ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สฤษดิ์ ธนะรัชต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 69:
ต่อมาใน พ.ศ. 2476 เกิด[[กบฏบวรเดช]] นำโดย[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช|พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหนึ่งในผู้บังคับหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มี[[แปลก พิบูลสงคราม|พันเอกหลวงพิบูลสงคราม]]เป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะ ได้รับพระราชทานยศร้อยโท <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/D/376.PDF ประกาศพระราชทานยศทหารบก]</ref> จากนั้นอีก 2 ปีก็ได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/206.PDF ประกาศพระราชทานยศทหารบก] </ref>
 
ใน พ.ศ. 2484 ร้อยเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบใน[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]]ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหารราบที่ 33 [[จังหวัดลำปาง]] มียศเป็น[[พันตรี]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2483/D/057/529.PDF ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร]</ref> จนช่วงปลาย[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็น[[พันเอก]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/D/037/966.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร]</ref> ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง
 
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง โดยก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ. 2487 อำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เริ่มเสื่อมถอยลง<ref name="ประชา">หนังสือ[[ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน]] โดย [[วินทร์ เลียววาริณ]], ISBN 9748585476</ref> หลังจากลาออกจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] แต่พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับเติบโตขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ<ref name="ประชา"/>