ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nanbstar (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
* การกล่าวถึงในข้อความ (in-text attribution) เป็นการกล่าวถึงในข้อความบทความเลย (มิใช่เพียงเชิงอรรถ) ว่าข้อความเฉพาะหนึ่ง ๆ นั้นมาจากแหล่งใด อ้างอิงประเภทนี้มักเป็นข้อความแสดงความคิดเห็น ข้อเท็จจริงที่ไม่ได้รับการยืนยัน และคำกล่าว โดยทั่วไปการกล่าวถึงในบทความมิได้บ่งรายละเอียดข้อความที่มาอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะทำเป็นเชิงอรรถตามปกติ ตัวอย่างเช่น ตามข้อมูลของพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ ...<sup>[1]</sup>
 
https://www.facebook.com/Bstarfanpage/
== การอ้างอิง ==
เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาลงในบทความ คุณควรอ้างถึงแหล่งที่มาข้อมูลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดข้อสงสัย หากคุณเขียนขึ้นจากความจำ คุณควรค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนข้อมูลนั้น แต่ถ้าคุณเขียนขึ้นจากความรู้ของคุณเอง คุณก็ควรจะมีความรู้มากพอที่จะระบุแหล่งอ้างอิงที่ผู้อ่านจะสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เป้าหมายหลัก คือ '''ช่วยเหลือผู้อ่าน'''และผู้เขียนคนอื่น ๆ
 
การอ้างอิงแหล่งที่มาจะมีความสำคัญมากในบทความที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และ[[วิกิพีเดีย:หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ|หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำคลุมเครือ]] เช่น "บางคนกล่าวว่า " หรือ "มีผู้วิจารณ์ว่า " แต่ควรทำให้การแก้ไขของคุณสามารถพิสูจน์ได้ โดยค้นคว้าว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นผู้แสดงความเห็น รวมทั้งอ้างถึง หลักฐานของการแสดงความเห็นดังกล่าวด้วย พึงระลึกว่า[[วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย#นอกจากนี้ สิ่งที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย|วิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับแสดงความคิดเห็นส่วนตัว]]
 
เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง สามารถถูกผู้ใช้ลบได้ในทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ผู้อื่นอาจไม่พอใจที่คุณลบเนื้อหาโดยไม่ให้โอกาสคนอื่นเติมแหล่งอ้างอิง ดังนั้น คุณอาจจะติดป้าย <nowiki>{{ต้องการอ้างอิง}}, {{ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้}}, หรือ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}</nowiki> หรือคัดเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไปใส่หน้าอภิปรายแทน และรอจนกว่าจะมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
 
ในหน้าแก้ความกำกวมนั้นไม่ใช่อ้างอิง เพราะการอ้างอิงข้อมูลที่ให้นั้นควรอยู่ในหน้าบทความเป้าหมายเท่านั้น การอ้างอิงไม่ควรใช้ในส่วนบทนำของบทความ เพราะเป็นการสรุปข้อมูลที่มีการระบุแหล่งอ้างอิงไว้ในบทความแล้ว แม้อาจมีการยกเว้นที่ข้อความนั้นจะต้องมีแหล่งอ้างอิงเสมอแม้แต่ในส่วนบทนำ
 
สำหรับภาพหรือไฟล์สื่ออื่น รายละเอียดของแหล่งที่มาและสถานะลิขสิทธิ์ควรปรากฏในหน้าไฟล์นั้น คำอธิบายภาพควรมีการอ้างอิงตามความเหมาะสมเช่นเดียวกับส่วนอื่นของบทความ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงรายละเอียดของภาพที่สามารถพิสูจน์ได้โดยตรงจากภาพเอง (เช่น "ภาพนี้เป็นภาพผู้ชายสองคน")
 
=== เมื่อใดที่ควรอ้างอิง ===
* เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่
* เมื่อคุณตรวจสอบ ยืนยัน ความถูกต้องเนื้อหา
* ข้อมูลจากคนกลาง: บอกด้วยว่าคุณได้มาจากไหน
* เนื้อหาที่เป็นหรือน่าจะเป็นที่กังขา หรืออาจเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ
* เมื่อคุณอ้างอิงคำพูดของบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
* เมื่อคุณเสนอข้อมูลทางสถิติ หรืออ้างถึงอันดับ หรือความเป็นที่สุด
* เมื่อกล่าวถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลนั้นยังเป็นที่พิพาทหรือมีแนวโน้มหมิ่นประมาท ซึ่งหากข้อมูลประเภทนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิง ผู้ใช้ควรลบข้อมูลทิ้งทันที
 
=== แหล่งข้อมูลใดที่ควรใช้เป็นแหล่งอ้างอิง ===
{{บทความหลัก|วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้}}
'''แหล่งข้อมูลควรเป็นของบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้อหา''' ไม่ควรอ้างอิง[[เว็บบล็อก]] [[เว็บบอร์ด]] เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือที่จ้างสำนักพิมพ์พิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจมีเนื้อหาที่ไม่เป็นกลาง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการประชาสัมพันธ์ไปยังเว็บไซต์หรือหนังสือเหล่านั้น การอ้างอิงเว็บไซต์ส่วนตัวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการอ้างถึง "คำพูด" จากผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ส่วนตัวดังกล่าว ควรอ้างอิงตามแหล่งข้อมูลต้นฉบับซึ่งไม่ละเมิดลิขสิทธิ์มาจากแหล่งอื่นอีกต่อหนึ่ง และหากเป็นไปได้แหล่งข้อมูลนั้นควรเป็นภาษาไทย
 
'''แหล่งอ้างอิงต้องมีความน่าเชื่อถือ''' ไม่ว่าจะมาจากเว็บไซต์หรือหนังสือ ไม่ควรอ้างอิงจากคำบอกเล่ากันมาปากต่อปากหรืออ้างอิงไปที่ตัวบุคคล เพราะไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เนื้อหาสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้เขียนหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลได้ นอกจากนี้ไม่อ้างอิงวิกิพีเดียด้วยกันเอง ไม่ว่าจะภาษาเดียวกันหรือภาษาอื่น ถ้าเนื้อหาที่เขียนแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่นควรระบุแหล่งอ้างอิงตามต้นฉบับด้วย หรือหาแหล่งอื่นมาเพิ่ม
 
'''แหล่งอ้างอิงควรสามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป''' มิใช่เอกสิทธิ์เฉพาะบางกลุ่มหรือต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้ รวมทั้งเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องสมัครก่อนเข้าถึงเนื้อหา ไม่เป็นเอกสารภายในองค์กรที่ไม่มีการเผยแพร่สู่แหล่งสาธารณะ เช่นแผ่นพับ รายงาน งบการเงิน เอกสารการสอนในห้องเรียน เป็นต้น (ปกติแล้วแผ่นพับมักจะให้เนื้อหาในทางโฆษณาซึ่งไม่ผ่านนโยบายความเป็นกลาง) หากเป็นแหล่งข้อมูลหนังสือ ควรมีเลข [[ISBN]] หรือ [[ISSN]] กำกับ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันและสืบค้นได้ง่ายตามห้องสมุด
 
{{Anchor|EL}}
=== แหล่งอ้างอิงกับแหล่งข้อมูลอื่นต่างกันอย่างไร ===
{{เว็บย่อวิกิ|WP:EL}}
 
'''แหล่งอ้างอิง''' (reference หรือ source) ควรเป็นที่รวมแหล่งข้อมูลที่<u>ใช้ในการยืนยันเนื้อหาข้อมูลภายในบทความ</u> เพื่อให้ผู้อ่านทราบแหล่งที่มาของข้อมูล และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงได้หากต้องการ ตัวอย่างการอ้างอิง เช่น การนำข้อมูลในเว็บไซต์หรือหนังสือมาเขียนเรียบเรียงใหม่ในวิกิพีเดีย ซึ่งจำเป็นต้องระบุแหล่งที่มา เป็นต้น
 
สำหรับ '''แหล่งข้อมูลอื่น''' (หรือ ลิงก์ภายนอก) ใช้สำหรับรวมแหล่งข้อมูลที่<u>ไม่ได้ใช้ในบทความ หรือไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้</u> (ซึ่งอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นกลาง) แต่มีความเกี่ยวข้องกับบทความ และอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหากต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น บทวิจารณ์ของบุคคลที่มักจะไม่เป็นกลาง ถือเป็นแหล่งข้อมูลอื่น
 
== วิธีการอ้างอิง ==