ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าแม่วัดดุสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomaschanathip (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8557846 สร้างโดย Thomaschanathip (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 2:
'''เจ้าแม่วัดดุสิต''' เป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์[[ราชวงศ์จักรี]] เป็นพระนมชั้นเอกใน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ซึ่งได้รับพระราชทานตำหนักริม[[วัดดุสิดาราม]]เป็นที่อาศัย จึงเป็นที่มาของคำว่าเจ้าแม่ดุสิต มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชาติกำเนิดของเจ้าแม่วัดดุสิตมีมากมาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าแม่วัดดุสิตสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ''โครงกระดูกในตู้'' โดยอ้างจากหนังสือราชินิกุลบางช้างไว้ว่า "เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็น[[หม่อมเจ้า]]ใน[[ราชวงศ์สุโขทัย|ราชวงศ์พระมหาธรรมราชา]] ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่[[ราชวงศ์พระร่วง]][[กรุงสุโขทัย]]"<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=[[ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช]]|ชื่อหนังสือ=โครงกระดูกในตู้|จังหวัด=กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่= บริษัท โอ เอ็น จี การพิมพ์ จำกัด|ปี= พ.ศ. 2548|ISBN= 974-690-131-1|จำนวนหน้า=109|หน้า= 21}}</ref> นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงบรรพบุรุษของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ว่า [[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส]] ทรงได้ฟังคำบอกเล่าจาก[[พระวันรัตน์ (ฉิม)]] ว่าเจ้าฟ้าหญิงรัศมีและเจ้าฟ้าจีกเคยตรัสเล่าว่า [[สมเด็จพระเอกาทศรถ]]ได้อภิเษกสมรสกับธิดาของ[[พระยาเกียรติ์]] (ขุนนางชาวมอญที่ติดตาม[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]])<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=เซอร์จอห์น เบาว์ริง|ชื่อหนังสือ=ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์|จังหวัด=กรุงเทพฯ|ปี= พ.ศ. 2547|จำนวนหน้า= |หน้า=87}}</ref> มีธิดาคือเจ้าครอกบัว (หม่อมเจ้าบัว) และเจ้าครอกอำภัย (หม่อมเจ้าอำไพ) แต่ในหนังสือนี้ยังมีข้อความที่คลุมเครือระหว่างเจ้าครอกบัวและเจ้าครอกอำไพอยู่มาก ซึ่งทำให้สับสนว่า เจ้าแม่วัดดุสิตมีชื่อเดิมว่าอย่างไรกันแน่ บางแห่งกล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงบัว" มีเชื้อสายพระร่วงสุโขทัย บางแห่งก็กล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงอำไพ" เป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเอกาทศรถ]] อย่างไรก็ตาม หลักฐานหลายแห่งก็ไม่ได้บ่งบอกว่าสายตระกูลของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นสืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์สายไหนเช่นกัน<ref name="ปรามินทร์">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=ปรามินทร์ เครือทอง|ชื่อหนังสือ=ศิลปวัฒนธรรม : ตามหา "เจ้าแม่วัดดุสิต" ปริศนาต้นพระราชวงศ์จักรี เจ้านายหรือสามัญชน ฉบับที่ 6 ปีที่ 26 |จังหวัด=กรุงเทพฯ|ปี= พ.ศ. 2548|จำนวนหน้า= |หน้า=76-86}}</ref> แต่จากเอกสารพงศาวดารไทยหลายฉบับและของต่างประเทศเป็นที่ยืนยันว่าเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นมีตัวตนอย่างแน่นอน
 
เจ้าแม่วัดดุสิตสมรสกับสามีซึ่งเป็นเชื้อสายของพระยาเกียรติ (ขุนนางชาวมอญที่ตามเสด็จสมเด็จพระรามนเรศวรมารับราชการในกรุงศรีอยุธยา) มีบุตรธิดา 3 คน คือ
# [[เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)]] แม่ทัพคราวไปตี[[นครเชียงใหม่]]ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
# [[เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)]] ราชทูตเอก