ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสิทธิ์ ณรงค์เดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37:
ต่อมาในรัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายประสิทธิ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่า[[การเคหะแห่งชาติ]] และประธาน[[ธนาคารอาคารสงเคราะห์]] ในสมัยรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2520
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522|ปี พ.ศ. 2522]] นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี และได้[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี|รับการเลือกตั้ง]] ทำให้ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/A/086/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)]</ref> หลังจากปี พ.ศ. 2526 นายประสิทธิ์ได้ยุติบทบาททางการเมืองลง แต่อีกหลายปีต่อมา คือ ในปี พ.ศ. 2530 เขาเข้ามามีบทบาทในฐานะเลขาธิการพรรคกิจประชาคม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/A/100/182.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคกิจประชาคมเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค]</ref> ซึ่งมี บุญชู โรจนเสถียร เป็นหัวหน้าพรรค
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538|การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538]] นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะรองหัวหน้า[[พรรคนำไทย]] และได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งถึงวาระที่นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีได้[[การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย|ยุบสภา]]เมื่อปี พ.ศ. 2539 บทบาททางการเมืองของนายประสิทธิ์จึงได้ยุติลง โดยหันไปประกอบธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว