ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคร่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ข้อไขมูลตามปัจจุบัน
บรรทัด 253:
สถานภาพและจำนวนประชากรของเสือโคร่งอินโดจีนยังไม่เป็นที่รับรู้มากนัก เนื่องจากเขตกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางของมัน ซึ่งกินอาณาบริเวณตั้งแต่จีนตอนใต้ เวียดนาม กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ไทย และพม่าตะวันตก เสือโคร่งจำนวนไม่น้อยอยู่ตามเทือกเขาสลับซับซ้อนตามชายแดนระหว่างประเทศ ทำให้การเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปได้ยาก มีหลายแห่งที่นักชีววิทยาเพิ่งจะได้รับอนุญาตเข้าไปสำรวจเมื่อไม่นานมานี้เอง ตามข้อมูลของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเสือและแมว (Cat specialist Group) ของไอยูซีเอ็น ปัจจุบันมีเสือโคร่งพันธุ์อินโดจีนเหลืออยู่ในธรรมชาติทั้งสิ้นประมาณ 1,050-1,750 ตัว สวนสัตว์ในเอเชียและในอเมริกามีเสือพันธุ์นี้ประมาณ 60 ตัว
 
ราบิโนวิตช์ ได้สำรวจเสือโคร่งในป่าอนุรักษ์ในประเทศไทยระหว่างปี 2530-2534 และประเมินว่ามีจำนวนประมาณ 250 ตัว ซึ่งตัวเลขนี้แตกต่างอย่างมากจากตัวเลขของทางการไทยที่ระบุว่ามีประมาณ 450-600 ตัว ในการสำรวจปี 2538 ทางการจึงได้ประกาศว่าเหลืออยู่ 250 ตัวซึ่งใกล้เคียงกับยอดของราบิโนวิตช์ แม้จะมีแผนการอนุรักษ์ แต่จำนวนเสือไม่เพิ่มอย่างที่คาดการณ์ไว้
 
กรมสัตว์ป่าของกัมพูชามีศักยภาพต่ำมาก ประเทศไม่มีแม้แต่สวนสัตว์ มีการล่าเสือโคร่งอย่างหนัก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเสือและแมวประเมินว่าในประเทศกัมพูชามีเสือโคร่งอยู่ประมาณ 100-200 ตัว และกำลังลดจำนวนลงเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม การสำรวจสัตว์ป่าครั้งแรกของเสือโคร่งเมื่อปี 2543 ที่ผ่านมาพบว่าอาจมีเสือโคร่งและสัตว์ป่าอื่น ๆ ในกัมพูชามากกว่าที่เคยคาดคิดไว้ แต่ภายหลังปี 2550 ก็ไม่มีหลักฐานการพบเสือโคร่งเพิ่มอีก จนปี 2559 จึงยอมรับว่า เสือโคร่งสูญพันธ์ล<ref>https://mgronline.com/indochina/detail/9590000035497</ref>
บรรทัด 299:
ในประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่ปี 2519 กฎหมายของประเทศระบุให้เสือโคร่งเป็นสัตว์คุ้มครองอย่างเข้มงวดภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า ในปีนั้น กรมสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติประเมินว่ายังมีเสือโคร่งอยู่ในประเทศประมาณ 300 ตัว มาเลเซียประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการควบคุมและลดปริมาณการล่าสัตว์ ในช่วงปี 2515-2519 มีการล่าเสือโคร่งถึง 19 ตัวต่อปีโดยเฉลี่ย แต่ในปัจจุบันเหลือประมาณ 1 ตัวต่อปีเท่านั้น และประชากรเสือโคร่งได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน (2550) ประเมินว่ามีเสือโคร่งพันธุ์มลายูตัวเต็มวัยอยู่ประมาณ 490 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ใน กลันตัน ตรังกานู เปรัก และปะหัง พื้นที่ป่าเหล่านี้มักจะเป็นป่าผืนเล็ก ๆ และแต่ละแห่งมีประชากรเสือโคร่งไม่มาก เสือโคร่งพันธุ์มลายู่ชอบอยู่ตามป่าเต็งรังที่ต่ำ แต่ก็พบในป่าพรุด้วย
 
จนการสำรวจล่าสุดในช่วง พศ.2560-2561 กลับพบข้อเท็จจริงว่า เสือโคร่งมลายูมีจำนวนลดลงอย่างมาก ทั้งจากการลักลอบล่า และ เสียพื้นที่หากิน จนทำให้จำนวนพวกมันน้อยกว่าที่เคยประเมิน อาจจะเหลือเพียงไม่ถึง 150-200 ตัว<ref>https://www.iucnredlist.org/species/136893/50665029</ref><ref>https://www.nst.com.my/news/nation/2019/08/509651/malayan-tiger-teetering-brink-extinction-23-left-belum-temenggor-forest</ref>
 
<br />