ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Oum13928 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 263:
==== แผนสั่งซื้อขบวนรถในอนาคต====
เพื่อเป็นการรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นถึง 900,000 คนต่อเที่ยววัน รวมถึงเป็นการเตรียมการเดินรถในส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต บีทีเอสซีจึงทำการสั่งซื้อขบวนรถเพิ่ม 46 ขบวน 184 ตู้ แบบต่อพ่วง 4 ตู้/ขบวน จากทั้งหมดสองโรงงาน มูลค่าการลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท โดยเงินลงทุนส่วนหนึ่งมาจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท และส่วนหนึ่งได้มาจากเงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งทั้งสองโรงงานมีรายละเอียดการสั่งซื้อดังนี้
* [[ซีเมนส์|ซีเมนส์ โมบิลิตี]] : สั่งซื้อขบวนรถรุ่นซีเมนส์ โบซันคาย่าดีไซน์ บีทีเอสโมเดล ([[ซีเมนส์ อินสไปโร]]) 22 ขบวน 88 ตู้ สำหรับใช้รองรับในช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 12 ขบวน อีก 7 ขบวนรองรับเส้นทางปัจจุบัน หมอชิต-แบริ่ง และ สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า และอีก 3 ขบวน เป็นขบวนสำรอง (สถานะปัจจุบัน : รับมอบครบทุกขบวนและออกให้บริการครบทุกขบวนแล้ว)
* [[ซีอาร์อาร์ซีฉางชุนเรลเวย์เวฮิเคิลส์|ซีอาร์อาร์ซี]] : สั่งซื้อขบวนรถรุ่น [[บอมบาร์ดิเอร์|บอมบาร์ดิเอร์ โมเวีย]] แบบเดียวกับที่ให้บริการในปัจจุบัน (EMU Type-B) 24 ขบวน 96 ตู้ สำหรับใช้เดินรถในส่วนต่อขยาย หอวัง-สะพานใหม่-คูคต 21 ขบวน และอีก 3 ขบวน เป็นขบวนสำรอง
โดยทั้งสองรุ่นมีรายละเอียดการประกอบและชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐาน รองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในขบวนรถไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะเริ่มจัดส่งมายังประเทศไทยในปี พ.ศ. 2561 โดยขบวนรถของซีเมนส์ จะถูกจัดส่งและทำการทดสอบการวิ่งโดยจะจอดไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงสมุทรปราการ และจะพร้อมให้บริการทั้งหมดพร้อมกับการเสร็จสิ้นด้านงานระบบรถไฟฟ้าของส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2561 ในขณะที่ขบวนรถของฉางชุน (CRRC) จะพร้อมให้บริการทั้งหมดพร้อมกับการเสร็จสิ้นด้านงานระบบรถไฟฟ้าของส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ในปี พ.ศ. 2562 (สถานะปัจจุบัน : รับมอบแล้ว 10 ขบวน และออกให้บริการแล้ว 5 ขบวน)
 
== ส่วนต่อขยาย ==