ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 74:
'''สมัยที่ 1''' (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521)
 
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์นั้น สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยคณะปฏิวัติภายใต้การนำของพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จากนั้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 จึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 เป็นการชั่วคราว และได้จัดตั้งสภานโยบายแห่งชาติขึ้น จากนั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ของประเทศเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 โดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และยังได้รับการสนับสนุนจากคณะทหารหนุ่ม หรือกลุ่ม “ยังเติร์ก" <ref>นรนิติ เศรษฐบุตร. '''เกิดมาเป็นนายก.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2538, หน้า 257-268.</ref> รวมทั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีดตำแหน่งหนึ่ง ทั้งนี้ ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2520 ได้ประกาศนโยบายหลักในการปกครองประเทศที่สำคัญ คือ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2521 เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างช้าที่สุดภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2522 <ref>ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 94 ตอนที่ 111 ฉบับพิเศษ, 9 พฤศจิกายน 2520,หน้า 1-14.</ref>
 
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้สลับไปควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแทน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/A/082/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก เล็ก แนวมาลี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเรือเอก อมร ศิริกายะ)]</ref>
 
หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลากว่า 1 ปี รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ สมัยแรก ก็สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐบาลคณะปฏิวัติประกาศว่า จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ และให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว แต่สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลได้แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดอำนาจของฝ่ายทหารจนกระทั่งได้ฉายาว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ”<ref>สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. เรื่องเดียวกัน, หน้า 433-434.</ref> และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (ครั้งที่ 12) เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522