ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุปาทาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8:
#ทิฏฐุปาทาน ยึดถือในทิฏฐิ คือ ความเห็นของตนว่าถูกต้อง ตรง จริง ของผู้อื่นผิด แม้ความเห็นนั้นจะถูกต้องจริงๆ ก็ยังคงเป็นอุปาทานด้วยเหมือนกัน
#สีลัพพัตตุปาทาน ติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย ในที่นี้หมายถึง ข้อประพฤติปฎิบัติที่ไร้ประโยชน์ซึ่งเป็นการทรมานตนเปล่า ทำให้เสียเวลา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้นแต่กลับทำให้ยึดติดในวัตรปฎิบัติมากยิ่งขึ้น โดยคิดว่าเพียงแค่การถือพรตอันเคร่งครัดเพียงเท่านั้น จะสามารถนำมาซึ่งวิมุตติอันเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความจริงในทางพุทธศาสนา
#อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในความรู้สึกว่ามีตัวเอง เป็นของตัวเอง หรืออะไร ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นตัวตนในตัวเอง
 
พุทธภาษิตมีอยู่ว่า "เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว [[เบญจขันธ์]]ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานนั่นแหละเป็นตัวทุกข์"
 
ดังนั้น [[เบญจขันธ์]]ที่ไม่มีอุปาทานครอบงำนั้นหาเป็นทุกข์ไม่ ฉะนั้น คำว่าบริสุทธิ์หรือหลุดพ้นจึงหมายถึง การ[[วิมุตติ|หลุดพ้น]]จากอุปาทานว่า"ตัวเรา" ว่า"ของเรา"นี้โดยตรง ดังมีพุทธภาษิตว่า '''"คนทั้งหลายย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน"''' เรียกง่าย ๆ ว่า ทุกข์ก็เป็นความคับข้อง ความไม่สะดวกสบายอันเป็นธรรมดาของทุกข์เอง แต่เราไม่ได้ทุกข์ด้วยเพราะเราไม่ได้ไปยึดมั่นเอามา้วยอุปาทานเสียแล้วจึงเป็นเบญจขันธ์ธรรมดาที่ไม่ได้ทำให้เราเป็นทุกข์ไเ้
 
==อ้างอิง==