข์นั้นเป็นของ[[หีนยาน]]และไม่ใช่มหายานที่แท้จริง พระสงฆ์ในสำนักของไซโชนั้นจึงรับศีลของพระโพธิสัตว์ (Bodhisattva precepts) ในการอุปสมบท ซึ่งการรับศีลของพระโพธิสัตว์แทนการรับศีลปาติโมกข์นั้นจะเป็นแบบอย่างให้แก่พุทธศาสนาญี่ปุ่นนิกายอื่นในอนาคต และเป็นเหตุให้พระสงฆ์ญี่ปุ่นบางนิกายสามารถมีครอบครัวได้
[[ไฟล์:Taizokai.jpg|thumb|"ครรภธาตุมัณฑละ" เมื่อประกอบกับ "วัชรธาตุมัณฑละ" รวมกันเป็นทวิภพมัณฑละ (Mandala of Two Realms) เป็นมัณฑละที่สำคัญที่สุดในนิกาย''ชิงงน'' มัณฑละเป็นเครื่องประกอบการเพิ่งจิตเข้าไปในรูปของพระโพธิสัตว์เพื่อการเข้าถึงโพธิจิต]]
พระภิกษุคูไกเดินทางกลับจากประเทศจีนในค.ศ. 806 ก่อตั้งนิกาย''ชิงงน''เป็นนิกายวัชรยานนิกายแรกของญี่ปุ่น นิกาย''ชิงงน''ต้องเผชิญกับการแข่งขันกับนิกาย''เทงได''ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักญี่ปุ่น พระภิกษุไซโชต้องการเรียนรู้หลักของพุทธศาสนาวัชรยานจึงแสวงหาความรู้จากพระภิกษุคูไก พระภิกษุคูไกทำพิธีอภิเษกให้แก่พระภิกษุไซโชเข้าสู่พุทธศาสนาวัชรยานแต่กระทำพิธีไม่ครบถ้วนและภิกษุคูไกปิดบังความรู้บางส่วนจากพระภิกษุไซโช ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างภิกษุไซโชและภิกษุคูไก เมื่อพระจักรพรรดิซางะประชวรพระภิกษุคูไกมีโอกาสได้ทำพิธีทางวัชรยานเพื่อรักษาอาการประชวรของพระจักรพรรดิซางะ ทำให้พระจักรพรรดิซางะทรงโปรดพระภิกษุคูไกอย่างมากและพระราชทานภูเขาโคยะ ({{ญี่ปุ่น|高野山|Kōyasan}}) บนเทือกเขาคีอิให้เป็นศูนย์กลางของนิกาย''ชิงงน''ในค.ศ. 816 นิกาย''ชิงงน''มีหลักคำสอนมาจากพระสูตรในนิกายตันตระต่างๆจากอินเดีย เน้นเรื่องการสวด "มนตรา" และการเพิ่งจิตไปที่ "มัณฑละ" เพื่อการบรรลุโพธิจิตและบูชาพระโพธิสัตว์และเทพต่างๆโดยเฉพาะ[[พระไวโรจนพุทธะ]] มีการใช้[[อักษรสิทธัม]]ในการจารมันฑละ นิกาย''ชิงงน''บูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆ รวมทั้งบูชา[[วิทยาราช|''วิทยาราช'']]ท้าว[[จตุมหาราชิกา|จตุโลกบาล]]และเทพเจ้าใน[[ศาสนาพราหมณ์]]เช่น[[พระอินทร์]]หรือ''ไทชากูเท็ง'' ({{ญี่ปุ่น|帝釈天|Taishaku-ten}})
 
== สถาปัตยกรรม ==