ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติแม่ยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Preechajaihan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
[[กรมป่าไม้]]ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 23 มกราคม 2527 โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่ปุง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติแม่ยม” โดยกำหนดพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ปุง ป่าแม่เป้าและป่าแม่สอง ในท้องที่ตำบลเตาปูน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2529 เป็น[[อุทยานแห่งชาติ]]ลำดับที่ 51 ของประเทศ<ref>[http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=138&lg=1 อุทยานแห่งชาติแม่ยม]</ref>
 
==ลักษณะภูมิอากาศ==
ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่ยม อยู่ในลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส
*[[ฤดูฝน]] จะได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มพัดผ่านระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ทำให้ฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,095 มิลลิเมตรต่อปี
*[[ฤดูหนาว]] จะได้รับอิทธิพลลมมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มพัดผ่านตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ โดยนำอากาศหนาวและแห้งแล้งจากประเทศจีนมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในเดือนมกราคมประมาณ 14 องศาเซลเซียส
*[[ฤดูร้อน]] อากาศจะร้อนแห้งแล้งเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนเมษายน 33 องศาเซลเซียส
 
==พืชพรรณและสัตว์ป่า==
สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยชนิดป่าชนิดต่างๆ ได้แก่
*ป่าเบญจพรรณ พบทั่วไปในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยเฉพาะตั้งแต่บริเวณเหนือเขื่อนขึ้นไปทางทิศตะวันตกของลำน้ำยม ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ [[สัก [[มะค่าโมง]] [[แดง (พรรณไม้)|แดง]] [[ประดู่]] ตะแบก ฯลฯ
*ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ และกระจายเป็นหย่อมๆ ในบริเวณดินที่มีความแห้งแล้ง เป็นดินลูกรัง ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง พลวง รัก มะเกิ้ม ชิงชัน ฯลฯ
*ป่าดิบแล้ง ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติและตามบริเวณริมห้วยที่สำคัญ มีความเขียวชอุ่มตลอดปี พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง กระบาก มะหาด ยาง ยมหอม ก่อ ฯลฯ
 
'''สัตว์ป่า'' ที่สำรวจพบในอุทยานแห่งชาติแม่ยม มีดังนี้
*[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]] พบจำนวน 39 ชนิด สัตว์ป่าชนิดอื่นที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ เก้ง หมีควาย หมูป่า กระต่ายป่า นางอาย เม่นหางพวง นากเล็กเล็บสั้น อ้นเล็ก กระเล็นขนปลายหูสั้น ค้างคาวขอบหูขาวกลาง ค้างคาวมงกุฎมลายู หนูท้องขาว เป็นต้น
*[[สัตว์ปีก]] จำพวกนก พบจำนวน 135 ชนิด เช่น ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกหกเล็กปากแดง นกกะปูดใหญ่ นกเค้าโมง นกตบยุงหางยาว นกตะขาบทุ่ง นกตั้งล้อ นกโพระดกคอสีฟ้า นกหัวขวานด่างแคระ นกแอ่นตะโพกขาวหางแฉก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกกินแมลงอกเหลือง นกพงคิ้วดำ นกเด้าลมหลังเทา นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกจับแมลงหัวเทา นกกินปลีอกเหลือง เป็นต้น
*[[สัตว์เลื้อยคลาน]] พบจำนวน 28 ชนิด เช่น [[เต่าเหลือง]] ตะพาบน้ำ กิ้งก่าสวน แย้ขีด จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง จิ้งจกหางหนาม งูหลาม งูสามเหลี่ยม อึ่งขาดำ กบหนอง เขียดบัว เป็นต้น
*[[สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก]] พบจำนวน 14 ชนิด เช่น คางคกบ้าน เป็นต้น
 
มีสัตว์ที่มีสถานภาพที่น่าเป็นห่วง 4 ชนิด ได้แก่ [[หมาจิ้งจอก]] หรือ สุนัขจิ้งจอก [[กระรอกบินเล็กแก้มขาว]] [[แมวป่า]] และ[[นกยูง]] มีสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ [[เสือปลา]] นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าสงวนซึ่งมีสภาพใกล้สูญพันธุ์ตามสมุดปกแดงของ IUCN คือ [[เลียงผา]] และมี
 
== แก่งเสือเต้น ==