ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
 
== สัญลักษณ์ ==
เมื่อแรกสถาปนากรมการรักษาดินแดนในปี พ.ศ. 2491 กรมการรักษาดินแดนได้กำหนดให้ใช้เครื่องหมายราชการ ''"เป็นรูปพระมหามงกุฎคร่อมอุณาโลมและดาบไขว้"'' โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2494 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2494<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/007/94.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 68 ตอนที่ 7 วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2494 หน้า 94-95]</ref> ต่อมาจึงได้มีแก้ไขปรับปรุงดวงตรา โดยเพิ่มรัศมีที่ยอดพระมหามงกุฎและเพิ่มช่อชัยพฤกษ์โอบรอบเบื้องล่างของดวงตรา โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อใด
 
ในปี พ.ศ. 2549 หลังจากการแปรสภาพกรมการรักษาดินแดนและกรมการกำลังสำรองมาเป็นหน่วยบัญชาการกำลังสำรองได้ 5 ปี จึงได้มีการประกาศใช้เครื่องหมายราชการของหน่วยบัญชาการกำลังสำรองอย่างเป็นทางการ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 233) ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งกำหนดลักษณะของเครื่องหมายราชการดังกล่าวไว้ว่า ''"เป็นรูปพระมาตุลีเป่าแตรงอน ถืออินทรโองการ ประทับบนบัลลังก์เมฆสีขาวเหนือดาบโบราณไขว้กัน รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ภายใต้อุณาโลมและพระมหามงกุฎรัศมีสีทอง เบื้องล่างมีแพรแถบปลายสะบัดขึ้นทั้ง 2 ข้าง กลางแพรแถบมีคำว่า “หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง” ทั้งหมดบรรจุอยู่ภายในกรอบรูปวงรี (ไม่จำกัดขนาด)"''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/007/94.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 106 ง วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2549 หน้า 3]</ref>