ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กำแพงเบอร์ลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ธนบดั เมืองโคตร (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มแม่แบบ ลิงก์ เว็บไซต์ให้ผู้คนหาข้อมูลง่ายขึ้น
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 1:
ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก https://www.bbc.com/thai/international-50349549[[ไฟล์:Berlinermauer.jpg|thumb|250px|กำแพงเบอร์ลิน ภาพถ่ายจากฝั่งเบอร์ลินตะวันตก เมื่อปี [[พ.ศ. 2529]]]]
'''''กำแพงเบอร์ลิน''''' ({{lang-en|Berlin Wall}}; {{lang-de|Berliner Mauer}}) เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงสงครามเย็น มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนระหว่าง[[เบอร์ลินตะวันตก]]ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[เยอรมนีตะวันตก]] กับ[[ประเทศเยอรมนีตะวันออก|เยอรมนีตะวันออก]]ที่โอบอยู่โดยรอบ มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ [[13 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2504]] (ค.ศ. 1961) และปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนถูกทลายในวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2532]]
 
ในเยอรมนีตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม มันถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "แนวป้องกันการต่อต้านฟาสซิตส์" แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า [[สงครามเย็น]] นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ
 
นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมนีตะวันออก ไปยังเยอรมนีตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตที่กำแพงเบอร์ลินขณะหลบหนีระหว่าง 137 ถึง 206 คน<ref>เป็นการศึกษาในปี ค.ศ. 1990 จาก [[Berliner Illustrirte Zeitung]] vom 3. Oktober 1990 (Sonderausgabe), S. 113</ref>
 
{{กำเนิดกำแพงเบอร์ลิน}}
 
== ก่อนกำแพงก่อตัว ==
เส้น 45 ⟶ 47:
มีบางแหล่งข้อมูลอ้างว่า ในวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2532]] นาย [[กึนเทอร์ ชาบ็อฟสกี]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Minister of Propaganda) ของเยอรมนีตะวันออกได้แถลงข่าว (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเขาเอง) ว่าทางการจะอนุญาตให้ชาวเบอร์ลินตะวันออก ผ่านเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง ทันใดนั้นเอง ผู้คนนับหมื่นที่ได้ทราบข่าวก็ได้หลั่งไหลไปยังด่านต่าง ๆ ของกำแพง. หลังจากความโกลาหลอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับคำสั่งใด ๆ จากทางการ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องยอมปล่อยให้ฝูงชนผ่านเขตแดนไปอย่างไม่มีทางเลือก ชาวเบอร์ลินตะวันตกออกมาต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก บรรยากาศในเช้ามืดวันนั้นเหมือนงานเฉลิมฉลอง
 
ตั้งแต่วันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2532]] กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทำลายบางส่วนโดยชาวเยอรมัน และชาวยุโรป แต่การทำลายกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นทางการ เริ่มเมื่อวันที่ [[13 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2533]] แต่กระนั้นยังคงอนุรักษ์กำแพงบางช่วงไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ นอกจากนี้ ยังมีการประมูลจำหน่ายชิ้นส่วนกำแพงเบอร์ลิน และได้มีการมอบชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลินไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่สำคัญ ๆ อีกหลายแห่ง อาทิ ด้านหน้าสภายุโรป ณ [[บรัสเซลส์|กรุงบรัสเซลส์]] [[ประเทศเบลเยียม]] พิพิธภัณฑ์นิวเซียม กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอมริกา พิพิธภัณฑ์จอห์น เอฟ เคนเนดี และพิพิธภัณฑ์โรแนล เรแกน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
 
== อ้างอิง ==