ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 23:
ต่อมาท่านได้รับทุนจากกระทรวงมหาดไทย ให้ศึกษาวิชาการตำรวจที่ Police Academy Of New York City ที่เมืองชิคาโก, ฟิลาเดเฟีย, วอชิงตัน ดีซี และบอสตัน ตามลำดับ จนสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2468 ก่อนเดินทางกลับยังได้ฝึกงานในกรมตำรวจประเทศอังกฤษ 6 เดือน
 
เมื่อกลับประเทศไทยแล้ว ได้เข้ารับราชการในกรมตำรวจ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2469 ยศว่าที่ร้อยตำรวจตรี และเลื่อนยศและตำแหน่งตามลำดับ อาทิ ผู้กำกับการตำรวจเทศบาล, รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล, ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 1 จังหวัดลำปาง, ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 7 จังหวัดนครปฐม, ผู้บังคับการตำรวจสนามประจำกองข้าหลวงใหญ่ทหาร 4 รัฐ, ผู้บัญชาการ[[ตำรวจนครบาล]] จนได้ดำรงตำแหน่ง[[อธิบดีกรมตำรวจ]] ในรัฐบาลของพันตรี [[ควง อภัยวงศ์]] เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ขณะมียศเป็น [[พลตำรวจตรี]] <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/064060/3137_1.PDF เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมตำรวจ] </ref> และได้รับพระราชทานยศ [[พลตำรวจโท]] เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2491 พร้อมกับ [[พันเอก]] [[เผ่า ศรียานนท์]] ที่ได้รับพระราชทานยศเป็น [[พลตำรวจตรี]] <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2491/D/065039/2021.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ] </ref>
 
ต่อมาท่านได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมศุลกากร]], อธิบดีกรมมหาดไทย, อธิบดี[[กรมการปกครอง]] และดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นตำแหน่งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2506 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก, มหาวชิรมงกุฎ, ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 และ 9 ชั้นที่ 2 เป็นเกียรติยศ