ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Onepeach (คุย | ส่วนร่วม)
Onepeach (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 216:
ดังนั้นในปีถัดมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงมีพระราชปรารภถึงแนวพระราชดำริในการจัดตั้งหน่วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกรเข้ามาเป็นอาสาสมัครของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพระองค์นี้และได้จัดให้มีการประชุมอาสาสมัครเหล่านี้ขึ้นเป็นครั้งแรกที่[[พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] ซึ่งผลการประชุมในครั้งนี้ได้ก่อให้เกิด "หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์" หรือที่พระราชทานชื่อย่อ "พอ.สว." ขึ้น ที่นี่หน่วยแพทย์ พอ.สว. จะประกอบไปด้วยแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นอาสาสมัครทำงานด้วยความเสียสละโดยมิได้รับเงินเดือน หรือค่าตอบแทนพิเศษอื่นใดและจะเคลื่อนที่ออกไปให้บริการตรวจรักษาชาวบ้านตามท้องถิ่นต่างๆ ที่กันดารห่างไกล ความเจริญเฉพาะในวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งการออกปฏิบัติดังกล่าวเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ซึ่งในปัจจุบันคือ[[หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]
 
นอกจากนี้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีย่าทรงจัดตั้งหน่วยและมูลนิธิที่สำคัญขึ้นดังนี้
# [[มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] จัดตั้งเมื่อ 17 สิงหาคม [[พ.ศ. 2535]] เพื่อทำขาเทียมและพระราชทานให้แก่ผู้พิการขาขาดที่ยากจนในชนบท โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และไม่คิดมูลค่า ซึ่ง[[มูลนิธิขาเทียมฯ]]นี้ ทรงก่อตั้งร่วมกับ[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] โดยพระองค์ท่านพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนประเดิมในการก่อตั้งมูลนิธิและทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์อีกด้วย
# [[มูลนิธิถันยรักษ์]] ที่[[โรงพยาบาลศิริราช]] เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม