ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัชรยาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8243518 สร้างโดย 103.1.31.108 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
change cats
บรรทัด 3:
'''วัชรยาน''' ({{lang-sa|Vajrayāna}}) '''มันตรยาน''' (Mantrayāna) '''คุยหยาน''' (Esoteric Buddhism) หรือ '''ตันตรยาน''' (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบ[[คุยหลัทธิ]] ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบ[[ตันตระ]]มาจากอินเดียสมัยกลาง
 
วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่า[[หีนยาน]]และ[[มหายาน]]
 
== ความเป็นมาของวัชรยาน ==
บรรทัด 10:
# ที่เมือง[[สารนาถ]] กรุง[[พาราณสี]] เทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่าย[[เถรวาท]]
# ที่กฤตธาราโกติ กรุง[[มคธ]]
# ที่ไวศาลี
 
การเทศนาครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 นั้นได้เทศนาเกี่ยวกับ[[มหายาน]] ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมด เป็นอุดมคติของมหายาน อุดมคตินี้ เรียกว่า '''"โพธิจิต"'''(จิตที่ต้องการตรัสรู้ธรรมเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย)
 
บุคคลใดที่มีอุดมคติแบบโพธิจิตนี้และปฏิบัติอุดมคตินี้ บุคคลนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ในแต่ละครั้งแห่งการเกิด ต้องมีบุพการี 1 กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดใน[[สังสารวัฏ]]นี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วน ฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไปพร้อมกัน หรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไป นี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์ พระอาจารย์[[ชาวทิเบต]]ได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่ 14 ว่า
บรรทัด 22:
คำสอนมหายานเป็นที่เริ่มสนใจปฏิบัติในช่วงของท่านนาคารชุนในปื ค.ศ. 1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้ อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระ ในศตวรรษที่ 16 ท่านตารานาถ พระอาจารย์ชาวทิเบตในนิกายโจนังปะ (Jonangpa) ได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 การปฏิบัติในวัชรยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการมนตราภิเษก (initiation/ empowerment) จากพระอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับอนุญาตจากครูบาอาจารย์ในสายของท่านให้เป็นผู้ประกอบพิธี ถ้าไม่มีมนตราภิเษก ถึงแม้จะปฏิบัติอย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชรยานจึงต้องได้รับการมนตราภิเษกจากพระอาจารย์เสียก่อน อย่างไรก็ตาม มนตราภิเษกที่สมบูรณ์ไม่ได้เกิดหลังผ่านพิธีกรรม แต่เกิดไปตลอดชีวิตของผู้ปฏิบัติเมื่อเขาฝึกฝนตนเองตามบทปฏิบัติจนจิตของเขาประสานเป็นหนึ่งเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าองค์ที่เขาปฏิบัติบูชา และการให้มนตราภิเษกชั้นสูงจะมอบให้เพียงศิษย์ที่คุรุไว้วางใจว่ามีจิตเยี่ยงพระโพธิสัตว์และจะสามารถรักษาและปฏิบัติตามคำสอนได้อย่างเคร่งครัด นอกจากมนตราภิเษก คำสอนในสายตันตระยังต้องได้รับการส่งมอบจากคุรุสู่ศิษย์ที่เรียกว่า การถ่ายทอดคำสอน (transmission) และได้รับการอธิบาย (instruction) อย่างชัดแจ้ง
 
คำสอนวัชรยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งได้ เป็นที่รู้กันว่าในทิเบต ท่านมิลาเรปะได้บรรลุธรรมในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ การปฏิบัติวัชรยานสามารถ ทำให้เราบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว้ เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่[[ภาษาทิเบต]] เนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็น[[ภาษาสันสกฤต]]ได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว
 
พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์ซงซัน กัมโปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 พุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ทิเบตว่ามีการสังคายนาพระพุทธศาสนา ณ นครลาซา โดยผ่านการโต้วาทีธรรมระหว่างนิกายเซนของจีนและวัชรยานจากอินเดีย ผลปรากฏว่า ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชรยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนาวัชรยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา พระเจ้าตรีซง เตเซ็น ได้ทรงนิมนต์ท่านศานตรักษิต ภิกษุชาวอินเดียและพระคุรุปัทมสมภวะเข้ามาเพื่อเผยแผ่พระธรรม โดยเฉพาะพระคุรุปัทมสมภวะได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 ของชาวทิเบต ท่านได้ร่วมกับท่านศานตรักษิตสร้าง[[วัดสัมเย่]]ขึ้นในปี ค.ศ. 787 และเริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ตรีซง เตเซ็น ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย
บรรทัด 34:
== นิกาย ==
 
พุทธวัชรยานแบ่งเป็นหลากหลายนิกาย แต่ละนิกายล้วนมีสังฆราช หรือผู้ปกครองสุงสุดของคณะสงฆ์ในแต่ละนิกายนั้น ๆ แต่ทุกนิกายล้วนแต่ยึดสมเด็จองค์ดาไลลามะ (ทะไลลามะ) เป็นประมุขทางจิตวิญญาณ
 
1. นิกายยุงตรุงเพิน หรือสาขาย่อยของวัชรยานที่มีต้นกำเนิดมาจากทิเบต (ไม่ได้เผยแผ่มาจากอินเดีย) เป็นพุทธโบราณที่สืบทอดมานับหมื่นปี แบ่งเป็น 9 ยาน และมี 3 มรรควิถีแห่งพระสูตร ตันตระ และซกเช็น พระสังฆราชของนิกายนี้คือสมเด็จแมนรี ทริซิน ริมโปเช (His Holiness Menri Trizin Rinpoche) ปัจจุบันทรงประทับอยู่ที่วัดแมนรี ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญของนิกายนี้โดยมีการศึกษาในระดับปริญญาเกเช เทียบเท่าปริญญาเอก
บรรทัด 42:
=== นิกายญิงมาปะ (Nyingmapa) ===
{{บทความหลัก|นิกายญิงมาปะ}}
ญิงมาปะเป็นนิกายแรกที่เผยแผ่มาจากอินเดีย โดยถือว่ากำเนิดจากท่านคุรุปัทมสมภวะ ได้มีพัฒนาการครั้งใหญ่ๆ 3 ครั้ง คือ การเริ่มต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเริ่ม ต้นพุทธศาสนาของทิเบตด้วย และเป็นนิกายเดียวที่มีอยู่ในช่วงนั้น คือศตวรรษที่ 8-11 คำว่า ''"ญิงมาปะ"'' ซึ่งแปลว่าโบราณสัญลักษณ์ของนิกายคือใส่หมวกสีแดงชาวทิเบตเลื่อมใสศรัทธา ท่านคุรุปัทมภพมากเชื่อว่าท่านเป็นผู้ทรงพลานุภาพอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ได้จนหมดสิ้น ณยิงมาปะได้เน้นในด้านพุทธตันตระคำว่าตันตระนั้นแปลว่าเชือกหรือเส้นด้ายใหญ่ ๆ หรือความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดคำสอนจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ โดยไม่มีการขาดตอนโดยผ่านพิธีมนตราภิเษก และเป็นการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่าจากอาจารย์สู่ศิษย์
 
องค์คุรุปัทมสัมภวะได้ให้เหตุผลไว้ 3 ได้แก่
# เพื่อไม่ให้คำสอนผิดเพี้ยนไปเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ
# เพื่อให้พลังแห่งคำสอนนั้นอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ และ
# เพื่อเป็นการให้พรแก่คนรุ่นหลังที่ได้สัมผัสกับคำสอนดั้งเดิม
 
คำสอนญิงมาปะเน้นในเรื่องความไม่เป็นแก่นสารของจักรวาลและเน้นถึงความเป็นไปได้ในการตรัสรู้ในเวลาอันสั้น แบ่งพุทธศาสนาออกเป็น 9 ยานคือ
บรรทัด 59:
=== นิกายสาเกียปะ ===
{{บทความหลัก|นิกายสาเกียปะ}}
นิกายนี้ได้มาจากชื่อของวัดสาเกีย คำว่า สาเกีย แปลว่าดินสีเทา อยู่ในแคว้นซัง ทางตอนใต้ของ [[แม่น้ำยาลุงซังโป]]
 
วัดสาเกียมีเอกลักษณ์คือทาสีเป็น 3 แถบ คือแถบสีแดง สีขาว และสีดำ สีทั้ง 3 เป็นสีแห่งพระโพธิสัตว์ 3 องค์ คือ
* '''สีแดง''' เป็นสีแห่ง[[พระมัญชุศรีโพธิสัตว์]] ผู้ทรงเป็นองค์แทนปัญญาของพระพุทธเจ้า
* '''สีขาว''' เป็นสีแห่ง[[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]] ผู้ทรงเป็นองค์แทนกรุณาของพระพุทธเจ้า
* '''สีดำ''' เป็นสีแห่ง[[พระวัชรปาณีโพธิสัตว์]] ผู้ทรงเป็นองค์แทนพลังของพระพุทธเจ้า
 
นิกายสาเกียปะได้ตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 11 ผู้ก่อตั้งนิกายคือผู้สืบเชื้อสายขุนนางเก่าตระกูลเกิน โกนชก เกียลโป ท่านได้รับคำสอนกาลจักรตันตระจากบิดาซึ่งรับคำสอนมากจากวิรูปะ โยคีชาวอินเดีย ท่านเกิน โกนชก เกียลโปได้เดินทางไปเรียนตันตระจากอาจารย์อีกท่านคือโยมิโลซาวา เป็นบัญญัติของท่านเกิน โกนชก เกียลโป ว่าการสืบทอดในนิกายนี้จะสืบทอดเฉพาะคนในตระกูลเกินเท่านั้น ตำแหน่งของเจ้านิกายสาเกียปะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งในทางการเมืองและการศาสนาความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าผู้สืบสายนิกายสาเกียปะ ท่านที่4คือกุงกา เกียลเซ็น หรือ สาเกียบันฑิต และหลานของท่านที่ชื่อว่า พักปะ โลดุป เกียลเซนทั้ง 2 ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในการเมืองของทิเบตมาก ท่านได้รับการเชิญจากโดยข่านชาวมงโกลให้ไปแผ่แผ่พุทธตันตระในประเทศจีน เป็นที่เลื่อมใสแก่ข่านมงโกลอย่างมาก กุบไลข่านได้แต่งตั้งให้พักปะ โลดุป เกียลเซนให้ปกครองทิเบต และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระสงฆ์นั้นปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักร
บรรทัด 74:
== วัชรยานในประเทศต่าง ๆ ==
=== ทิเบต ===
''บทความหลัก: [[วัชรยาน]]''
 
ในทิเบต คำสอนเกี่ยวพุทธตันตระได้พัฒนาไปเป็นวัชรยาน โดยมีการแบ่งเป็นนิกายย่อย ๆ อีกมาก
บรรทัด 86:
=== ไทย ===
 
พระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานในเมืองไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ [[พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ)]] หรือลามะ ทริมซิน กุนดั๊ก รินโปเช ปฐมเจ้าอาวาส[[วัดโพธิ์แมนคุณาราม]] และอดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ 6 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน ได้ธุดงค์ไปถึงแคว้น[[คาม]] [[ทิเบต]]ตะวันออก และได้เข้าศึกษามนตรยาน นิกายณยิงมาคากิว ณ สำนักสังฆราชาริโวเช แคว้นคาม ทิเบตตะวันออกกับพระสังฆราชา “วัชระนะนาฮู้ทู้เคียกทู้” (พระมหาวัชรจารย์ พุทธะ นอร่า รินโปเช) ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงมากของทิเบต จีน และในแถบจีนตอนใต้ [[ฮ่องกง]] [[ไต้หวัน]] [[สิงคโปร์]] [[มาเลเซีย]]
 
ท่านสังฆราชานะนา ได้เปิดเผยว่าท่านเจ้าคุณอาจารย์ถือกำเนิดจากปรมาจารย์ “[[พระนาคารชุน|คุรุนาคารชุน]]” (ตามความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในทิเบต) ซึ่งมาเพื่อฟื้นฟู สถาปนาพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงในภูมิภาคนี้ ดังนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อท่านเจ้าคุณอาจารย์ศึกษาแตกฉานในศาสนาพุทธ ฝ่ายวัชรยาน นิกายณยิงมาคากิวแล้ว พระสังฆราชาฯ ได้ประกอบมนตราภิเษก ตั้งให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์โพธิ์แจ้งมหาเถระ หรือลามะ ทริมซิน กุนดั๊ก รินโปเช เป็น “พระวัชราจารย์” อันดับที่ 26 สืบต่อจากท่าน ในการครั้งนั้น ท่านสังฆราชานะนาได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชาให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่างครบถ้วน และหลังจากนั้นไม่นานท่านได้รับเกียติสูงสุดในตำแหน่งพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งนิกาย[[มันตรยาน]] ทิเบต
บรรทัด 92:
ทั้งนี้พระอาจารย์ได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายพร้อมทั้งกำชับให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์นำกลับมาประดิษฐานในประเทศไทย ด้วยเหตุที่ว่าเมืองไทยพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองและมั่งคง ท่านสังฆราชาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาลจะถูกทำลายหมด ในปัจจุบันเป็นที่ยืนยันแล้วว่า พระธรรมคัมภีร์ฉบับที่อยู่ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด
 
จนถึงสมัยก่อนที่ท่านจะดับขันธ์ ท่านเกิดอาการล้มป่วยเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลธนบุรี ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านได้เดินทางไปยังเนปาล เพื่อสอบถามถึงอาการป่วยของพระอาจารย์จากลามะชั้นสูง และท่านได้เข้าพบกับพระสังฆราชต๊ากน่า จึงได้ถ่ายทอดรหัสนัยแห่งวัชรยานให้แก่ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก
 
เมื่อท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งถึงแก่กาลดับขันธ์นั้น ท่านไม่ได้ถ่ายทอดรหัสนัย และตำแหน่งพระสังฆราชนิกายณยิงมาคากิวให้แก่ผู้ใดเลย คณะศิษย์ของท่านได้เดินทางตามหาพระลามะที่จะมาต่อสายวัชรยานจากท่านหลายๆประเทศ โดยอาศัยเพียงรูปถ่ายของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง พระอาจารย์นอร่ารินโปเช และท่านวิดยาดรุ๊ปวังเท่านั้น สุดท้ายก็พบกับท่านพระมหาวัชรจารย์โซนัม ท๊อปเกียว รินโปเช จึงได้กระจ่างขึ้น เมื่อท่านได้เปิดเผยความลับเรื่องวัชรยาน
บรรทัด 98:
จนถึงปัจจุบันนี้ พุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานในเมืองไทย ได้รับการสืบทอดมาจากพระอารามริโวเช ซึ่งเป็นต้นสายของวัชรยาน จากแคว้นคาม ทิเบตตะวันออก โดยมีพระมหาวัชรจารย์ โซนัม ท๊อปเกียว รินโปเชเป็นผู้สืบทอด และมีการฝึกปฏิบัติแนวทางนี้ที่ริโวเชธรรมสถาน และวัดโพธิ์แมนคุณาราม กรุงเทพมหานคร
 
ในส่วนของพระในคณะสงฆ์จีนนิกายนั้น วัชรยานที่ท่านเจ้าคุณได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์นั้นเหลือไม่กี่ท่านที่ยังยึดถือและปฏิบัติตามวิถีทางแห่งวัชรยานอย่างเคร่งครัด อาทิเช่น ท่านเจ้าคุณเย็นอี่ วัดโพธิ์เย็น พระอาจารย์เย็นเมี่ยง [[วัดเทพพุทธาราม]] เป็นต้น
 
นอกนั้นยังมีการยึดถือปฏิบัติในส่วนของพิธีกรรม และการ[[มนตราภิเษก]] และการเขียนอักขรมนต์ในพิธีเจริญพุทธมนต์
บรรทัด 110:
* '''มูลนิธิพันดารา''' เน้นคำสอนพุทธวัชรยานอย่างไม่แบ่งแยกนิกาย หรือที่เรียกว่า รีเม (Rimed) และมีคำสอนพิเศษที่เน้นการปฏิบัติบูชาพระโพธิสัตว์ตาราที่สืบทอดในนิกายสาเกียปะและคำสอนซกเช็นที่สืบทอดในนิกายยุงตรุงเพิน (Thousand Stars Foundation, several different lineages of Tibetan Buddhism as well as Yungdrung Bon, emphasizing on Tara and Dzogchen traditions) มีบ้านอบรมเสวนาในกรุงเทพมหานครและศูนย์ปฏิบัติธรรมและแหล่งเรียนรู้อุทิศแด่พระโพธิสัตว์ตารา ชื่อว่า ศูนย์ขทิรวัน (Khadiravana Center) หรือภาษาทิเบต กุนเทรอลิง (Kundrol Ling) ที่หมู่ 5 ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ <ref>[http://www.thousand-stars.org/ มูลนิธิพันดารา Thousand Stars Foundation]</ref>
'''บ้านติโลปะ''' (Tilopa House) สืบสายการปฏิบัติของท่านทรุงปะริมโปเช เช่นเดียวกับสายชัมบาลา แต่ผ่านคุรุทางจิตวิญญาณชาวอเมริกันชื่อ เรจินัลด์ เรย์ (Reginald Ray) มีบ้านปฏิบัติธรรมและที่อบรมเสวนาในกรุงเทพมหานคร
* '''ศูนย์อนัมคาราเพื่อปัญญาเมตตาและสันติสุข (Anam Cara Center for Wisdom-Compassion-Peace)''' สืบทอดวิถีพุทธศาสนา วัชรยาน จากท่านลามะ เซริง วังดู รินโปเช และการถ่ายทอดผ่านทางจิตและสัญลักษณ์ โพธิสัตวมรรคา สมาธิพระวัชรสัตว์ การปฏิบัติโพวา ทองเลน อติโยคะ (ซกเช็น) และจัดฝึกอบรม มรรคาแห่งวัชระ เน้นการฝึกปฏิบัติซกเช็น <ref name=":0">ศูนย์อนัมคาราเพื่อปัญญาเมตตาและสันติสุข [http://www.anamcarathai.com/search/label/การปฏิบัติแบบวัชรยาน http://www.anamcarathai.com/p/blog-page_76.html]</ref>
 
นอกจากนี้ ยังมีคำสอนในพุทธวัชรยานที่ได้รับการถ่ายทอดที่วัดโพธิ์แมนคุณาราม เช่น พิธีมนตราภิเษก และเสถียรธรรมสถาน เช่น คำสอนเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ตารา
บรรทัด 134:
 
[[หมวดหมู่:วัชรยาน| ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานคำศัพท์ศาสนาพุทธ]]