ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พันธะโคเวเลนต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Covalent_bond_fluorine.svg|280px|right|thumb|ในโมเลกุลของ[[ฟลูออรีน]] อะตอมของธาตุ[[ฟลูออรีน]]สองอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์กัน]]
 
'''พันธะโคเวเลนต์''' ({{lang-en|Covalent bond}}) คือ[[พันธะเคมี]] ภายใน[[โมเลกุล]]ลักษณะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์เกิดจาก[[อะตอม]]สองอะตอมใช้[[เวเลนซ์อิเล็กตรอน]]หนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น [[อะตอม]]มักสร้างพันธะโคเวเลนต์เพื่อเติมวงโคจร[[อิเล็กตรอน]]รอบนอกสุดให้เต็ม ดังนั้น อะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์จึงมักมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโคเวเลนต์แข็งแรงกว่า[[พันธะไฮโดรเจน]]และมีความแข็งแรงพอ ๆ กับ[[พันธะไอออนิก]]
 
พันธะโคเวเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่าง[[อะตอม]]ที่มีค่า[[อิเล็กโตรเนกาทิวิตี]]ใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้าง[[พันธะโลหะ]] เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้าย ๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโคเวเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งใน[[การเร่งปฏิกิริยา]] ตัวอย่างเช่น พันธะโคเวเลนต์ระหว่าง[[สารประกอบอินทรีย์|สารอินทรีย์]]กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้าง[[พอลิเมอร์]]หลายๆ กระบวนการ เป็นต้น(cr.ดร.วัชราฃรณ์ ลาบา)
 
อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นจะพบว่า พันธะโคเวเลนต์ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นระหว่างธาตุโลหะกับอโลหะเท่านั้น
 
==นิยามโดย IUPAC==
 
"บริเวณที่มี[[ความหนาแน่น]]สัมพัทธ์ของ[[อิเล็กตรอน]]สูงระหว่าง[[นิวเคลียส]] ที่มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันและก่อให้เกิดแรงดึงดูดและระยะทางระหว่างนิวเคลียสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ"
 
==คุณสมบัติทางกายภาพของสารประกอบโคเวเลนต์==