ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะไคร้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 23:
}}
 
'''ตะไคร้''' ([[ชื่อสามัญ]]: Lemongrass) ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Cymbopogon citratus}}); ชื่อท้องถิ่น: จะไคร ([[ภาคเหนือ]]), หัวซิงไค ([[ภาคอีสาน]]), ไคร ([[ภาคใต้]]), คาหอม ([[แม่ฮ่องสอน]]), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-[[สุรินทร์]]), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-[[แม่ฮ่องสอน]]) ) เป็น[[พืชล้มลุก]] ในวงศ์หญ้า (Poaceae) ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม เป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็น[[พืชสมุนไพร]]ด้วย
XD
 
== ถิ่นกำเนิด ==
<br />
ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศ[[อินโดนีเซีย]] [[ศรีลังกา]] [[พม่า]] [[อินเดีย]] [[ไทย]] ใน[[ทวีปอเมริกาใต้]] และ[[คองโก]]
 
== ลักษณะโดยทั่วไป ==
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
# ตะไคร้กอ
# ตะไคร้ต้น
# ตะไคร้หางนาค
# [[ตะไคร้น้ำ]]
# ตะไคร้หางสิงห์
# [[ตะไคร้หอม]]
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วย[[น้ำมันหอมระเหย]] ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป<ref>https://puechkaset.com/ตะไคร้/</ref>
 
== การปลูกและขยายพันธุ์ ==
ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถาง ๆ ละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด
เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จะนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นาน ๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อย ๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย
 
== ประโยชน์ ==
[[ไฟล์:LemongrassEssOil.png|thumb|น้ำมันตะไคร้]]
ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามาก ๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลด[[ความดันสูง]] น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากัน[[ยุง]]ได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่น ๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัด[[ยุง]]บางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้
นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก ๆ
 
สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ และมีกลิ่นฉุนสามารถไล่แมลงได้
 
หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
 
ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
 
ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้[[โรคทางเดินปัสสาวะ]] [[นิ่ว]] เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้[[โรคหนองใน]] และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวได้ด้วย
 
== คุณค่าทางโภชนาการ ==
ตะไคร้ ( 100 กรัม) มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
* ให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่
* มีโปรตีน 1.2 กรัม
* มีไขมัน 2.1 กรัม
* มีคาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม
* มีเส้นใย 4.2 กรัม
* มีแคลเซียม 35 มิลลิกรัม
* มีฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
* มีเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม
* มีวิตามินเอ 43 ไมโครกรัม
* มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม
* มีไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
* มีไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม
* มีวิตามินซี 1 มิลลิกรัม
* มีเถ้า 1.4 กรัม
 
== สารสำคัญที่พบ ==
สารสำคัญพบที่ส่วนของลำต้นและใบซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ที่ประกอบด้วยสารจำนวนหลายชนิด ได้แก่
* ซิทราล (Citral) พบมากที่สุด 75-90%
* ทรานซ์ ไอโซซิทราล (Trans-isocitral)
* ไลโมเนน (Limonene)
* ยูจีนอล (Eugenol)
* ลินาลูล (Linalool)
* เจอรานิออล (Geraniol)
* คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ (Caryophyllene oxide)
* เจอรานิล อะซิเตท (Geranyl acetate)
* 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน (6-Methyl 5-hepten-2-one)
* 4-โนนาโนน (4-Nonanone)
* เมทิลเฮพทีโนน (Methyl heptennone)
* ซิโทรเนลลอล (Citronellol)
* ไมร์ซีน (Myrcene)
* การบูร (Camphor)
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Cymbopogon citratus|ตะไคร้}}
 
{{สมุนไพรและเครื่องเทศ|state=expanded}}
[[หมวดหมู่:ผัก]]
[[หมวดหมู่:เครื่องเทศ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้"