ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรถไฟแห่งประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Railway1234 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Railway1234 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 119:
จึงขอบอกตามตรง และเธอต้องอย่าเสียใจว่าในขณะนี้ เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า ถึงแม้เธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี แต่กำลังกายของเธอจะไม่ทนไปได้ จริงอยู่ฉันได้ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า “ยอมถวายชีวิต” แต่ฉันขอบอกอย่างดื้อๆ เพราะฉันรักเธอว่า ฉันไม่ต้องการชีวิตของเธอ ฉันต้องการใช้กำลังความสามารถของเธอมากกว่า”
</blockquote>
 
ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พุทธศักราช 2476
<blockquote>
มาตรา 18 '''กรมรถไฟ แบ่งส่วนราชการ ดั่งนี้'''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/908.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พุทธศักราช 2476]</ref>
 
''' ก.ราชการส่วนกลาง'''
 
1. สำนักงานเลขานุการกรม แบ่งเป็น 2 แผนก คือ
:(1) แผนกบัญชาการฝ่ายธุรการและกฎหมาย (2) แผนกสถิติ
 
2. กองการเดินรถ แบ่งเป็นดั่งนี้ คือ
:(1) ฝ่ายลากเลื่อน แบ่งเป็น 2 แผนก คือ
::ก. แผนกเดินรถ
::ข. แผนกช่างกล
: (2) ฝ่ายพาณิชยการ แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
::ก. แผนกโดยสาร
::ข. แผนกสินค้าและศิลา
::ค. แผนกโฮเต็ล บ้านพักและรถเสบียงและที่ดิน
::ง. แผนกโฆษณาการ
:(3) แผนกกลาง แบ่งเป็น 2 หมวด คือ
::ก. หมวดอบรม
::ข. หมวดสารบรรณ
 
3. กองการช่าง แบ่งเป็นดั่งนี้
:(1) ฝ่ายบำรุงทางและสถานที่ แบ่งเป็น 2 แผนก คือ
::ก. แผนกโทรเลขโทรศัพท์และอาณัติสัญญาณ
::ข. แผนกบำรุงทางสถานที่
:(2) ฝ่ายโรงงาน แบ่งออกเป็น 4 แผนก คือ
::ก. แผนกรถจักร
::ข. แผนกรถโดยสารและรถบรรทุก
::ค. แผนกโรงจักร
::ง. แผนกไฟฟ้า
: (3) ฝ่ายก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 2 แผนก คือ
::ก. แผนกสำรวจ
::ข. แผนกก่อสร้าง
:(4) ฝ่ายพัสดุ แบ่งออกเป็น 2 แผนก คือ
::ก. แผนกซื้อและรับของ
::ข. แผนกเก็บและจ่าย
:(5) แผนกแบบแผน แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ
::ก. หมวดออกแบบ
::ข. หมวดโรงพิมพ์
::ค. หมวดรักษากรรมสิทธิ์ที่ดิน
:(6) แผนกกลาง แบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ
::ก. หมวดอบรม
::ข. หมวดสารบรรณ
4. กองบัญชี แบ่งเป็นดั่งนี้
: (1) ฝ่ายรวบรวมบัญชี แบ่งเป็น 3 แผนก คือ
::ก. แผนกบัญชีทางเปิด
::ข. แผนกบัญชีพัสดุ
::ค. แผนกบัญชีก่อสร้าง
: (2) ฝ่ายคลังเงินและตั๋ว แบ่งเป็น 2 แผนก คือ
::ก. แผนกคลังเงิน
::ข. แผนกตั๋วโดยสาร
: (3) ฝ่ายตรวจบัญชี แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
::ก. แผนกตรวจบัญชีต่างประเทศ
::ข. แผนกตรวจบัญชีรายได้
::ค. แผนกตรวจบัญชีโดยสาร
::ง. แผนกตรวจบัญชีค่าระวาง
: (4) แผนกกลาง
 
'''ข. ราชการส่วนภูมิภาค'''
1. ราชการท้องถิ่นที่ขึ้นแก่กองเดินรถ คือ
: (ก) แผนกเดินรถพาณิชยการภาคกลาง แบ่งออกเป็น 3 แขวง คือ
::1. แขวงกรุงเทพ ฯ
::2. แขวงปราจีนบุรี
::3. แขวงเพชรบุรี
: (ข) แผนกเดินรถพาณิชยการภาคตะวันออก แบ่งออกเป็น 3 แขวง คือ
::1. แขวงโคราช
::2. แขวงลำชี
::3. แขวงขอนแก่น
: (ค) แผนกเดินรถพาณิชยการภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 3 แขวง คือ
::1. แขวงปากน้ำโพ
::2. แขวงอุตรดิตถ์
::3. แขวงนครลำปาง
: (ง) แผนกเดินรถพาณิชยการภาคใต้ แบ่งออกเป็น 3 แขวง คือ
::1. แขวงชุมพร
::2. แขวงทุ่งสง
::3. แขวงหาดใหญ่
2. ราชการท้องถิ่นที่ขึ้นแก่กองการช่าง คือ
: (ก) แผนกบำรุงทางสถานที่ภาคกลาง แบ่งเป็น 3 แขวง คือ
::1. แขวงกรุงเทพ ฯ
::2. แขวงปราจีนบุรี
::3. แขวงเพชรบุรี
: (ข) แผนกบำรุงทางสถานที่ภาคตะวันออก แบ่งเป็น 3 แขวง คือ
::1. แขวงโคราช
::2. แขวงลำชี
::3. แขวงแก่งคอย
: (ค) แผนกบำรุงทางสถานที่ภาคเหนือ แบ่งเป็น 3 แขวง คือ
::1. แขวงปากน้ำโพ
::2. แขวงลำปาง
::3. แขวงอุตรดิตถ์
: (ง) แผนกบำรุงทางสถานที่ภาคใต้ แบ่งเป็น 4 แขวง คือ
::1. แขวงชุมพร
::2. แขวงทุ่งสง
::3. แขวงหาดใหญ่
::4. แขวงยะลา
</blockquote>
 
ใน พ.ศ. 2484 การคมนาคมก็ได้ถูกปรับปรุงให้กลับมาเป็น[[กระทรวงคมนาคม]]ตามเดิม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2484 มีการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงคมนาคม ดังนี้<ref>[http://vigportal.mot.go.th/portal/site/PortalMOT/menuitem.b7ec08114af10482a88bc955506001ca/ ประวัติกระทรวงคมนาคม]</ref>
# สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
# สำนักงานปลัดกระทรวง
# กรมการขนส่ง (กองการบินพาณิชย์เดิม สังกัดกระทรวงเศรษฐการ)
# กรมเจ้าท่า (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)
# กรมไปรษณีย์โทรเลข (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)
# กรมทาง (เดิมเป็นกองทางสังกัด กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
# '''[[การรถไฟแห่งประเทศไทย|กรมรถไฟ]] (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)'''
 
=== การเปลี่ยนจากส่วนราชการเป็นรัฐวิสาหกิจ ===
ในสมัยรัฐบาลที่มีจอมพล[[ป. พิบูลสงคราม]]เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เลขที่ 40 หมวด ก ฉบับพิเศษ ลงในวันที่ [[30 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2494]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/040/4.PDF พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494]</ref> และให้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ [[1 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน ดังนั้น ''การรถไฟแห่งประเทศไทย'' จึงถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัด[[กระทรวงคมนาคม]] และให้มีการโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ต่างๆ รวมไปถึง[[ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์]] [[ลูกจ้าง]] และสายงานทั้งหมด ของ[[กรมรถไฟ]]ไปอยู่ในการดำเนินงานของ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมี[[จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์|'''พลโทจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์''']] (ยศขณะนั้น) เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก และเป็นอธิบดี[[กรมรถไฟ]]คนสุดท้าย
=== กรรมการชุดปัจจุบัน ===
* นาย จิรุตม์ วิศาลจิตร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
เส้น 237 ⟶ 127:
* นาย พินิจ พัวพันธ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
* นาง ศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
 
== เครื่องแบบ==
ได้มีการกำหนดลักษณะเครื่องแบบและสิ่งประกอบสำหรับเครื่องแบบของ'''ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ''' มาตั้งแต่ พ.ศ. 2482 โดยได้มีการออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 เรื่อยมา แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยของรัฐบาลที่เข้ามาบริหาร ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้
 
'''กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2491) (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ)''' ออกกฎโดยรัฐบาลของ'''นายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี'''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2491/A/003/16.PDF กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2491) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ)]</ref>
 
*ข้อ 1 เครื่องแบบสำหรับพนักงานกรมรถไฟ มี 2 ชนิด คือ
: ก. เครื่องแบบสีกากี
: ข. เครื่องแบบสีน้ำเงิน
*ข้อ ๒ เครื่องแบบสีกากี ประกอบด้วย
: (1) หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าสีดำ มีผ้าพันหมวกสีดำขนาดกว้าง 5 เซนติเมตรพันรอบหมวกสายรัดคางสีน้ำตาล มีดุมดำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่ติดข้างหมวกสำหรับติดสายรัดคางข้างละ 1 ดุม ที่หน้าหมวกติดรูปครุฑพ่าห์ หรือ หมวกกันแดดแบบราชการสีกากี มีสายรัดคางและหน้าหมวกเช่นเดียวกับหมวกทรงหม้อตาล แต่ให้มีขลิบสีดำ ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ไว้ตอนบนของผ้าพันหมวก
 
'''กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2494) (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ)''' ออกกฎโดยรัฐบาลของ'''[[จอมพล ป พิบูลสงคราม]]เป็นนายกรัฐมนตรี'''''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/017/331.PDF กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 44 ([[พ.ศ. 2494]]) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ)]</ref>
 
*ข้อ 3 เครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ มี 3 ชนิด คือ
 
: (1) เครื่องแบบขาว
: (2) เครื่องแบบกากี
: (3) เครื่องแบบน้ำเงิน
*ข้อ 4 เครื่องแบบขาว ประกอบด้วย
: (1) หมวกทรงหม้อตาลขาว กะบังหน้าหนังดำ มีผ้าพันหมวกดำทำด้วยสักหลาดขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร พันรอบหมวก สายรัดคางไหมสีทอง มีดุมดุนเป็นรูปรถจักรทำด้วยโลหะสีทอง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตรติดข้างหมวกสำหรับติดสายรัดคางข้างละ 1 ดุม มีหน้าหมวกทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปหน้าหม้อรถจักร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร มีลายกนกโดยรอบตามทางกว้าง 5 เซนติเมตร ตามทางสูง 6 เซนติเมตร ภายในวงกลมหน้าหม้อรถจักร มีอุนาโลมอยู่ภายใต้บัวกนก รอบวงกลมมีอักษรว่า "รัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ" ภายใต้มีสาบแดงหรือหมวกกันแดดแบบราชการขาว มีสายรัดคางและโลหะติดหน้าหมวกเช่นเดียวกับหมวกทรงหม้อตาล แต่ให้มีขลิบดำขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ไว้ตอนบนของผ้าพันหมวก
: (2) เสื้อเชิ้ตกากีแขนยาวไม่พับปลายแขนหรือแขนสั้นมีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อเช่นเดียวกับเครื่องแบบขาว มีกระเป๋าที่อกเสื้อข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกเป็นรูปมนชายกลางแหลม มีดุมโลหะตามข้อ 4 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร ที่ปากกระเป๋าข้างละ 1 ดุมที่อกเสื้อ 5 ดุมและที่ปลายแขนสำหรับเสื้อแขนยาวข้างละ 1 ดุม หรือเสื้อกากีคอปิดแบบคอเชิ้ต แขนยาวข้อมือรวบ ปล่อยเอว ผ่าอกตลอด สวมทับกางเกง มีดุมชนิดและขนาดเช่นเดียวกับเครื่องแบบขาวที่อกเสื้อ ๕ ดุม มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกเป็นกระเป๋าบนและล่างอย่างละ 2 กระเป๋า กระเป๋าบนมีใบปกรูปมนชายกลางแหลม มีแถบกว้าง 3.5 เซนติเมตรตรงกึ่งกลางกระเป๋าทางดิ่ง กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่าม มีใบปกรูปตัด ที่ปากกระเป๋าทั้ง 4 กระเป๋าและที่ปลายแขนเสื้อติดดุมขนาด 16 มิลลิเมตร ข้างละ 1 ดุม ที่เอวคาดเข็มขัดทำด้วยผ้าสีเดียวกับเสื้อขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร หัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้าสีเดียวกัน กับมีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อทั้ง 2 ข้าง สำหรับติดดุมและเครื่องหมายชั้นเช่นเดียวกับเครื่องแบบขาว
: (3) กางเกงกากีขายาวไม่พับปลายขา เมื่อใช้เสื้อเชิ้ตให้สวมทับเสื้อและคาดเข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้าง 3.5 เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ภายในวงกลมดุนเป็นรูปรถจักร และรอบวงกลมมีอักษรว่า "รัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ"
: (4) รองเท้าดำหรือสีน้ำตาล พร้อมด้วยถุงเท้าสีเดียวกัน
*ข้อ 6 เครื่องแบบน้ำเงิน ประกอบด้วยหมวก เสื้อและกางเกงเช่นเดียวกับเครื่องแบบกากีชนิดเสื้อเชิ้ต เว้นแต่เปลี่ยนสีจากกากีเป็นน้ำเงิน และ
: (1) หมวกให้ใช้แต่หมวกทรงหม้อตาล สายรัดคางดำ
: (2) เข็มขัดทำด้วยหนังดำ
: (3) รองเท้าให้ใช้ได้เฉพาะรองเท้าดำ
*ข้อ 7 ให้มีเครื่องหมายชั้นแสดงไว้บนอินทรธนูทั้ง 2 ข้าง ดั่งต่อไปนี้
: ชั้นจัตวา มีรูปล้อปีกทำด้วยโลหะสีทอง 1 อัน ติดทางด้านไหล่
: ชั้นตรี มีรูปล้อปีกเช่นเดียวกับชั้นจัตวา แต่มีโลหะสีทองทำเป็นรูปดอกจันสี่กลีบ ติดเรียงจากล้อปีก 1 อัน
: ชั้นโท เช่นเดียวกับชั้นตรี แต่เพิ่มดอกจันเป็น 2 ดอก ติดเรียงกันไปตามด้านยาวของอินทรธนู
: ชั้นเอก เช่นเดียวกับชั้นโท แต่เพิ่มดอกจันเป็น 3 ดอก ติดเรียงกันไป
: ชั้นพิเศษ ที่มิได้ดำรงตำแหน่งอธิบดี ที่ปรึกษา รองอธิบดี วิศวกรใหญ่ หรือผู้อำนวยการฝ่าย เช่นเดียวกับชั้นตรี แต่มีพระมหามงกุฎยอดมีรัศมี ทำด้วยโลหะสีทองอยู่เหนือดอกจัน
: ชั้นพิเศษ ที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รองอธิบดี วิศวกรใหญ่ และผู้อำนวยการฝ่าย เช่นเดียวกับชั้นโท แต่มีพระมหามงกุฎยอดมีรัศมี ทำด้วยโลหะสีทองอยู่เหนือดอกจัน
: ส่วนอธิบดี ให้เพิ่มดอกจันติดเรียงจากดอกจันใต้พระมหามงกุฎ 1 ดอก
*ข้อ 8 เครื่องหมายสังกัด สำหรับเครื่องแบบขาว ให้ติดที่คอเสื้อ สำหรับเครื่องแบบกากี และเครื่องแบบน้ำเงินให้ติดที่ปกคอเชิ้ตทั้ง 2 ข้าง โดยใช้โลหะทำเป็นรูปวงกลมขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3 เซนติเมตร มีฟันเฟืองรอบวงกลม ภายในวงกลมมีอักษรย่อแสดงฝ่ายที่สังกัด ดังนี้
: ฝ่ายธุรการ ใช้ ธ.ก.
: ฝ่ายการเดินรถ ใช้ ด.ร.
: ฝ่ายการบัญชี ใช้ บ.ช.
: ฝ่ายการช่างกล ใช้ ช.ก.
: ฝ่ายการช่างโยธา ใช้ ย.ธ.
*ข้อ 9 พนักงานฝ่ายการช่างกลขณะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเครื่องจักรเครื่องกล ให้ใช้เครื่องแบบน้ำเงินพนักงานฝ่ายอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ขณะทำการตามหน้าที่ให้ใช้เครื่องแบบกากี
*ข้อ 10 พนักงานขับรถ ให้มีอักษรย่อ "พ.ข.ร." ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 1.5 เซนติเมตรติดที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าด้านซ้าย
*ข้อ 11 พนักงานรักษารถ และพนักงานขบวนรถขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ให้ใช้เครื่องแบบกากีชนิดเสื้อเชิ้ตผ้าพันหมวกขาว และเฉพาะพนักงานรักษารถให้มีอักษรย่อ "พ.ร.ร."ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 1.5 เซนติเมตร ติดที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าด้านซ้าย
*ข้อ 12 นายสถานีหรือผู้ช่วยนายสถานีให้ใช้ผ้าพันหมวกแดง
 
== [[รายนามผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย|รายนามผู้บริหารสูงสุด]] ==
 
* [[รายชื่อผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย|รายนามเจ้ากรมรถไฟ]]
* [[รายชื่อผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย|รายพระนาม/รายนามผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง]]
* [[รายชื่อผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย|รายนามอธิบดีกรมรถไฟ]]
 
* [[รายนามผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย]]
 
== สมุดภาพ ==
<gallery>
</gallery>
== หน่วยงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ==
 
=== หน่วยงานส่วนกลาง ===