ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กำแพงเบอร์ลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขคำผิดเล็กน้อย
ธนบดั เมืองโคตร (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37:
ในการลอบข้ามกำแพง เป็นความเสี่ยงที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต ด้วยรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกมีกฎที่ว่าผู้หลบหนีจะถูกยิงทิ้งทันทีที่พบเห็น จำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจากการลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินนั้นยังไม่แน่ชัดนัก บางแหล่งระบุว่ามี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ขณะที่บางแหล่งข้อมูลกลับมีตัวเลขผู้เสียชีวิตเพียง 136 คน<ref>http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/8349742.stm</ref> บางแหล่งข้อมูลกับมีตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงถึง 246 คน<ref name="http://www.newseum.org/cybernewseum/exhibits/berlin_wall/index.htm">http://www.newseum.org/cybernewseum/exhibits/berlin_wall/index.htm</ref> และในวิกีพีเดียภาษาอังกฤษได้ระบุตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ 100 - 200 คน เหตุที่เป็นดังนี้ เนื่องจากทางรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกไม่ได้ทำรายงานเรื่องนี้ และเมื่อมีผู้เสียชีวิตในการลอบข้ามกำแพง ทางการก็ไม่ได้แจ้งข่าวแก่ครอบครัวอีกด้วย
 
เหตุการณ์เสียชีวิต ณ กำแพงเบอร์ลิน ครั้งที่โด่งดังที่สุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2505]] (ค.ศ. 1962) เมื่อนาย[[ปีเตอร์ เฟตช์เตอร์]] (Peter Fechter)เด็กหนุ่มที่ลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินถูกยิง และปล่อยให้เลือดไหลจนตายต่อหน้าสื่อมวลชนตะวันตก เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการต่อต้านกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวัน ผู้หลบหนีรายสุดท้ายที่ถูกยิงตายคือนาย Chris Gueffroy เมื่อวันที่ [[6 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2532]] (ค.ศ. 1989)
 
== การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ==
บรรทัด 43:
ในปี [[ค.ศ. 1989]] ตรงกับยุคที่ นาย[[มีฮาอิล กอร์บาชอฟ]] เป็นประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต ได้มีการทดลองการปฏิรูปการปกครองไปสู่ระบอบ[[ประชาธิปไตย]] ใน[[เยอรมนีตะวันออก]] [[การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก|ได้มีการชุมนุมประท้วงใหญ่อย่างสงบขึ้นโดยเฉพาะในเมือง โพสต์ดัม ไลพ์ซิจ และเดรสเดน]] เริ่มต้นในวันที่ [[8 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 1989]] และดำเนินเรื่อยมา เป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้รับความกดดันเป็นอย่างมาก กระทั่งได้มีการประกาศว่า จะเปิดพรมแดนให้ชาวเยอรมันสามารถเดินทางผ่านแดนได้อย่างอิสระ ในวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2532]] ([[ค.ศ. 1989]]) ในวันดังกล่าวชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากได้มารวมตัวกัน ณ กำแพงเบอร์ลิน เพื่อข้ามผ่านแดนไปยัง[[เบอร์ลิน]]ตะวันตกครั้งแรกในรอบ 28 ปี จึงถือเอาวันดังกล่าว เป็นวันล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
 
มีบางแหล่งข้อมูลอ้างว่า ในวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2532]] นาย Günter[[กึนเทอร์ Schabowskiชาบ็อฟสกี]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Minister of Propaganda) ของเยอรมนีตะวันออกได้แถลงข่าว (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเขาเอง) ว่าทางการจะอนุญาตให้ชาวเบอร์ลินตะวันออก ผ่านเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง ทันใดนั้นเอง ผู้คนนับหมื่นที่ได้ทราบข่าวก็ได้หลั่งไหลไปยังด่านต่าง ๆ ของกำแพง. หลังจากความโกลาหลอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับคำสั่งใด ๆ จากทางการ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องยอมปล่อยให้ฝูงชนผ่านเขตแดนไปอย่างไม่มีทางเลือก ชาวเบอร์ลินตะวันตกออกมาต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก บรรยากาศในเช้ามืดวันนั้นเหมือนงานเฉลิมฉลอง
 
ตั้งแต่วันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2532]] กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทำลายบางส่วนโดยชาวเยอรมัน และชาวยุโรป แต่การทำลายกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นทางการ เริ่มเมื่อวันที่ [[13 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2533]] แต่กระนั้นยังคงอนุรักษ์กำแพงบางช่วงไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ นอกจากนี้ ยังมีการประมูลจำหน่ายชิ้นส่วนกำแพงเบอร์ลิน และได้มีการมอบชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลินไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่สำคัญ ๆ อีกหลายแห่ง อาทิ ด้านหน้าสภายุโรป ณ [[บรัสเซลส์|กรุงบรัสเซลส์]] [[ประเทศเบลเยียม]] พิพิธภัณฑ์นิวเซียม กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอมริกา พิพิธภัณฑ์จอห์น เอฟ เคนเนดี และพิพิธภัณฑ์โรแนล เรแกน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น