ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มันเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ PEAK99 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 61.19.54.66
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
== การใช้ประโยชน์ ==
มันเทศมีถิ่นกำเนิดใน[[อเมริกากลาง]]หรือ[[อเมริกาใต้]] เส้นทางการกระจายพันธุ์ของมันเทศมี 3 ทิศทางคือ เส้นทางกูมาราออกจากทางเหนือของ[[อเมริกาเหนือ]]ไปยังแถบตะวันตกของ[[พอลินีเซีย]] เส้นทางบาตาตาสเข้าสู่แอฟริกาและเอเชียผ่านทางยุโรป และเส้นทางกาโมเต จาก[[เม็กซิโก]]เข้าสู่[[ฮาวาย]] [[กวม]]แล้วผ่านไปยัง[[ฟิลิปปินส์]] มันเทศเป็นพืชที่ใช้หัวบริโภค ใช้เป็นอาหารสัตว์น้อย ในทางอุตสาหกรรมใช้ผลิต[[แป้ง]]และ[[แอลกอฮอล์]] ในเขตร้อนของเอเชียนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ส่วนใน[[เกาะนิวกินี]]และแถบโอเชียเนียบางประเทศรับประทานเป็นอาหารหลัก ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักได้ องค์ประกอบในหัวมันเทศส่วนใหญ่เป็นแป้ง หัวที่มีเนื้อสีส้มมีเบตา[[แคโรทีน]] หัวสดมี[[วิตามินซี]]มาก<ref>พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 138 - 140</ref>
 
<u>'''<big>สรรพคุณของมันเทศ</big>'''</u>
 
1หัวมันเทศช่วยลดไขมันในเลือดได้ ด้วยการนำผลมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน (หัว)
 
2หัวใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยแก้กระหายน้ำ (หัว)
 
3หัวใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยแก้เมาคลื่นได้ (หัว)
 
4รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)
 
5หัวใช้เป็นยาแก้บิด (หัว)
 
6หัวใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยบำรุงม้ามไต (หัว)
 
7น้ำคั้นจากหัวใช้เป็นยาทาแก้แผลไฟไหม้ได้ (หัว)
 
8ใบใช้ตำพอกรักษาฝีได้ หรือ จะใช้ใบตำผสมกับเกลือใช้พอกฝีก็ได้ ส่วนตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ยอดและใบมันเทศนำมาตำผสมกับยอดและใบผักขมใบแดงเป็นยาพอกฝี (ยอดและใบ)
 
9ตำรายาไทยจะใช้หัวนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกแผล รักษาเริม และงูสวัด (หัว)
 
10ทั้งต้นและหัวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (ทั้งต้น, หัว)
 
== คุณค่าทางอาหาร ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มันเทศ"