ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธุดงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
change cats
บรรทัด 7:
'''ธุดงค์''' ({{lang-pi|ธุตงฺค}}, {{lang-en|Dhutanga}}) เป็นวัตรปฏิบัติที่[[พระพุทธเจ้า]]ทรงอนุญาตไว้ ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ<ref name="ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓">พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส '''ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓'''. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=1418&Z=1821&pagebreak=0 ]. เข้าถึงเมื่อ 4-4-55</ref> เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลา[[กิเลส]] ทำให้เกิดความมักน้อย[[สันโดษ]]ยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไป มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภ[[สักการะ]]และชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้อง[[อาบัติ]][[ทุกกฎ]]<ref>พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง. หน้า 56</ref>
 
โดยรูปศัพท์ ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หรือ การสมาทานเพื่อเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอันอันตรายต่อสัมมาปฏิบัติ<ref>ธุตังคนิเทศ ปริจเฉทที่ ๒. วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคศีล ปริเฉทที่ ๒. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%91_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%92_%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8_%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%98%E0%B9%90_-_%E0%B9%98%E0%B9%95]. เข้าถึงเมื่อ 4-4-55</ref>
 
ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏใน[[พระไตรปิฎก]]เถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วจึงได้ทั้งหมด 13 ข้อ<ref name="ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓"/><ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ '''ปาราชิกกัณฑ์ ปฐมปาราชิกสิกขาบท''' . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=316&Z=670&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 4-4-55</ref><ref name="กฐินขันธกะ">พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ '''กฐินขันธกะ'''. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=05&A=2648&Z=2683]. เข้าถึงเมื่อ 4-4-55</ref>
 
ธุดงค์ในปัจจุบันยังคงเป็นแนวการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมของชาวพุทธเถรวาททั่วไปในหลายประเทศ โดยไม่จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น คฤหัสถ์ทั่วไปก็ถือปฏิบัติได้บางข้อเช่นกัน<ref>The Path of Freedom (Vimuttimagga), Buddhist Publication Society, Kandy, Sri Lanka. ISBN 955-24-0054-6</ref>
 
ปัจจุบัน คำว่า '''ธุดงค์''' ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ไปยังที่ต่าง ๆ หรือเรียกว่า '''การเดินธุดงค์''' ซึ่งความหมายนี้แตกต่างจากความหมายเดิมใน[[พระไตรปิฎก]]{{fn|1}}
 
== ความหมาย ==
'''ธุดงค์''' คือวัตร หรือแนวทางการปฏิบัติจำนวน 13 ข้อ ที่[[พระพุทธเจ้า]]อนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งให้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมของพระสงฆ์ที่ตั้งใจสมาทานความเพียรเพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิตเพื่อกำจัด[[กิเลส]] โดยธุดงค์นี้เป็นเพียงวัตร หรือแนวทางการประพฤติ ที่ไม่ใช่[[ศีล]]ของพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ<ref name="ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓"/> และการปฏิบัติธุดงค์
 
'''ธุดงค์''' ในภาษาไทย ใช้เรียกพระ[[ภิกษุ]]แบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า [[เดินธุดงค์]] หรือ [[ออกธุดงค์]] เรียก[[ภิกษุ]]ที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า [[พระธุดงค์]]
บรรทัด 53:
# '''ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร''' คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม
# '''ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร''' คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันใน[[บาตร]] แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร
# '''ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร''' คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม
 
=== หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ) ===
บรรทัด 98:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Dhutanga|เดินธุดงค์}}
* [[พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี)]] ธรรมเทสนา ชุด โอวาทหลังปาติโมกข์ เรื่อง: [http://tesray.com/afterhours-40 ขนบธรรมเนียม ระเบียบ ของพระธุดงค์]
 
[[หมวดหมู่:กรรมฐาน]]
[[หมวดหมู่:พิธีกรรมในศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานคำศัพท์ศาสนาพุทธ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ธุดงค์"