ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทลื้อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พุทธามาตย์ ย้ายหน้า ไทลื้อ ไปยัง ชาวลื้อ: ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตฯ
บรรทัด 82:
ศิลปะที่โดดเด่นของชาวไทลื้อได้แก่งานผ้าทอไทลื้อ นิยมใช้ผ้าฝ้าย บางสมัยนิยมใช้เส้นไหมจากต่างถิ่น ทอลวดลายที่เรียกว่า "ลายเกาะ" ด้วยเทคนิคการล้วง ซึ่งปัจจุบันนิยมเรียกว่า '''ลายน้ำไหล''' มีการฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปะการทอผ้าแบบไทลื้อในหลายชุมชนของภาคเหนือในปัจจุบัน
 
ผู้ชายไทลื้อส่วนใหญ่จะนิยมสวมเสื้อขาวแขนยาว สวมทับด้วยเสื้อกั๊กปักลวดลายด้วยเลื่อม เรียกว่า "เสื้อปา" สวมกางเกง[[หม้อห้อม]]ขายาวต่อหัวกางเกงด้วยผ้าสีขาว เรียกว่า "เตี่ยวหัวขาวเต๋วหัวขาว" นิยมโพกศีรษะ ("เคียนหัว") ด้วยผ้าสีขาว สีชมพู ส่วนหญิงไทลื้อนิยมสวมเสื้อปั๊ด (เป็นเสื้อที่ไม่มีกระดุมแต่สาบเสื้อจะป้ายเฉียงมาผูกไว้ที่เอวด้านข้าง) นุ่งซิ่นต๋าลื้อ สะพายกระเป๋าย่าม ("ถุงย่าม")และนิยมโพกศีรษะด้วยผ้าสีขาวหรือสีชมพู<ref>http://www.lannacorner.net/weblanna/article/article.php?type=A&ID=482</ref>
 
ชาวไทลื้อในสิบสองปันนาบางส่วนได้สมรสกับ[[หุย|ชาวหุย]]และเข้ารีตเป็นมุสลิม พวกเขาจะเรียกแทนตัวว่า "ไทหุย" พูดภาษาและแต่งกายอย่างไทลื้อแต่สวมหมวกและมีผ้าคลุมศีรษะ ในปี พ.ศ. 2553 มีจำนวนไทหุยทั้งหมด 743 คน ตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านหม่านล้วนหุย และบ้านหม่านซ่ายหุยในเขตเมืองฮาย<ref>{{cite journal|journal= สุขสาระ | author = เจนิชา ประพฤทธิ์มล |volume= 11 |issue= 125 |pages= 10-11 |title= ไทหุย (มุสลิม) ในสิบสองปันนา |url= http://www.thaihealth.or.th/data/ecatalog/384/pdf/384.pdf |date= พฤษภาคม 2557 |language= ไทย }}</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไทลื้อ"