ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vila Phounvongsa (คุย | ส่วนร่วม)
ພະເຈົ້າໄຊຍະເສດຖາທິຣາດ ມະຫາຣາດ (ພະເຈົ້າຊະນະສີ່ທິດ)
Gonkost (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติศาสตร์สำคัญ-เพิ่มเติม
บรรทัด 31:
ในรัชสมัย[[พระยาโพธิสาลราช]] (พ.ศ. 2063-2090) พระองค์เป็นผู้เคร่งครัดทาง[[ศาสนาพุทธ]]เป็นอย่างยิ่ง ได้มีพระราชโองการให้พลเมืองเลิกนับถือผีสางเทวดา เลิก[[การทรงเจ้า]]เข้าผีทั่วพระราชอาณาจักร ให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมือง และให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน ทรงสร้าง[[วัดสุวรรณเทวโลก]]เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากประเพณีการนับถือผีนั้นมีมาช้านาน และได้ฝังเข้าไปในจิตใจของประชาชนทั่วไป จึงยากที่จะเลิกอย่างเด็ดขาดได้
 
ครั้นต่อมาทางอาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐหรือเชษฐวังโส พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร หรือเจ้าชายเเห่งเมืองหลวงพระบาง(เสด็จพระราชสมภพเเละเติบโตอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง) ไปครองนคร[[ล้านนา]] เมื่อปี พ.ศ. 2089 ทรงครองราชเป็นกษัตย์เป็นพระองค์ที่ 15 สาเหตุที่ท่านทรงมีอำนาจในเเคว้นล้านนาหรือนครเชียงใหม่ เนื่องด้วยอำนาจของบิดาที่เคยเข้าไปเเทรกเเซงในล้านนาเป็นสำคัญ เมื่อพระเจ้าโพธิสารเสด็จสวรรคต พ.ศ. 2090 ด้วยถูก[[ช้าง]]ล้มทับขณะประพาสป่า ทรงกลับนครได้เพียง 3 สัปดาห์ก็สวรรคต เมื่อสวรรคตแล้ว พระโอรสทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 ฝ่ายคืออาณาจักรฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ พระเจ้าไชยเชษโฐแห่งล้านนาได้เเก่ จึงยกทัพตีกรุง[[เจ้าศรีวรวงษาราชกุมาร|พระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา]] (เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษา) และ[[เจ้ากิจธนวราธิราช]] (เจ้าท่าเรือ) ผู้เป็นพระราชโอรสองค์รองต่างพยายามจะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ในที่สุดเจ้าท่าเรือสามารถยึดครองเมืองหลวงพระบางไว้ได้ ขุนนางล้านช้างเเละเจ้าศรีวรวงษาราชกุมารจึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมานครหลวงพระบางเพื่อรับเถลิงถวัลยราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น และได้อัญเชิญ[[พระแก้วมรกต]]ที่ประดิษฐานอยู่ที่[[วัดสวนดอก (พระอารามหลวง)|วัดบุปผาราม เชียงใหม่]] รวมทั้ง[[พระพุทธสิหิงค์]]และ[[พระแก้วขาว]]ไปด้วย เมื่อเสด็จถึงล้านช้าง ทรงยึดราชสมบัติจากเจ้าครองนครทั้งสองเจ้าท่าเรือไว้ได้ ด้วยความเกรงกลัวโดยการสนับสนุนของเจ้าครองนครทั้งสองศรีวรวงษาราชกุมาร(ภายหลังได้รับเเต่งตั้งเป็นเจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษาในรัชสมัยของพระไชยเชษฐาธิราช จึงทรงครองนครทั้งสองเเละได้รับเเต่งตั้งเป็นกษัตริย์องค์เเรกในยุคล้านช้างตกเป็นเมืองขึ้นของ[[พม่า]]ซึ่งเรียกว่าได้รับการสนับสนุนเเละเเต่งตั้งจาก[[บุเรงนอง]])เป็นสำคัญซึ่งทั้งช่วยเป็นทัพร่วมตีขนาบยึดเมืองหลวงพระบางจากเจ้าท่าเรือเเละเสนอชื่อให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงดำรงตำเเหน่งกษัตริย์ ภายหลังได้รับเเต่งตั้ง เมืองหลวงพระบางได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงศรีสัตนาคตหุต" พระองค์จึงขึ้นครองราชสมบัติ นับเป็นมหาราชองค์ที่ 2 ของลาว ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระนามว่า "'''พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช'''"
 
พระพุทธศาสนาในยุคของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช นับว่ามีความเจริญถึงขั้นขีดสุด ทรงได้สร้างวัดสำคัญมากมาย ที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างองค์[[พระธาตุหลวง]]ขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่โตมโหฬารสมกับที่เป็นปูชนียสถานคู่แผ่นดินพระราชอาณาจักร และได้สร้างวัดในกำแพงเมืองอยู่ประมาณ 120 วัด และยังได้สร้างวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ที่นำมาจากเมือง[[เชียงใหม่]] ในสมัยนี้ได้มีการแต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น สังสินชัย การเกต พระลักพระราม เป็นต้น
บรรทัด 41:
นอกจากพระองค์จะได้ทรงสร้างพระธาตุ อื่น ๆ และพระพุทธรูปสำคัญ ๆ อีกมากมาย เช่น [[พระเจ้าองค์ตื้อ]] ที่เวียงจันทน์ [[พระเจ้าองค์ตื้อ]] ที่[[อำเภอท่าบ่อ]] [[จังหวัดหนองคาย]] [[พระเสริม]] [[พระสุก]] [[พระใส]] [[พระอินทร์แปลง]] [[พระองค์แสน]] ทรงสร้างวัดพระธาตุ ที่จังหวัดหนองคาย และพระธาตุที่จมน้ำโขงอยู่ [[พระธาตุบังพวน]] อำเภอเมืองหนองคาย สร้าง[[วัดศรีเมือง]] จังหวัดหนองคาย และพระประธานในโบสถ์ นามว่า พระไชยเชษฐา พระศรีโคตรบูร ที่[[แขวงคำม่วน]] [[พระธาตุอิงรัง]] ที่[[แขวงสุวรรณเขต]] (สุวรรณเขต) [[พระธาตุศรีสองรัก]] อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และทรงปฏิสังขรณ์[[พระธาตุพนม]] เป็นต้น
 
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงประคับประคองนำราชอาณาจักรล้านช้างผ่านพ้นภัยการเป็นเมืองขึ้นของพม่าไปได้ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าในขณะนั้น[[อาณาจักรล้านนา]] (เสียแก่พม่า พ.ศ. 2101) และ[[อาณาจักรอยุธยา]] (เสียแก่พม่า พ.ศ. 2107) ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว แต่หลังจากพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2114 เนื่องจากท่านต้องไปปราบกบฎที่เมืองโองการหรือเมือง[[อัตปือ]]เเต่ท่านกลับเสียท่าให้กับหัวหน้ากบฎ[[ชาวกูย]]ที่เเข็งเมืองซ้อนกลจนทัพของมหาราชเเห่งล้านช้างต้องเเตกพ่ายเเละท่านถูกสำเร็จโทษในเวลาต่อมา พอมาถึง พ.ศ. 2117-2118 [[พระเจ้าบุเรงนอง]]ได้ยกทัพมาตีลาวและได้รับชัยชนะ และทรงนำโอรสองค์เดียวของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งประสูติในปีที่สวรรคต ไว้เป็นประกันที่[[หงสาวดี]]ด้วย ต่อจากนั้นมาหลายปีแผ่นดินลาวก็วุ่นวายด้วยเรื่องราชสมบัติ
 
จน พ.ศ. 2134 พระเถระเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ จึงได้ประชุมกันลงมติให้ส่งทูตไปเชิญ[[พระหน่อแก้วกุมาร]] ซึ่งเป็นตัวประกันอยู่ประเทศพม่ากลับมาครองราชย์ และในเวลานั้น[[พระเจ้าบุเรงนอง]]สวรรคตลง พม่าเริ่มอ่อนแอลง และพระหน่อแก้วกุมารขึ้นครองราชย์สมบัติ พ.ศ. 2135 และประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าต่อไป