ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชกฤษฎีกาน็องต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Edit de Nantes Avril 1598.jpg|thumb|upright=1.5|พระราชกฤษฎีกานองซ์น็องต์เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1598]]
 
'''พระราชกฤษฎีกานองซ์น็องต์''' ({{lang-fr|Édit de Nantes}}; {{lang-en|Edict of Nantes}}) เป็นพระราชกฤษฎีกาที่[[พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส]] ทรงตราขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1598 เพื่อให้ชาว[[โปรเตสแตนต์]][[ลัทธิคาลวิน|แบบคาลวิน]] (หรือที่เรียก [[อูเกอโนต์อูว์เกอโน]]) มีสิทธิสำคัญบางประการในประเทศที่โดยเนื้อแท้แล้วยังถือเป็น[[นิกายโรมันคาทอลิก|คาทอลิก]]อยู่ ในพระราชกฤษฎีกานี้ พระเจ้าอ็องรีมีพระราชประสงค์เบื้องต้นที่จะทรงส่งเสริมความสามัคคีของชนในชาติ<ref>In 1898 the tricentennial celebrated the Edict as the foundation of the coming Age of Toleration; the 1998 anniversary, by contrast, was commemorated with a book of essays under the evocatively ambivalent title, ''Coexister dans l'intolérance'' (Michel Grandjean and Bernard Roussel, editors, Geneva, 1998).</ref> โดยพระราชกฤษฎีกาได้แยกฝ่ายอาณาจักรออกจากศาสนจักร และให้ปฏิบัติกับชาวโปรเตสแตนต์อย่างมีสถานะมากกว่าพวก[[Schism (religion)|เดียรถีย์]]และ[[Heresy|มิจฉาทิฐิ]]เป็นครั้งแรก กับทั้งส่งเสริมให้ลัทธิ[[ฆราวาสนิยม]]มีที่ในสังคมและส่งเสริมความอดทนอดกลั้นมากขึ้น และเพื่อให้ประชาชนมี[[เสรีภาพในการคิด]] พระราชกฤษฎีกาจึงมีการผ่อนปรนหลายประการต่อชาวโปรเตสแตนต์ เป็นต้นว่า ประทานอภัยโทษ และคืน[[สิทธิพลเมือง]]ให้ ซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะทำงานในที่ดินใด ๆ หรือที่จะทำงานราชการ ตลอดทั้งสิทธิที่จะถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง เป็นเหตุให้สิ้น[[สงครามศาสนาของฝรั่งเศส|สงครามศาสนา]]ที่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศฝรั่งเศสมาตลอดช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16
 
อย่างไรก็ดี [[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 14]] พระราชนัดดาพระเจ้าอ็องรีที่ 4 ได้ทรงยกเลิกพระราชกฤษฎีกานองซ์น็องต์เสียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1685 ส่งผลให้ชาวโปรเตสแตนต์ต้องอพยพลี้ภัย และทวีความเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศโปรเตสแตนต์ทั้งหลายที่อยู่รายรอบฝรั่งเศสด้วย
 
== อ้างอิง ==