ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชีวิตอารามวาสี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
== ชีวิตอารามวาสีแบบพุทธศาสนา ==
{{Main|อรัญวาสี|วิปัสสนาธุระ}}
คณะสงฆ์คือคณะ[[นักพรต]]ที่เป็นพระ[[ภิกษุ]]และ[[ภิกษุณี]]ที่พระพุทธเจ้าทรงก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว แนววิถีแบบ[[อรัญวาสี]]นี้ได้พัฒนามากจากลัทธิของดาบสที่แพร่หลายอยู่ก่อนซึ่งพระพุทธเจ้าได้เคยศึกษามาตั้งแต่ก่อน[[ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา|บำเพ็ญทุกรกิริยา]] (คือเมื่อศึกษาในสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส) ในช่วงแรกพระสงฆ์มักใช้ชีวิตอย่าง[[ฤๅษี]]หรืออาศัยอยู่โดดเดี่ยวเป็นปกติ ถือครองทรัพย์สินน้อยที่สุดคือเพียงเครื่อง[[อัฐบริขาร]]และยังชีพด้วยปัจจัยที่ชาวบ้านถวายให้<ref name="bhikku">[http://en.dhammadana.org/sangha/monks.htm What is a bhikkhu?]</ref> ลูกศิษย์ที่เป็นฆราวาสก็ต้องจัดหาภัตตาหารในแต่ละวันและกุฏิง่ายๆง่าย ๆ ให้ท่านเมื่อท่านต้องการ<ref name="bhikku"/>
 
[[Image:Young monks of Drepung.jpg|thumb|300px|ภิกษุในธิเบต]]
บรรทัด 19:
คณะสงฆ์ประกอบด้วยภิกษุบริษัทและภิกษุณีบริษัท โดยในระยะแรกยังมีเฉพาะภิกษุเท่านั้น ภิกษุณีเกิดภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าประทานพระอนุญาตให้[[พระนางปชาบดีโคตมี]]และเจ้าหญิงศากยะอื่นรับอุปสมบทได้
 
ทั้งภิกษุและภิกษุณีต้องรับบทบาทหลายอย่าง ประการแรกและสำคัญที่สุดคือการรักษาพระธรรมวินัย (ปัจจุบันเรียกว่าพระพุทธศาสนา) ต้องเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตให้แก่ฆราวาส และเป็น "นาบุญ" เพื่อให้เหล่าอุบาสกและอุบาสิกาในศาสนาได้มีโอกาสทำบุญ ในทางกลับกันเพื่อประโยชน์ของฆราวาส พระสงฆ์ต้องถือวัตรเคร่งครัดในการศึกษาพระธรรม เจริญ[[สมาธิ]] และรักษาสุจริตธรรม<ref name="bhikku"/>
 
ก่อนบวชเป็นภิกษุ (ภาษาบาลีเรียกว่าภิกขุ) กุลบุตรต้องได้บวชเป็น[[สามเณร]]มาก่อน ซึ่งส่วนมากสามเณรจะบรรพชากันตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ตามปกติก็จะไม่น้อยกว่าอายุ 8 ปี สามเณรต้องรักษาศีล 10 ข้อ ส่วนการอุปสมบทซึ่งใช้เรียกการบวชเป็นภิกษุจะทำได้เมื่ออายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป กรณีภิกษุณีก็มีขั้นตอนอย่างเดียวกันแต่จะต้องใช้เวลาเป็นสามเณรีนานถึง 5 ปี.
 
สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีจะเน้นให้ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สละทางโลกหรือเป็น[[พรตนิยม]] โดยเฉพาะการเว้นจากเพศสัมพันธ์ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของพระวินัย