ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
== ประวัติ ==
 
=== การถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นอักษรโรมันโดยชาวต่างชาติ ===
ตั้งแต่สมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] ชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศได้เข้ามาทำการค้าขายกับราชสำนัก ซึ่งชาวต่างชาติเหล่านี้ได้ทำการถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นอักษรโรมัน (transpose) โดยอาศัยการออกเสียงในภาษาไทยและถ่ายเสียงดังกล่าวลงเป็นอักษรโรมันตามหลักเกณฑ์ไวยากรณ์ของภาษาตนเอง ดังนั้น การถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นอักษรโรมันในสมัยนี้ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัว ซึ่งทำให้การบันทึกชื่อสถานที่ต่าง ๆ หรือคำศัพท์และประโยคใช้วิธีแตกต่างกันไป
 
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้ถ่ายเสียงคำว่า สยาม (Sião) เมืองไทย (Muantai) อยุธยา (Hudia) แม่น้ำ[เจ้าพระยา] (Meinão) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 [[ซีมง เดอ ลา ลูแบร์]] ได้เขียน[[จดหมายเหตุลาลูแบร์]] (A new historical relation of the Kingdom of Siam) โดยถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นอักษรโรมัน โดยยกตัวอย่างประโยคทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น กินแล้วหรือ (kin lêou reü?) เมื่อท่านมาเราได้กินสำเร็จแล้ว (meüà tân mâ, râo dáï kin sam-red lêou) รวมถึงคำศัพท์ทั่วไป เช่น สัปปะรด (saparot) กล้วย (cloüey) ขนุน (ca-noun) เป็นต้น<ref>[http://www.siamese-heritage.org/jsspdf/1951/JSS_048_1c_Griswold_AfterthoughtsOnRomanizationOfSiamese.pdf Afterthoughts on the Romanization of Siamese by A.B. Griswold]</ref>
 
=== การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันตามพระราชนิยมรัชกาลที่ 6 ===
 
เมื่อปี พ.ศ. 2456 [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงพระราชนิพนธ์บทความเรื่อง The Romanisation of Siamese Words ลงในวารสารสยามสมาคม (Journal of the Siam Society) ของ[[สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์]]<ref>[http://www.siamese-heritage.org/jsspdf/1911/JSS_009_4b_KingVajiravudh_RomanisationOfSiameseWords.pdf The Romanisation of Siamese Words by His Majesty the King]</ref> โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้