ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาลเงา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6054676 สร้างโดย 1.47.203.45 (พูดคุย)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
== รัฐบาลเงาในประเทศต่าง ๆ ==
ใน[[อังกฤษ]]และ[[แคนาดา]] พรรคฝ่ายค้านหลัก โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีเงา จะเรียกว่าเป็น ''ฝ่ายค้านผู้จงรักภักดีในสมเด็จพระราชินีสมเด็จฯ'' (Her Majesty's Loyal Opposition) เหตุที่ใช้คำว่า ''ผู้จงรักภักดี'' นั้นเนื่องจากถึงแม้บทบาทของฝ่ายค้านคือการติติงคัดค้าน ''[[รัฐบาลสหราชอาณาจักร|รัฐบาลในสมเด็จพระราชินีสมเด็จฯ]]'' (Her Majesty's Government) แต่ฝ่ายค้านไม่ปฏิเสธสิทธิ์ของสมเด็จพระราชินีในราชบัลลังก์ ดังนั้นฝ่ายค้านจึงไม่ปฏิเสธความชอบธรรมของรัฐบาลในสมเด็จพระราชินี อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศที่ใช้ระบบเวสต์มินสเตอร์ เช่น [[ออสเตรเลีย]] และ[[นิวซีแลนด์]] จะเรียกฝ่ายค้านเพียงว่า ''ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร'' โดยละเว้นการกล่าวถึงสมเด็จพระราชินีสมเด็จฯ พรรคการเมืองในระบอบรัฐสภาบางพรรค เช่น [[พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)|พรรคแรงงานของอังกฤษ]] และ[[พรรคแรงงานออสเตรเลีย]]จะมีการออกเสียงเลือกรัฐมนตรีเงาโดยการหย่อนบัตรคะแนนเลือกผู้สมควรเป็นรัฐมนตรีเงา จากนั้นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านจะเป็นผู้กำหนดขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีเงาที่ได้รับเลือก แต่สำหรับพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภาในประเทศอื่นนอกเหนือจากนี้ให้อำนาจสิทธิ์ขาดแก่หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านเป็นผู้เจาะจงเลือกแต่ผู้เดียวก็มี
 
ประเทศที่มีระบบรัฐบาลเงามีทั้งประเทศใน[[เครือจักรภพ]]ที่ใช้การเมืองระบบเวสต์มินสเตอร์ เช่น ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ [[อินเดีย]] [[จาเมกา]] [[มาเลเซีย]] [[สิงคโปร์]] และ[[มอลตา]] ประเทศที่ใช้[[กึ่งประธานาธิบดี|ระบอบกึ่งประธานาธิบดี]] เช่น [[ฝรั่งเศส]] ประเทศที่เปลี่ยนมาใช้การปกครองแบบรัฐสภา เช่น [[ญี่ปุ่น]] รวมทั้งประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่ เช่น [[โปแลนด์]] [[ยูเครน]] [[คอซอวอ]] เป็นต้น