ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53:
เมื่อกองทัพเยอรมันบุกประเทศนอร์เวย์ในวันที่ [[9 เมษายน]] [[พ.ศ. 2483]] พระราชวงศ์ รัฐบาลและสมาชิกส่วนมากของรัฐสภานอร์เวย์เตรียมการที่จะหลบหนีก่อนพวกทหารเยอรมันจะถึงกรุงออสโล เจ้าหญิงมาร์ธาและพระโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ทรงข้ามชายแดนไปยัง[[ประเทศสวีเดน]]ในคืนนั้น แต่กลับไม่เป็นที่ยอมรับของชาวสวีเดน บางคนเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อความเป็นกลางของประเทศ ในวันที่ 12 สิงหาคม ทุกพระองค์ได้เสด็จยัง[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]ตามคำทูลเชิญของ[[แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์|ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์]] โดยในระยะแรกทรงประทับที่ทำเนียบขาว อันเป็นที่พำนักของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี [[พ.ศ. 2479]] ก่อนการเกิด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ใน[[ทวีปยุโรป]] เจ้าหญิงได้เสด็จพร้อมกับเจ้าชายโอลาฟไปในภาคกลางตะวันตกตอนบนของประเทศสหรัฐอเมริกา และระหว่างการเสด็จเยือนทั้งสองพระองค์ทรงได้เจริญสัมพันธไมตรีของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาและภริยาคือ นาง[[เอเลียนอร์ รูสเวลท์]]
 
สัมพันธภาพกับสหรัฐอเมริกาของทั้งสองพระองค์ได้เปิดทางอันสว่างไสวแก่เจ้าหญิงมาร์ธา ซึ่งทรงงานอย่างขยันหมั่นเพียรเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ต่าง ๆ ของประเทศนอร์เวย์ พระองค์ทรงเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆต่าง ๆ มากมาย นับตั้งแต่การเสด็จเยือนอย่างเป็นทางการ การบรรยายและกล่าวสุนทรพจน์ ตลอดไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือและเข้าร่วมหน่วยงานอาสาบรรเทาทุกข์สำหรับผู้ลี้ภัยในสภากาชาด การกระทำประโยชน์ดังกล่าวของเจ้าหญิงได้สร้างความประทับใจให้แก่ประธานาธิบดีรูสเวลท์เป็นอย่างมากและส่งผลให้เกิดสุนทรพจน์ชื่อ "มองไปสู่นอร์เวย์" (Look to Norway) เมื่อวันที่ [[16 กันยายน]] [[พ.ศ. 2485]]
 
เจ้าหญิงมกุฎราชกุมารีทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและยิ่งใหญ่เมื่อเสด็จกลับสู่ประเทศนอร์เวย์พร้อมพระโอรสธิดาและ[[สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์|สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7]] เมื่อวันที่ [[7 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2488]] ความมานะอุตสาหะอย่างไม่หยุดหย่อนของพระองค์ในการช่วยเหลือประเทศชาติระหว่างสงครามทำให้ทรงเป็นที่นิยมชมชอบต่อชาวนอร์เวย์เป็นอย่างมาก และทำให้ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "แม่ของแผ่นดิน" (mother of the nation)