ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรอยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 80:
}}
 
'''จักรวรรดิอาณาจักรอยุธยา''' เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง [[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|พ.ศ. 2310]] มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ<ref>ชนิดา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2542). '''ท่องเที่ยวไทย'''. บริษัท สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด. ISBN 974-86261-9-9. หน้า 40.</ref> เช่น [[จีน]] [[เวียดนาม]] [[อินเดีย]] [[ญี่ปุ่น]] [[เปอร์เซีย]] รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น [[โปรตุเกส]] [[สเปน]] [[เนเธอร์แลนด์]] (ฮอลันดา) [[อังกฤษ]] และ[[ฝรั่งเศส]] ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึง[[รัฐชาน]]ของ[[พม่า]] [[อาณาจักรล้านนา]] [[มณฑลยูนนาน]] [[อาณาจักรล้านช้าง]] [[อาณาจักรขอม]] และ[[คาบสมุทรมลายู]]ในปัจจุบัน<ref name="malaystates">{{cite book|last=Hooker|first=Virginia Matheson|title=A Short History of Malaysia: Linking East and West|publisher=Allen and Unwin|location=St Leonards, New South Wales, Australia|date=2003|pages=72|isbn=1864489553|url=http://books.google.com/books?id=6F7xthSLFNEC&pg=PA72&lpg=PA72&dq=Ayutthaya++malay&source=bl&ots=IWjog_W6PG&sig=NKxfDLm13dLnJ6Si72q-F744g5A&hl=en&ei=u7lQSsrsDou4M-2T8e0D&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=6|accessdate=2009-07-05}}</ref>
 
== กรุงศรีอยุธยา ==
บรรทัด 469:
== ประชากรศาสตร์ ==
=== กลุ่มชาติพันธุ์ ===
[[ไฟล์:La Loubere Kingdom of SiamLa_Loubere_Kingdom_of_Siam.jpg|thumb|right|225px|ภาพชาวสยามจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ [[พ.ศ. 2236]]]]
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยามีประชากรประมาณ 1,900,000 คน ซึ่งนับชายหญิงและเด็กอย่างครบถ้วน<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. ''จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์'', เล่มที่ 1, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า. 2510, หน้า 46</ref> แต่ลาลูแบร์กล่าวว่า ตังเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องเนื่องจากมีผู้หนีการเสียภาษีอากรไปอยู่ตามป่าตามดงอีกมาก<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. ''จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์'', หน้า 47</ref> แอนโธนี เรด นักวิชาการด้านอุษาคเนย์เทียบหลักฐานจากคำบอกเล่าต่างๆ แล้วประมาณว่า กรุงศรีอยุธยามีประชากร ในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ราว 200,000 ถึง 240,000 คน<ref>Anthony Reid, South East Asia in the Age of Commerce: Expansion and Crisis (1988), p.71-73</ref> มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือ[[ไทยสยาม]]ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ใช้[[ภาษาตระกูลขร้า-ไท]] ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลขร้า-ไทเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบ[[เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง|กว่างซี]] คาบเกี่ยวไปถึง[[มณฑลกวางตุ้ง|กวางตุ้ง]]และแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงใน[[เวียดนาม]]ตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความเคลื่อนไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการเคลื่อนไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย<ref name="อัก">สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''อักษรไทยมาจากไหน?''. หน้า 128</ref> ในยุค[[อาณาจักรทวารวดี]]ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี [[พ.ศ. 1100]] ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย<ref name="อัก"/> ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบ[[สุพรรณบุรี]] [[ราชบุรี]] ถึง[[เพชรบุรี]]และเกี่ยวข้องไปถึง[[นครศรีธรรมราช|เมืองนครศรีธรรมราช]]<ref name="ไทย">สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''อักษรไทยมาจากไหน?''. หน้า 130</ref> ซึ่งในส่วนนี้ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ให้ความเห็นส่วนตัวว่า ''ชาวลาวกับชาวสยามเกือบจะเป็นชาติเดียวกัน''<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, หน้า 45</ref> นอกจากนี้ลาลูแบร์ยังอธิบายเพิ่มว่าตามธรรมเนียมแต่โบราณแล้ว ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าตนรับกฎหมายของตนมาจากอีกฝ่าย กล่าวคือฝ่ายสยามเชื่อว่ากฎหมาย และเชื้อสายกษัตริย์ของตนมาจากลาว และฝ่ายลาวก็เชื่อว่ากฎหมาย และกษัตริย์ของตนมาจากสยาม<ref>Simon de La Loubère, The Kingdom of Siam (Oxford Univ. Press 1986) (1693), at 9</ref> นอกจากนี้ลาลูแบร์สังเกตเห็นว่าสังคมอยุธยานั้นมีคนปะปนกันหลายชนชาติ และ "เป็นที่แน่ว่าสายเลือดสยามนั้นผสมกับของชาติอื่น"<ref>La Loubère (1693), p.10</ref> เนื่องจากมีคนต่างชาติต่างภาษาจำนวนมากอพยบเข้ามาอยู่ในอยุธยาเพราะทราบถึงชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพทางการค้า<ref>La Loubère (1693), p.10</ref>