ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สารานุกรมบริแทนนิกา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
'''สารานุกรมบริแทนนิกา''' ({{lang-la|Encyclopædia Britannica}}; "สารานุกรมบริติช") เป็น[[สารานุกรม]]ใน[[ภาษาอังกฤษ]]ว่าด้วย[[ความรู้ทั่วไป]] เดิมมีผู้พิมพ์เผยแพร่ คือ [[บริษัทสารานุกรมบริแทนนิกา]]และบุคคลอื่น ๆ และมีผู้เขียนเป็นบุคคลราว 100 คนซึ่งมาเขียนให้เต็มเวลา กับอีกราว 4,000 คนซึ่งมาเขียนให้นอกเวลา ปัจจุบัน ไม่ตีพิมพ์เป็นเล่มแล้ว แต่เผยแพร่แบบออนไลน์แทน
 
สารานุกรมบริแทนนิกาตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 1768–1771 ณ [[เอดินบะระ]] เมืองหลวงของ[[สกอตแลนด์]] เป็นฉบับที่แบ่งเป็น 3 เล่ม ฉบับที่ 2 ขยายเนื้อหามากเป็น 10 เล่ม<ref name = ":0">{{cite web|url=http://corporate.britannica.com/company_info.html|title=History of Encyclopædia Britannica and Britannica Online|accessdate=31 May 2019|publisher=Encyclopædia Britannica, Inc|url-status = dead|archiveurl=https://web.archive.org/web/20061020084752/http://corporate.britannica.com/company_info.html|archivedate=20 October 2006}}</ref> พอถึงฉบับที่ 4 (ค.ศ. 1801–1810) ปรากฏว่ามีถึง 20 เล่ม<ref>{{cite web|url=http://corporate.britannica.com/company_info.html|url-status = unfit|archiveurl=https://web.archive.org/web/20010609041910/http://corporate.britannica.com/company_info.html|archivedate=9 June 2001|website=Britannica.com|title=History of Encyclopædia Britannica and Britannica.com|accessdate=31 May 2019}}</ref> ความที่เป็นงานวิชาการซึ่งมีเนื้อหาทวีขึ้นเรื่อย ๆ นี้ ทำให้ได้บุคคลสำคัญหลายคนมาร่วมเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉบับที่ 9 (ค.ศ. 1875–1889) นั้นถือกันว่าโดดเด่นมากในด้านเนื้อหาวิชาการและโวหารสำนวน ครั้นบริษัทสัญชาติอเมริกันได้สิทธิจัดพิมพ์ไปตั้งแต่ฉบับที่ 11 (ค.ศ. 1911) ก็เกิดกระบวนการ "ทำให้เป็นอเมริกัน" (Americanizing) โดยย่อเนื้อหาลง และใช้ภาษาเรียบง่ายขึ้น เพื่อตีตลาดใน[[อเมริกาเหนือ]] พอถึง ค.ศ. 1933 สารานุกรมบริแทนนิกาก็กลายเป็นสารานุกรมแรกที่มีการชำระมาอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุด แต่แม้จะมีการตีพิมพ์ในสหรัฐมาตั้งแต่ฉบับที่ 10 (ค.ศ. 1901) แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ยังรักษาการเขียนแบบบริติชไว้ มิได้เปลี่ยนไปใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกาอเมริกัน
 
ฉบับที่ 15 (ค.ศ. 2010) เป็นฉบับพิเศษที่แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วนแรกเรียก [[แมโครพีเดีย]] (Macropædia) มี 17 เล่ม เป็นบทความยาว กินเนื้อที่ตั้งแต่ 2 ถึง 310 หน้าต่อ 1 บทความ ส่วนถัดมาเรียก [[ไมโครพีเดีย]] (Micropædia) มี 12 เล่ม เป็นบทความสั้น โดยปรกติแล้วมีถ้อยคำไม่เกิน 750 คำต่อ 1 บทความ มีไว้ช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลได้ไวขึ้น และไว้เป็นเครื่องช่วยนำทางในการอ่านแมโครพีเดีย และส่วนสุดท้ายเรียก [[พรอพีเดีย]] (Propædia) มีเล่มเดียว บรรจุคำอธิบายโครงสร้างของสารานุกรมแบบคร่าว ๆ