ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็ดเวิร์ด วูด เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
}}
 
'''เอ็ดเวิร์ด เฟรเดริก ลินเลย์ วูด เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์''' ({{lang-en|Edward Frederick Lindley Wood, 1st Earl of Halifax}}) ผู้ซึ่งได้รับ[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์]] (The Most Noble Order of the Garter - '''KG'''), [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณ]] (Order of Merit - '''OM'''), [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวแห่งอินเดีย]] (Order of the Star of India) ระดับผู้บัญชาการอัศวินที่ยิ่งใหญ่('''GCSI''') [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์มีคาเอลและเซนต์จอร์จ]](Order of St Michael and St George - '''GCMG'''), [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิอินเดีย]](Order of the Indian Empire) ระดับผู้บัญชาการอัศวินที่ยิ่งใหญ่('''GCIE'''), [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดินแดน]](Territorial Decoration - '''TD''') และ[[คณะองคมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร]](Privy Council of the United Kingdom - '''PC''') มีอีกชื่อหนึ่งว่า '''ลอร์ดเออร์วิน(Lord Irwin)''' ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1925 ถึง ค.ศ. 1934 และ '''ไวเคานต์ฮาลิแฟกซ์''' ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 ถึง ค.ศ. 1944 เป็นหนึ่งในนักการเมืองอาวุโสที่สุดใน[[พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)|พรรคอนุรักษนิยม]]ของ[[สหราชอาณาจักร]]ในปี ค.ศ. 1930 เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง และยังได้เป็นอุปราชแห่ง[[บริติชราช|อินเดีย]] ระหว่างปี ค.ศ. 1925 ถึง 1931 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ระหว่างปี ค.ศ. 1938 ถึง 1940 เขาเป็นหนึ่งในผู้คิดและเสนอ[[การจำยอมสละ|นโยบายจำยอมสละ]]ต่อ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ในปี ค.ศ. 1936-38 ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรี [[เนวิล เชมเบอร์ลิน]] อย่างไรก็ตาม, ภายหลังจาก[[การยึดครองเชโกสโลวาเกียของเยอรมนี|เยอรมันยึดครองเชโกสโลวาเกีย]]ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ผลักดันนโยบายใหม่ในความพยายามขัดขวางการรุกรานของเยอรมันครั้งต่อไปโดยให้สัญญาว่าจะเข้าสู่สงครามเพื่อปกป้อง[[สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง|โปแลนด์]]
 
เมื่อเชมเบอร์ลินได้ลาออกในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ฮาลิแฟกซ์ได้รับการสนับสนุนในการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอย่างท่วมท้นแต่เขากลับปฏิเสธ เพราะเขาคิดว่า [[วินสตัน เชอร์ชิล]] เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำของสหราชอาณาจักรในช่วงเวลายามสงครามครั้งนี้(สมาชิก[[สภาขุนนาง]]ของเขาต่างยอมรับเหตุผลอย่างเป็นทางการ) สองสามสัปดาห์ต่อมา เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้ประสบความพ่ายแพ้อย่างรุนแรงและกองทัพบริติซได้ล่าถอยไปยังดันเคิร์ก ฮาลิแฟกซ์ได้รับการสนับสนุนให้เข้าหา[[ราชอาณาจักรอิตาลี|อิตาลี]]เพื่อดูว่าจะสามารถเจรจาตกลงเพื่อสันติภาพได้หรือไม่ เขาถูกครอบงำโดยเชอร์ชิล ภายหลังจากหนึ่งในการประชุมที่ดุเดือดในกระทรวงการสงคราม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1946 เขาได้ทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชฑูตบริติซประจำการในกรุงวอชิงตัน, สหรัฐอเมริกา