ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทหารพราน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
RANGER956 (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติการจัดตั้งหน่วยทหารพราน
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 28:
 
== ประวัติ ==
นับตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย   ได้เปิดฉากทำสงครามการเมือง   โดยเปิดเผยตั้งแต่  พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นต้นมา ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับและ ได้ขยายอิทธิพลไปทั่วประเทศ  รัฐบาลได้ทุ่มเทใช้กำลังทุกประเภท รวมทั้งกำลังทหารเข้าปราบปราม เป็นระยะเวลา ๑๐ ปีเศษ ก็ไม่สามารถทำลายกองกำลังของฝ่ายผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ลงได้
หน่วยทหารพรานจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ตามแนวคิดที่กำหนดไว้ว่า ทหารพราน คือ อาสาของประชาชน หรือเรียกว่านักรบประชาชน มีวัตถุประสงค์จัดตั้งเพื่อต่อสู้กับกองโจร[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] และขับไล่กองโจรลงจากที่มั่นบนภูเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<ref>Ball D. ''The Boys in Black: The Thahan Phran (Rangers), Thailand's Para-Military Border Guards.'' Bangkok, Thailand: White Lotus Press, 2004, 2007, p. 5.</ref> เป็นแนวคิดของพลเอก[[ชวลิต ยงใจยุทธ]] ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกที่[[กองบัญชาการกองทัพไทย]]ในกรุงเทพมหานคร หน่วยทหารพรานประกอบด้วยทหารใหม่จากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อการกำเริบของคอมมิวนิสต์ ทหารใหม่นั้นจะเข้ารับการฝึกเข้มข้น 45 วัน ได้รับแจกอาวุธสมัยใหม่ และถูกส่งกลับไปยังหมู่บ้านของตนเพื่อดำเนินปฏิบัติการกองโจรต่อคอมมิวนิสต์<ref>Phan Suksan (pseudonym), "''Thahan Phran'': The Thai Army's Combat and Development Force," ''Sena Son Thet'' [Army Information], vol. 33, no. 10, July 1995, p. 12.</ref>
 
รัฐบาลโดย ทบ. ได้วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติในขณะนั้นเป็นการปฏิบัติในลักษณะการทหารนำการเมืองเป็นการนำกำลังรบหลักปราบปรามกำลังจรยุทธ์ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรประกอบกับในขณะนั้นภัยคุกคามจากภายนอกประเทศทางด้านกัมพูชาพื้นที่รอยต่อ  ทภ.๑ กับ ทภ.๒  มีสถานการณ์ไม่เป็นที่ไว้วางใจ    ทบ.  มีความจำเป็นต้องถอนกำลังรบหลักในการปราบปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้านกัมพูชากลับมาฝึกฟื้นฟูเพื่อเตรียมป้องกันประเทศตามแนวชายแดนด้านกัมพูชา ทำให้ขาดแคลนกำลังในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในด้านนี้ ทบ.จึงได้จัดทำโครงการหน่วยรบนอกแบบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาข โดยจัดเป็นกำลังกึ่งทหารในลักษณะหน่วยอาสาสมัครพิเศษ  ภายใต้ชื่อรหัสโครงการว่า “โครงการ ๕๑๓” และได้เสนอขออนุมัติจัดตั้งไปยังหน่วยเหนือตามลำดับ โดยสุดท้ายคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการตามโครงการ ๕๑๓  เมื่อ ๑๘ ก.ค. ๒๑ ซึ่งต่อมาในปี ๒๕๒๖ ทบ.  ได้อนุมัติให้วันที่ ๑๘ ก.ค. เป็นวันสถาปนาหน่วยทหารพราน
หน่วยทหารพรานดำเนินหลายปฏิบัติการต่อ[[ขุนส่า]]ใน[[สามเหลี่ยมทองคำ]]<ref>[http://books.google.com/books?id=Kt4YTyzYFtkC&printsec=frontcover&dq=South-East+Asian+Special+Forces&cd=1#v=onepage&q&f=false Conboy Kenneth, ''South-East Asian Special Forces,'' Osprey Publishing, 1991, p. 49.]</ref> และยังมีส่วนในการปฏิบัติความมั่นคงระหว่างการเผชิญหน้ากันที่ปราสาทพระวิหารใน พ.ศ. 2551 และ 2552<ref>[http://enews.mcot.net/view.php?id=13875 "Thai Army Rangers clash with Cambodian troops near Preah Vihear temple," Jan 24, 2010.]</ref>
 
โครงการ ๕๑๓ เป็นหน่วยรบนอกแบบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา เดิมมี ๑๒ ชุดควบคุม  กำลังพล  ๑,๐๐๘ นาย ( กพ.ประจำการ ๔๘  นาย กพ.อส.ทพ. ๙๖๐ นาย )  และเมื่อ ๑๙ ก.ค.๒๒  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งเพิ่มอีก ๒๑  ชุดควบคุม รวมเป็น ๓๓  ชุดควบคุม และเปลี่ยนนามหน่วยจากชุดควบคุมมาเป็นกองร้อย จากผลการปฏิบัติของหน่วยทหารพรานนั้นได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถลดอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้เป็นอย่างดี  ทบ. จึงได้จัดตั้งกองร้อยทหารพรานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกพื้นที่ โดยให้อยู่ในความควบคุมดูแลของ ศปก. ทบ. หมายเลขต่างๆคือ
 
                              - ศปก.ทบ. ๓๐๙ รับผิดชอบพื้นที่ ทภ.๓ และอีสานตอนบน
 
                              - ศปก.ทบ. ๓๑๑ รับผิดชอบพื้นที่ ภาคใต้
 
                               - ศปก.ทบ. ๓๑๕ รับผิดชอบพื้นที่ ทภ.๑ และอีสานตอนใต้
 
                ในปลายปี ๒๕๒๓ ทบ. อนุมัติให้ ศปก.ทบ.  หมายเลขต่างๆ โอนความรับผิดชอบหน่วยทหารพรานให้กับ  ทภ. ต่างๆ ในเขตพื้นที่โดยเรียกว่า ฉก.อส.ทพ.ทภ. และยังคงกำลังบางส่วนไว้กับ ศปก.ทบ. ๓๑๕ โดยให้อยู่ในความควบคุมของชุดควบคุมและประสานงานโครงการ ๕๑๓  “ชค. ๕๑๓ ค่ายปักธงชัย”
 
ในปี ๒๕๒๔ (๙ มิ.ย. ๒๔) ทบ. ได้อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยรับผิดชอบทหารพราน ทบ. ขึ้นเรียกว่า ฉก.อส.ทพ.ทบ. โดยใช้ อฉก.ทพ.ทภ. เป็นแนวทาง มีที่ตั้งหน่วยอยู่ที่ ศปก.ทบ. สวนรื่นฤดี โดยมี จก.ยก.ทบ. เป็นนายทหารโครงการโดยตำแหน่ง เมื่อ  ๘ ก.ค. ๒๕ เปลี่ยนแปลงสายการบังคับบัญชาจากขึ้นตรง ยก.ทบ. มาเป็นหน่วยงานหนึ่งใน ศปก.ทบ.  และเมื่อ  ๑๘ ก.ค.๒๗ ทบ. ได้ออกคำสั่งแก้ไขนามหน่วยของ ฉก.อส.ทพ.ทภ. และ ฉก.อส.ทพ.ทบ. เป็น กกล.ทพ.ทภ. และ กกล.ทพ.ทบ. โดย กกล.ทพ.ทบ. ยังคงตั้งอยู่ใน ศปก.ทบ. สวนรื่นฤดี
 
หน่วยทหารพรานที่จัดตั้ง ตั้งแต่ ปี ๒๕๒๑ – ๒๕๒๖ รวมทั้งสิ้น ๑๙๙ กองร้อย ทพ. ๒๗ กรม ทพ. จำนวนกองร้อย ในแต่ละ ทภ. ดังนี้
 
                               - ทภ.๑              จำนวน   ๒๘      กองร้อย
 
                               - ทภ.๒             จำนวน   ๕๒       กองร้อย
 
                               - ทภ.๓             จำนวน   ๕๓       กองร้อย
 
                                - ทภ.๔             จำนวน   ๓๔       กองร้อย
 
                                - ชค.๕๑๓         จำนวน  ๓๒        กองร้อย
 
                 ๑ ต.ค. ๓๖ ตามแผนพัฒนากองทัพ ปี ๒๕๓๕ – ๒๕๓๙ ทบ. ได้อนุมัติให้ปรับลดกำลังทหารพราน ลง ๕๐ %
 
คงเหลือ ๑๑๑ กองร้อย ทพ. ๑๗ กรม ทพ. และให้ปรับรวมหน่วย กกล.ทพ.ทบ. กับ ชค.๕๑๓ ค่ายปักธงชัย เข้าเป็นหน่วยเดียวกันเรียกว่า กกล.ทพ.ทบ. ค่ายปักธงชัย ปฏิบัติงานตามโครงการ ๕๑๓ ภายใต้การกำกับดูแลของ ศปก.ทบ. ๓๑๕  ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๓๖
 
                ค่ายปักธงชัยกำเนิดเมื่อ ๑๕ พ.ย. ๒๒ โดย ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกได้กรุณาตั้งชื่อค่ายและเดินทางมาเปิดด้วยตนเอง ขณะนั้นมีหน่วยงาน ๒ หน่วยงาน คือ ชุดควบคุมและประสานงานโครงการ ๕๑๓  ( ชค.๕๑๓ ) และที่บังคับการทางยุทธวิธีร่วม ๑๒ (ทกย.ร่วม๑๒)
 
ค่ายปักธงชัย เป็นแหล่งผลิตอาสาสมัครทหารพรานโดยตรงของกองทัพบก แรกเริ่มได้ทำการฝึกจัดตั้งอาสาสมัครทหารพรานที่ ค่ายฝึกรบพิเศษที่ ๙ บ.หนองตะกู ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน ๒๓ กองร้อย หลังจากนั้นค่ายปักธงชัยจึงได้ดำเนินการฝึกจัดตั้งเองโดยตลอด พื้นที่เดิมค่ายปักธงชัยนั้นเป็นสนามยิงปืนใหญ่ของ มทบ.๓ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ ๒๓ ก.ค. ๒๒ และสร้างแล้วเสร็จเมื่อ ๑๐ พ.ย. ๒๒ กระทำพิธีเปิดเมื่อ ๑๕ พ.ย. ๒๒  ต่อมาเมื่อ ๓๐ ก.ย. ๔๓ ทบ. ได้อนุมัติให้ กกล.ทพ.ทบ. ค่ายปักธงชัย ปิดการบรรจุหน่วย โดยปรับโอนกำลังพลทั้งหมดให้กับ ทภ. ต่างๆ
 
             
 
<br />
 
== ข้อโต้เถียง ==