ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาสนวิหารอัสสัมชัญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 41:
'''อาสนวิหารอัสสัมชัญ''' หรือ'''โบสถ์อัสสัมชัญ''' ({{lang-en|Assumption Cathedral}}) เป็น[[อาสนวิหาร]]ประจำ[[เขตมิสซังกรุงเทพฯ|มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ]] และที่ตั้งของโรงเรียน 3 แห่งได้แก่ [[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] [[โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์]] และ[[โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา]] อาสนวิหารตั้งอยู่ที่[[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] สร้างขึ้นครั้งแรกในรูปแบบทรงไทยโดย[[บาทหลวง]]ปาสกัล ซึ่งเป็นชาวไทย-[[โปรตุเกส]]<ref>[http://www.assumption-cathedral.com/index.php/2012-05-30-09-49-05.html สถาปัตยกรรมอาสนวิหารอัสสัมชัญ], assumption-cathedral.com .สืบค้นเมื่อ 13/06/2559</ref> โบสถ์หลังปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2452 โดยคุณพ่อ[[เอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์]] อธิการโบสถ์ชาวฝรั่งเศสในขณะนั้น<ref>[http://www.catholic.or.th/archive/archbkk/church/church1/archbkk10.html ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ], catholic.or.th/ .สืบค้นเมื่อ 13/06/2559</ref> เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยมี[[สถาปนิก]][[ชาวฝรั่งเศส]]เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โดยมีวัสดุก่อสร้างเช่น[[หินอ่อน]]และ[[กระจกสี]] ซึ่งสั่งมาจากประเทศฝรั่งเศส [[สิงคโปร์]]และ[[อิตาลี]]
 
วิหารได้รับการออกแบบในรูปของงานสถาปัตยกรรม[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี]] มีความสูงของหอระฆังตั้งแต่ยอดหอคอยจดพื้น 32 เมตรด้วยกัน ส่วนด้านในผนังและเพดานก็ตกแต่งด้วย[[จิตรกรรม]]แบบเฟรสโกและประติมากรรมปูนปั้นที่แสดงถึงเรื่องราวความเชื่อทาง[[ศาสนาคริสต์]] ปัจจุบันวิหารมีอายุเก่าแก่อายุกว่า {{อายุ|2452|1|1}} ปี เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและยังได้การยกย่องให้เป็นหนึ่งในอาสหวิหารที่สวยที่สุดในไทยอีกด้วย<ref>[http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/001256/lang/th/ 9 โบสถ์คริสต์สุดงาม ในเมืองไทย!], ไปไหนดี .วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557</ref><ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000150716 ชม 5 โบสถ์คริสต์ งามวิจิตรตระการตา], ผู้จัดการออนไลน์ .วันที่ 23 ธันวาคม 2551</ref> ที่ผ่านมาอาสนวิหารอัสสัมชัญมีโอกาสได้รับเสด็จ[[สมเด็จพระสันตะปาปา]] ประมุขสูงสุดของโรมันคาทอลิก ถึงสองพระองค์ คือ[[สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2]] เนื่องในวโรกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2527 และ[[สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส]] เนื่องในวโรกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2562<ref> https://thestandard.co/pope-visit-thailand-2019-6/</ref>
 
== ประวัติ ==