ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทหารพราน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Watanachansorn (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติความเป็นมาหน่วยทหารพราน
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ Watanachansorn (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย B20180
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 25:
[[ไฟล์:Royal Thai Army soldier on security perimeter 080501-M-2095G-184.JPG|thumb|right|200px|ทหารพรานถือปืน [[เฮคเลอร์แอนด์คอช เอชเค 33|เอชเค 33 เอ 2]]]]
 
'''ทหารพราน''' เป็นกำลังทหารราบเบา[[กึ่งทหาร]]ซึ่งลาดตระเวนตามแนวชายแดนไทยและเป็นส่วนหนึ่งของ[[กองทัพไทย]] ทหารพรานทำงานร่วมกับ[[ตำรวจตระเวนชายแดน]] แต่ถูกฝึกและติดอาวุธให้ทำการรบ ขณะที่ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมากกว่า และ[[ทหารพรานนาวิกโยธิน]]ในสังกัดกองทัพเรือนั้น ขึ้นการบังคับบัญชากับกองพลนาวิกโยธิน
'''๑๘ กรกฎาคม วันทหารพราน'''
 
'''"กว่าจะมาเป็นวันนี้ วันแห่งความภาคภูมิใจในเกียรติยศ ในศักดิ์ศรี วันที่ผู้บังคับบัญชาไว้วางใจ วันที่ประชาชนและสังคมยอมรับ เราต้องแลกมาด้วยเลือด ด้วยเนื้อ ด้วยชีวิต แลกมาด้วยความยากลำบากนานับประการ ต้องใช้ความเสียสละ เข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ อย่างมาก "'''
 
'''          นับตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย   ได้เปิดฉากทำสงครามการเมือง   โดยเปิดเผยตั้งแต่  พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นต้นมา ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับและ ได้ขยายอิทธิพลไปทั่วประเทศ   รัฐบาลได้ทุ่มเทใช้กำลังทุกประเภท รวมทั้งกำลังทหารเข้าปราบปราม เป็นระยะเวลา ๑๐ ปีเศษ ก็ไม่สามารถทำลายกองกำลังของฝ่ายผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ลงได้ รัฐบาลโดย ทบ. ได้วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติในขณะนั้นเป็นการปฏิบัติในลักษณะการทหารนำการเมืองเป็นการนำกำลังรบหลักปราบปรามกำลังจรยุทธ์ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรประกอบกับในขณะนั้นภัยคุกคามจากภายนอกประเทศทางด้านกัมพูชาพื้นที่รอยต่อ  ทภ.๑  กับ ทภ.๒   มีสถานการณ์ไม่เป็นที่ไว้วางใจ    ทบ.  มีความจำเป็นต้องถอนกำลังรบหลักในการปราบปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้านกัมพูชากลับมาฝึกฟื้นฟูเพื่อเตรียมป้องกันประเทศตามแนวชายแดนด้านกัมพูชา ทำให้ขาดแคลนกำลังในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในด้านนี้ ทบ.จึงได้จัดทำโครงการหน่วยรบนอกแบบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดยจัดเป็นกำลังกึ่งทหารในลักษณะหน่วยอาสาสมัครพิเศษ  ภายใต้ชื่อรหัสโครงการว่า “โครงการ ๕๑๓” และได้เสนอขออนุมัติจัดตั้งไปยังหน่วยเหนือตามลำดับ โดยสุดท้ายคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการตามโครงการ ๕๑๓  เมื่อ ๑๘ ก.ค. ๒๑ ซึ่งต่อมาในปี ๒๕๒๖ ทบ.  ได้อนุมัติให้วันที่ ๑๘ ก.ค. เป็นวันสถาปนาหน่วยทหารพราน'''
 
'''          โครงการ ๕๑๓  เป็นหน่วยรบนอกแบบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา  เดิมมี ๑๒ ชุดควบคุม  กำลังพล  ๑,๐๐๘ นาย ( กพ.ประจำการ ๔๘  นาย กพ.อส.ทพ. ๙๖๐ นาย )  และเมื่อ  ๑๙ ก.ค.๒๒  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งเพิ่มอีก ๒๑  ชุดควบคุม รวมเป็น ๓๓  ชุดควบคุม และเปลี่ยนนามหน่วยจากชุดควบคุมมาเป็นกองร้อย จากผลการปฏิบัติของหน่วยทหารพรานนั้นได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถลดอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้เป็นอย่างดี  ทบ. จึงได้จัดตั้งกองร้อยทหารพรานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกพื้นที่ โดยให้อยู่ในความควบคุมดูแลของ ศปก. ทบ. หมายเลขต่างๆคือ'''
 
'''- ศปก.ทบ. ๓๐๙ รับผิดชอบพื้นที่ ทภ.๓ และอีสานตอนบน'''
 
'''- ศปก.ทบ. ๓๑๑ รับผิดชอบพื้นที่ ภาคใต้'''
 
'''- ศปก.ทบ. ๓๑๕ รับผิดชอบพื้นที่ ทภ.๑ และอีสานตอนใต้'''
 
'''          ในปลายปี ๒๕๒๓ ทบ. อนุมัติให้ ศปก.ทบ.  หมายเลขต่างๆ โอนความรับผิดชอบหน่วยทหารพรานให้กับ  ทภ. ต่างๆ ในเขตพื้นที่โดยเรียกว่า ฉก.อส.ทพ.ทภ. และยังคงกำลังบางส่วนไว้กับ ศปก.ทบ. ๓๑๕ โดยให้อยู่ในความควบคุมของชุดควบคุมและประสานงานโครงการ ๕๑๓  “ชค. ๕๑๓ ค่ายปักธงชัย”'''
 
'''           ในปี ๒๕๒๔ (๙ มิ.ย. ๒๔) ทบ. ได้อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยรับผิดชอบทหารพราน ทบ. ขึ้นเรียกว่า ฉก.อส.ทพ.ทบ. โดยใช้ อฉก.ทพ.ทภ. เป็นแนวทาง มีที่ตั้งหน่วยอยู่ที่ ศปก.ทบ. สวนรื่นฤดี โดยมี จก.ยก.ทบ. เป็นนายทหารโครงการโดยตำแหน่ง เมื่อ  ๘ ก.ค. ๒๕  เปลี่ยนแปลงสายการบังคับบัญชาจากขึ้นตรง ยก.ทบ. มาเป็นหน่วยงานหนึ่งใน ศปก.ทบ.  และเมื่อ  ๑๘ ก.ค.๒๗ ทบ. ได้ออกคำสั่งแก้ไขนามหน่วยของ ฉก.อส.ทพ.ทภ. และ ฉก.อส.ทพ.ทบ. เป็น กกล.ทพ.ทภ. และ กกล.ทพ.ทบ. โดย กกล.ทพ.ทบ. ยังคงตั้งอยู่ใน ศปก.ทบ. สวนรื่นฤดี'''
 
'''          หน่วยทหารพรานที่จัดตั้ง ตั้งแต่ ปี ๒๕๒๑ – ๒๕๒๖ รวมทั้งสิ้น ๑๙๙ กองร้อย ทพ. ๒๗ กรม ทพ. จำนวนกองร้อย ในแต่ละ ทภ. ดังนี้'''
 
'''- ทภ.๑              จำนวน   ๒๘        กองร้อย'''
 
'''- ทภ.๒              จำนวน   ๕๒        กองร้อย'''
 
'''- ทภ.๓              จำนวน   ๕๓        กองร้อย'''
 
'''- ทภ.๔              จำนวน   ๓๔        กองร้อย'''
 
'''- ชค.๕๑๓          จำนวน   ๓๒        กองร้อย'''
 
'''          ๑ ต.ค. ๓๖ ตามแผนพัฒนากองทัพ ปี ๒๕๓๕ – ๒๕๓๙ ทบ. ได้อนุมัติให้ปรับลดกำลังทหารพราน ลง ๕๐ %'''
 
'''คงเหลือ ๑๑๑ กองร้อย ทพ. ๑๗ กรม ทพ. และให้ปรับรวมหน่วย กกล.ทพ.ทบ. กับ ชค.๕๑๓ ค่ายปักธงชัย เข้าเป็นหน่วยเดียวกันเรียกว่า กกล.ทพ.ทบ. ค่ายปักธงชัย ปฏิบัติงานตามโครงการ ๕๑๓ ภายใต้การกำกับดูแลของ ศปก.ทบ. ๓๑๕  ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๓๖'''
 
'''          ค่ายปักธงชัยกำเนิดเมื่อ ๑๕ พ.ย. ๒๒ โดย ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกได้กรุณาตั้งชื่อค่ายและเดินทางมาเปิดด้วยตนเอง ขณะนั้นมีหน่วยงาน ๒ หน่วยงาน คือ ชุดควบคุมและประสานงานโครงการ ๕๑๓  ( ชค.๕๑๓ ) และที่บังคับการทางยุทธวิธีร่วม ๑๒ (ทกย.ร่วม๑๒)'''
 
'''          ค่ายปักธงชัย เป็นแหล่งผลิตอาสาสมัครทหารพรานโดยตรงของกองทัพบก แรกเริ่มได้ทำการฝึกจัดตั้งอาสาสมัครทหารพรานที่ ค่ายฝึกรบพิเศษที่ ๙ บ.หนองตะกู ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน ๒๓ กองร้อย หลังจากนั้นค่ายปักธงชัยจึงได้ดำเนินการฝึกจัดตั้งเองโดยตลอด พื้นที่เดิมค่ายปักธงชัยนั้นเป็นสนามยิงปืนใหญ่ของ มทบ.๓ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ ๒๓ ก.ค. ๒๒ และสร้างแล้วเสร็จเมื่อ ๑๐ พ.ย. ๒๒ กระทำพิธีเปิดเมื่อ ๑๕ พ.ย. ๒๒  ต่อมาเมื่อ ๓๐ ก.ย. ๔๓ ทบ. ได้อนุมัติให้ กกล.ทพ.ทบ. ค่ายปักธงชัย ปิดการบรรจุหน่วย โดยปรับโอนกำลังพลทั้งหมดให้กับ ทภ. ต่างๆ'''
 
== ประวัติ ==