ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2433 เป็นธิดาใน[[หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์]] กับหม่อมช้อย ลดาวัลย์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม นครานนท์)<ref>[[ธงทอง จันทรางศุ]]. ''ในกำแพงแก้ว.'' กรุงเทพฯ:เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค. 2550, หน้า 164</ref>
 
เมื่อท่านมีอายุได้ 11 ปี หม่อมยายได้พาท่านไปถวายตัวเป็นข้าหลวงในตำหนัก[[พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา]] ซึ่งพระองค์ได้ทรงอบรมเลี้ยงดูหม่อมราชวงศ์สดับในฐานะพระญาติ และยังโปรดให้เรียนหนังสือทั้ง[[ภาษาไทย]] [[ภาษาอังกฤษ]] รวมทั้งหัดงานฝีมือ ตลอดจนการอาหารคาวหวานจนเชี่ยวชาญ นอกจากความอัจฉริยภาพและความงามแล้ว ความมีเสียงอันไพเราะของท่าน ยังเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นด้วย ดังใน บทพระราชนิพนธ์เงาะป่า ว่า
 
:::''"แม่เสียงเพราะเอย น้ำเสียงเจ้าเสนาะ เหมือนดังใจพี่จะขาด เจ้าร้องลำนำ ยิ่งซ้ำพิสวาท พี่ไม่วายหมายมาด รักเจ้าเสียงเพราะเอย"''
บรรทัด 54:
''"ในวันเฉลิมพระที่นั่งนี้ทรงพระมหากรุณาสวมกำไลทองรูปตาปูพระราชทานข้าพเจ้า ทรงสวมโดยไม่มีเครื่องมือ บีบด้วยพระหัตถ์ รุ่งขึ้นจึงต้องรับสั่งให้กรมหลวงสรรพศาสตร์พาช่างทองแกรเลิตฝรั่งชาติเยอรมันนำเครื่องมือมาบีบให้เรียบร้อย"''
 
วันนี้ถือว่าเป็นวันที่ท่านมีความสุขมากที่สุด และทั้งตลอดชีวิตของท่าน เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมิได้ถอดออกจากข้อมือเลย จวบจนชีวิตท่านหาไม่แล้ว หม่อมหลวงพูนแสง สูตะบุตร ผู้เป็นหลานสาวจึงเป็นผู้ที่ถอดออกให้ และได้ถวาย "กำไลมาศ" แด่[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ในงานพระราชทานเพลิงศพของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับนั้นเอง
 
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ประกอบด้วย หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี พานทอง เป็นพานหมากมีเครื่องในทองคำกับกระโถนทองคำ และได้รับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น''[[ทุติยจุลจอมเกล้า]]'' ฝ่ายใน ซึ่งเป็นเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นพระสนมเอก ท่านจึงเป็น '''พระสนมเอก''' ท่านสุดท้ายในรัชกาล<ref>http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/04/K6545948/K6545948.html</ref>
บรรทัด 61:
 
=== ร. 5 เสด็จประพาสยุโรป ===
วันที่หม่อมราชวงศ์ได้เล่าว่าเป็นวันที่ทุกข์ที่สุดก็คือ วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[[การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง|ประพาสยุโรป]] เมื่อปี พ.ศ. 2450 เนื่องจากก่อนรัชกาลที่ 5 จะเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีพระราชดำริที่จะให้เจ้าจอมสดับตามเสด็จไปยุโรปด้วย ในฐานะข้าหลวงใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารีขัตติยนารี]] ถึงกับสอน[[ภาษาอังกฤษ]]พระราชทานเองก่อนเสวยพระกระยาหารทุกคืน แต่มีเหตุขัดข้อง จึงมิอาจเป็นไปตามพระราชดำรินั้นได้
 
แม้กระนั้น พระองค์ก็ได้มีพระราชหัตเลขามาถึงทุกสัปดาห์ เมื่อได้รับลายพระราชหัตถเลขาแล้ว ท่านก็แสดงอาการดีใจออกมาทุกครั้ง แต่อาการนั้นทำให้เกิดความรู้สึกริษยาจากคนรอบข้างโดยที่ท่านไม่รู้ตัว ทำให้พระวิมาดาเธอฯ ในฐานะผู้ปกครองจึงทรงต้องเข้มงวดกวดขันกิริยาอาการ ตลอดไปถึงข้อความในจดหมาย ด้วยเกรงว่าจะเขียนกราบทูลในเรื่องไม่สมควรไป
บรรทัด 96:
หลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านได้ถวายคืนเครื่องเพชรทั้งหลายที่ได้รับพระราชทานมาแด่[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] จนหมดสิ้น สมเด็จฯ ก็ได้ทรงรับไว้แล้วโปรดเกล้าฯ ให้นำไปขายที่ยุโรป แล้วนำเงินมาสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งสิ้น นอกจากนั้นท่านยังหันไปยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วย
 
จนเมื่อท่านเจ้าจอมนั้นมีวัยชราแล้ว [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ได้พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้ท่านกลับเข้ามาอยู่ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ในช่วงเวลานี้นี่เอง ที่ท่านได้มีโอกาสทำคุณประโยชน์อีกครั้ง โดยการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แก่ชนรุ่นหลัง เช่น
* วิธีถักตาชุนหรือ ถักสไบ ที่เรียกกันว่า '''[[กรองทอง]]'''
* วิธีทำน้ำอบ น้ำปรุง
บรรทัด 104:
 
==ห้องพระเครื่องต้นแห่งราชสำนัก==
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ รับสนองพระมหากรุณาธิคุณในกิจการห้องพระเครื่องต้นแห่งราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทำให้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีความชำนาญในการปรุงอาหารคาวหวาน และยังเป็นผู้ที่มีรสนิยมในการรับประทานอาหารเป็นอย่างยิ่ง มีความสุขที่จะเป็นผู้ทำอาหารให้ผู้อื่นรับประทานมาตั้งแต่ยังสาว จนกระทั่งแม้อายุ 92 ปี ก็ยังไม่งดที่จะลงมือตำน้ำพริกเองยามมีหลานหรือแขกไปรับประทานอาหารด้วย วันหนึ่ง[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงกรุณาเสด็จเยี่ยมที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน ประจวบเป็นเวลาที่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับกำลังจะรับประทานอาหารกลางวันจึง กราบเรียนเชิญเสด็จ พร้อมทั้งกราบทูลว่า “ แหม นี่ถ้าประทานรับสั่งมาก่อนล่วงหน้าสัก 10 นาทีว่าจะเสด็จมา จะตำน้ำพริกตั้งเครื่องทันที ” เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับนอกจากจะเป็นผู้ที่มีรสมือหาตัวจับยากแล้ว ยังเป็นผู้ไม่ปิดบังตำรา ตรงกันข้ามกลับมีความยินดีที่จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้น และทุกครั้งที่ได้ถ่ายทอดแก่ผู้ใดแล้วก็ตามก็จะต้องพูดติดปากเสมอว่า “ เป็นตำราพระวิมาดา ” แสดงถึงความยกย่องใน[[พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา]] ในฐานะที่ทรงเป็นต้นตำรับ และแสดงถึงความเป็นผู้ไม่แอบอ้างว่าอาหารอร่อยเพราะเพียงฝีมือผู้ปรุงเท่า นั้น ตำรับเป็นส่วนสำคัญด้วย
 
==เครื่องราชอิสริยาภรณ์==