ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ภาพ Henri_Becquerel.jpg ด้วย Portrait_of_Antoine-Henri_Becquerel.jpg จากวิกิพีเดียคอมมอนส์
สวีดัด (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
นับจากที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้านายช่าง 2 ปี อ็องรีได้ศึกษาการเรืองแสงอย่างช้า (phosphorescence) ในเกลือ[[ยูเรเนียม]] จนเขาได้พบ[[กัมมันตรังสี]]เข้าโดยบังเอิญ โดยเขาได้วางโพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต ซึ่งตกทอดมาจากพ่อของเขา ไว้บนฟิล์มถ่ายรูปและวัสดุดำ จากนั้นนำไปตั้งไว้กลางแดด โดยเขาได้อธิบาย ณ ที่ประชุมวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส มีใจความดังนี้
 
{{คำพูด|เมื่อหุ้มฟิล์มถ่ายรูปลูมีแยร์ด้วยกระดาษดำหนา ๆ ซึ่งมีสารพวก[[โบรมีน|โบรไมด์]]คั่นอยู่ ฟิล์มนั้นจะไม่มีลายหมอก แม้ตั้งไว้กลางแดดจ้า เมื่อวางสารนั้น (โพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต) บนกระดาษซึ่งทับห่อนั้น จากนั้นนำไปวางไว้กลางแดด แล้วเอาฟิล์มนั้นมาล้าง จะพบว่ามีลายหมอกเป็นสีดำบนภาพเนกะทีฟ (ภาพที่ยังไม่ได้อัด) เมื่อใดที่เอาวัตถุอื่นใดปกปิดสารนั้น แล้วทดลอง ก็ปรากฏรูปวัตถุนั้น ๆ บนฟิล์ม...ดังนั้นจึงสรุปว่า สารนั้นมีกัมมันตรังสีจริง รังสีนั้นผ่านทะลุ[[กระดาษ]]หนา ๆ ได้ และรีดิวซ์[[เงิน (โลหะ)]]ได้<ref>Comptes Rendus 122, 420 (1896), [http://web.lemoyne.edu/~giunta/becquerel.html แปลโดย Carmen Giunta.] เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2550</ref>}}
 
จากการค้นพบนี้เอง ทำให้อ็องรีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับสองสามีภรรยาตระกูลกูรี ในปี พ.ศ. 2446