ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระโคตมพุทธเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ ไม่มีชีวิตที่ดีเลย (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Potapt
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
change cats using AWB
บรรทัด 48:
=== พระประสูติกาล ===
[[ไฟล์:Wat Tha Thanon 05.jpg|thumb|left|เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ]]
ในคืนที่พระโพธิสัตว์เสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มี[[ช้างเผือก]]มีงาสามคู่ ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้น ขณะทรงพระครรภ์แก่ ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุง[[เทวทหะ]]อันเป็นพระมาตุภูมิ เพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระนางได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้น[[สาละ]]ในสวนป่า[[ลุมพินี]]<ref>Buddhist Studies. (2008). ''Lumbini: Birth Place of the Buddha.'' [Online]. Available: < http://www.buddhanet.net/e-learning/buddhistworld/lumbini.htm >. (Accessed: 18 October 2008).</ref> ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อประสูติแล้ว พระราชกุมารนั้นทรงพระดำเนินได้ 7 ก้าวทันที พร้อมทั้งเปล่งอาสภิวาจา ว่า "เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก การเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว"<ref>[http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=5090&Z=5281&pagebreak=0 อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร], พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์</ref> อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขต[[ประเทศเนปาล]]<ref>UNESCO World Heritage Centre. (2006). ''Lumbini, the birthplace of the Lord Buddha.'' Available: < http://whc.unesco.org/pg.cfm?cid=31&id_site=666 >. (Accessed: 18 October 2008).</ref>
 
หลังจากมีพระประสูติกาลแล้ว 3 วัน มีฤๅษีตนหนึ่งนามว่า "อสิตะ" ได้เข้าเยี่ยมพระราชกุมาร เมื่อพิจารณาดูก็พยากรณ์ว่าพระราชกุมารนี้จะได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างแน่นอน<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=9556&Z=9695 นาลกสูตร], พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</ref>
บรรทัด 238:
หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าจึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพาน ระหว่างใต้[[ต้นสาละ]]คู่ ณ กรุงกุสินารา ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน 6 ขณะมีพระชนมายุ 80 พรรษา ประเทศ[[ประเทศกัมพูชา|กัมพูชา]]และ[[ประเทศพม่า|พม่า]]นับปีนี้เป็น [[พ.ศ. 1]] แต่ในประเทศไทยนับ พ.ศ. 1 หนึ่งปีหลังจากการปรินิพพาน ซึ่งแตกต่างเพียงเล็กน้อย
 
[[มโน เลาหวณิช]] สันนิษฐานว่าพระอาการประชวรมีสาเหตุมาจากการอุดตันของเส้นเลือดใหญ่ในลำไส้เล็กส่วนกลาง (superior mesenteric artery) เมื่อกล้ามเนื้อลำไส้ของพระองค์ตายจากการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้เลือดจำนวนมากไหลเข้าสู่ลำไส้ เกิดการถ่ายเป็นเลือด นอกจากนี้ แบคทีเรียจำนวนมากได้เข้าสู่ช่องท้องทำให้เกิดการอักเสบของช่องท้อง แบคทีเรียส่วนหนึ่งเข้าสู่กระแสพระโลหิต ทำให้เกิดพระอาการช็อกและหนาวสั่น อาการช็อกทำให้พระองค์เกิดการกระหายน้ำ เนื่องจากไม่สามารถพระดำเนินได้เองจึงทรงรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาถวาย และรับสั่งให้นำผ้า[[สังฆาฏิ]]ปูบริเวณลานหนา 4 ชั้นเพื่อให้ทรงประทับ เมื่อพระอาการดูท่าไม่ดี เหล่าภิกษุได้ช่วยกันนำพระองค์เข้าไปในเมืองเพื่อรักษาแต่ไม่สำเร็จ จึงเสด็จปรินิพพานในกรุงกุสินารา หลังวันวิสาขบูชาราว 5-6 เดือนในช่วงออกพรรษา หลังจากปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายมีมติที่จะเคลื่อนพระพุทธสรีระออกจากเมืองไปประตูทางทิศใต้<ref name ="Havard">{{cite web | url = https://www.silpa-mag.com/club/article_10377 | title = พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยโรคอะไร? | date = 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 | publisher = ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ กรกฎาคม 2543 | author = พระมโน เมตฺตานนฺโท}}</ref> แต่ก็ไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธสรีระไปได้ แม้แต่จะขยับเขยื้อนให้เคลื่อนจากสถานที่สักน้อยหนึ่ง มัลลกษัตริย์พากันตกตลึงในเหตุอัศจรรย์ที่ไม่เคยประสบเช่นนั้น จึงได้พร้อมกันไปเรียนถามพระอนุรุทธะเถระซึ่งเป็นประธานสงฆ์อยู่ พระอนุรุทธะเถระได้กล่าวว่า เหล่าเทวดามีความประสงค์ที่จะเคลื่อนพระพุทธสรีระให้เข้าเมืองจากทิศเหนือแล้วออกไปยังประตูทางทิศตะวันออก มัลลกษัตริย์ทั้งหลายต่างได้ทำตามความประสงค์ของเหล่าเทวดา หลังจากนั้นพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้ถูกจัดขึ้นในวันที่ 8 หลังพุทธปรินิพพาน เมื่อหลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตามเมืองต่างๆ
 
== หลักธรรมคำสอน ==
บรรทัด 268:
==== ศาสนาฮินดู ====
{{บทความหลัก|พระโคตมพุทธเจ้าในศาสนาฮินดู}}
[[ศาสนาฮินดู]]เชื่อว่าพระโคตมพุทธเจ้าเป็นอวตารปางหนึ่งของ[[พระวิษณุ]] ปรากฏการอ้างอยู่ในหลายคัมภีร์
 
[[วิษณุปุราณะ]]และ[[ภาควัตปุราณะ]] ระบุไว้ตรงกันว่า พระวิษณุเห็นว่าพวก[[อสูร]]ขโมยเครื่องบูชายัญไป ทำให้มีอำนาจมากกว่าฝ่ายเทพ พระวิษณุจึงเนรมิตพระโคดมขึ้น เพื่อล่อลวงพวกอสูรให้ละทิ้ง[[พระเวท]] ละทิ้งการบูชายัญ ติเตียน[[เทพ]]และ[[พราหมณ์]] หันไปนับถือศาสนาพุทธ เมื่อพวกอสูรหลงผิดไปทิ้งพระเวทแล้ว ก็จะเสื่อมกำลังลง ฝ่ายเทพกลับก็จะโจมตีและทำลายพวกอสูรได้<ref name="The Origins of Evil in Hindu Mythology">O'Flaherty, Wendy Doniger, ''The Origins of Evil in Hindu Mythology'', Delhi: Motilal Banarsidass, 1988, pgs. 188-9, 202-3, 209, 288,</ref>
บรรทัด 277:
 
==== ศาสนาบาไฮ ====
[[พระบะฮาอุลลอฮ์]] ศาสดาของ[[ศาสนาบาไฮ]] และ[[พระอับดุลบะฮาอ์]] ผู้นำศาสนารุ่นต่อมา กล่าวถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็น[[ผู้เผยพระวจนะ|ศาสดา]]ที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาเพื่อทำหน้าที่นำพาและให้ความรู้แก่มนุษย์ในยุคสมัยหนึ่ง เช่นเดียวกับศาสดาท่านอื่น ๆ คือ [[พระกฤษณะ]] [[โมเสส]] [[ซาราธุสตรา]] [[พระเยซู]] นบี[[มุฮัมมัด]] [[พระบาบ]]<ref name="PSmith">{{cite encyclopedia |last= Smith |first= Peter |encyclopedia= A concise encyclopedia of the Bahá'í Faith |title= Manifestations of God |year= 2000 |publisher=Oneworld Publications |location= Oxford |pages= 231 |isbn= 1-85168-184-1}}</ref> โดยพระบาฮาอุลลออ์คือ[[พระศรีอริยเมตไตรย]] เป็นศาสดาองค์ล่าสุดในยุคปัจจุบันนี้<ref>จามเช็ด เค ฟอสดาร์, ''พระพุทธศรีอริยเมตไตรย-อมิตาภา ได้ปรากฏองค์แล้ว'', นฤมล นครชัย แปล, กรุงเทพฯ: ศยาม, 2547, หน้า (9) </ref>
 
==== ลัทธิอนุตตรธรรม ====
บรรทัด 308:
{{birth|-563}}
{{death|-483}}
 
[[หมวดหมู่:พระพุทธเจ้า]]
[[หมวดหมู่:อภิธานคำศัพท์ศาสนาพุทธ]]