ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29:
== ประวัติโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ==
===การดำเนินการจัดตั้ง===
'''[[พ.ศ. 2525|พุทธศักราช 2525]]''' ซึ่งเป็นปีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานคณะกรรมการปฏิสังขรณ์ [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]]และพระบรมมหาราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมอาคารพระตำหนักสวนกุหลาบและอาคารโรงโขนซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 500 เมตร ให้ใช้การได้และมีพระราชดำริว่าในอดีตพระตำหนักสวนกุหลาบเคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนมาก่อน ฉะนั้นเมื่อซ่อมแซมแล้วก็ควรให้เป็นโรงเรียนเหมือนเดิม เพื่อพัฒนาคนและชุมชนไปด้วย และจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง [[สำนักพระราชวัง]]ได้มีหนังสือด่วนมากให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้นในบริเวณพระบรมมหาราชวัง และขอให้ดำเนินการจัดตั้งในปีการศึกษา 2525 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งได้นำเสนอคณะกรรมการการประถมศึกษากรุงเทพมหานครในการประชุมเมื่อ[[2 มีนาคม|วันที่ 2 มีนาคม]] พ.ศ. 2525 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ในการจัดตั้งโรงเรียนและได้กราบบังคมทูลพระราชทานชื่อโรงเรียน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" คณะกรรมการการประถมศึกษากรุงเทพมหานครจึงได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ[[2 เมษายน|วันที่ 2 เมษายน]] พ.ศ. 2525 และแต่งตั้ง นางสาวกาญจนา เมฆสวรรค์ ตำแหน่งอาจารย์ 2 [[โรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ|โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งอุปถัมภ์)]] รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
 
===การขยายชั้นเรียน===
'''[[17 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2525''' โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเปิดทำการสอนเป็นวันแรก โดยใช้อาคารโรงโขนเป็นอาคารเรียน เปิดสอน 5 ห้องเรียน คือ อนุบาล 1 จำนวน 2 ห้อง อนุบาล 2 จำนวน 2 ห้อง และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนทั้งสิ้น 104 คน เป็นโรงเรียนสหศึกษาและขยายชั้นเรียนปีละ 1 ชั้น จนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2530