ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสาอโศก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
change cats
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
 
'''เสาอโศก''' ({{lang-en|Pillars of Ashoka}}; {{lang-hi|अशोक स्तंभ ''อโศก สฺตํภ''}}) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] พระมหาจักรพรรดิแห่ง[[ราชวงศ์เมารยะ]] ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้าง[[เสา]][[หินทราย]] (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่[[พระสัมมาสัมพุทธเจ้า]] และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจาก[[เมืองจุณนา]] เมืองทางตอนเหนือของ[[อินเดีย]] ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัว[[สิงห์]]แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจ[[ราชสีห์]] และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช
 
เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่[[ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน]] [[เมืองพาราณสี]] สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน
บรรทัด 25:
 
{{โครงประวัติศาสตร์}}
 
{{โครงพุทธศาสนา}}
 
[[หมวดหมู่:ประเทศอินเดีย]]
[[หมวดหมู่:สถานที่แสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานคำศัพท์ศาสนาพุทธ]]
{{โครงพุทธศาสนา}}