ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเฮอัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 36:
 
=== นิกายเท็งไดและนิกายชิงงน ===
ในค.ศ. 804 พระภิกษุญี่ปุ่นสองรูปได้แก่ พระภิกษุไซโช ({{ญี่ปุ่น|最澄|Saichō}}) และพระภิกษูคูไก ({{ญี่ปุ่น|空海|Kūkai}}) ลงเรือไปกับคณะฑูตทูตเดินทางไปยังประเทศจีนยุคราชวงศ์ถังเพื่อศึกษาพุทธศาสนา ภิกษุไซโชเดินทางไปศึกษาที่เขาเทียนไถในขณะที่ภิกษุคูไกเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาวัชรยานที่เมือง[[ฉางอัน]] บนเขาเทียนไถพระภิกษุไซโชศึกษาพุทธศาสนานิกายมหายาน[[เทียนไถ]]ซึ่งให้ความสำคัญแก่การศึกษา[[สัทธรรมปุณฑริกสูตร]] (Lotus Sutra) เป็นสำคัญ ในขณะที่ภิกษุคูไกศึกษาหลักการของพุทธศาสนาวัชรยานตันตระ หรือพุทธศาสนาคุยหยาน (Esoteric Buddhism) ในแบบราชวงศ์ถังเรียกว่า''ถังมี่'' ({{Zh-all|c=唐密|t=|s=|p=Tángmì|w=|j=}}) หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ''มิกเกียว'' ({{ญี่ปุ่น|密教|Mikkyō}}) ซึ่งเน้นในเรื่องการปฏิบัติและพิธีกรรมเพื่อการบรรลุโพธิจิต หลักการปฏิบัติและพิธีกรรมของวัชรยานนั้นเป็นความลับไม่เปิดเผยแก่คนทั่วไป พระสงฆ์ผู้ซึ่งได้รับการ "อภิเษก" เข้าสู่พุทธศาสนาวัชรยานแล้วเท่านั้นจึงสามารถเข้าถึงหลักคำสอนของวัชรยานได้ ภิกษุคูไกเล่าเรียนกับภิกษุชาวจีนและได้รับการอภิเษกเข้าสู่พิธีกรรมของวัชรยาน
 
== สถาปัตยกรรม ==