ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
| nationality = ไทย
| other_names =
| known_for = พระมาตุลาใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]
| occupation =
| spouse = ท่านผู้หญิง[[เกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา]]
บรรทัด 18:
}}
 
'''พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์''' เป็นบุตรของมหาอำมาตย์เอกพลเอก [[เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)]]กับ[[ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)]] และยังเป็นพระมาตุลาเพียงแค่ท่านเดียวใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ที่มาจากผู้ที่เป็นน้องชายร่วมมารดาเดียวกันกับ[[หม่อมหลวงบัว กิติยากร]] ผู้ที่เป็นพระชนนีใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]
 
==การศึกษา==
บรรทัด 26:
==รับราชการ==
 
หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์เริ่มรับราชการสนองพระเดชพระคุณ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ในปี พ.ศ. 2498 โดยถวายการรักษา[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าฯพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] เป็นครั้งคราว พร้อมกับทำงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าไปด้วยซึ่งในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จแปรพระราชฐานบ่อยขึ้น หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ต้องตามเสด็จด้วย การเสด็จเยี่ยมราษฎรแต่ละครั้งทรงรับเอาราษฎรเป็นคนไข้ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ ร่วมให้การรักษา
 
ขณะนั้นหม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ยังเป็นแพทย์ของ[[โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า]]อยู่ด้วย ขณะนั้นจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]]เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทราบถึงความไม่สะดวกของหม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ จึงย้ายหม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ไปเป็นนายแพทย์ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดและส่งมาปฏิบัติหน้าที่ถวายการรักษาโดยตรงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
 
ในปี พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีหมายกำหนดการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นทางการเกือบ 30 ประเทศ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ในขณะนั้นมียศพันเอก โดยติดตามเสด็จทุกประเทศในฐานะแพทย์ประจำพระองค์ การที่หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นระยะเวลายาวนานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ
 
==ครอบครัว==
บรรทัด 41:
==ชีวิตบั้นปลาย==
 
ต่อมาเมื่ออายุได้ 67 ปี พลโท นายแพทย์หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ เห็นว่าตนเองมีอายุมากแล้วสมควรที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำพระองค์แทนต่อไปจึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมิได้ทรงอนุมัติ ยังคงให้หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ เป็นแพทย์ประจำพระองค์สืบต่อมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์[[ดนัย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา]] เป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกคนหนึ่ง
 
==อ้างอิง==