ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ชื่อค่ายมาจากเมือง "[[ออชฟีแยญชิม]]" (Oświęcim) โดยหลังจาก[[การบุกครองโปแลนด์]] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ออชฟีแยญชิมของโปแลนด์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีและเปลี่ยนชื่อเป็นเอาช์วิทซ์ (Auschwitz) ซึ่งเป็นชื่อใน[[ภาษาเยอรมัน]]<ref>Up to then, there had been no special significance attached to the name; for example, "Duke of Auschwitz" was for centuries one of the minor titles held by the Habsburg Emperors, which at the time was completly innocuous and unimportant.</ref> ส่วนเบียร์เคอเนา (Birkenau) เป็นชื่อใน[[ภาษาเยอรมัน]]ที่แผลงมาจาก "[[บแชชิงกา]]" (Brzezinka, [[เบิร์ช|ต้นเบิร์ช]]) ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไปไม่ไกลนักที่ต่อมาถูกเยอรมนีทำลายเกือบทั้งหมด
 
[[รูด็อล์ฟ เฮิส]] ผู้บัญชาการของค่าย ให้การใน[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค]]ว่าประชากรถึงราว 3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ แต่[[พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนา]]ปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน<ref name="harmon-drobnicki">Brian Harmon, John Drobnicki, [http://nizkor.org/features/techniques-of-denial/appendix-2-01.html Historical sources and the Auschwitz death toll estimates], [http://nizkor.org ''The Nizkor Project'']</ref><ref>Piper, Franciszek & Meyer, Fritjof. [http://en.auschwitz.org.pl/m/index.php?option=com_content&task=view&id=334&Itemid=8 "Die Zahl der Opfer von Auschwitz. Neue Erkentnisse durch neue Archivfunde"], ''Osteuropa'', 52, Jg., 5/2002, pp. 631-641, (review article).</ref> ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ถูกสังหารเป็น[[ชาวยิว]]จากเกือบทุกประเทศในยุโรป<ref name=Piper62>Piper, Franciszek Piper. "The Number of Victims" in Gutman, Yisrael & Berenbaum, Michael. ''Anatomy of the Auschwitz Death Camp'', Indiana University Press, 1994; this edition 1998, p. 62.</ref> ผู้ประสบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารใน[[ห้องรมแก๊ส]]โดยใช้แก๊ส[[ซือโคลน เบ]] การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอยาก การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกสังหารตัวต่อตัวประหารชีวิตรายคน และ "การทดลองทางแพทย์"
 
ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้เสียชีวิต โปแลนด์ก็ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ณ ที่ตั้งของค่ายกักกันของสองค่าย เมื่อมาถึง ค.ศ. 1994 ก็มีผู้มาเยี่ยมค่ายกักกันถึง 22 ล้านคน - 700,000 คนต่อปี - ที่ผ่านประตูที่มีอักษรบนเหล็กดัดเหนือประตูว่า "[[การทำงานนำมาซึ่งอิสรภาพ]]" ({{lang|de|''Arbeit macht frei''}}) วันปลดปล่อยค่ายกักกันเมื่อวันที่ [[27 มกราคม]] [[ค.ศ. 1945]] โดยกองทัพโซเวียต เป็นวันที่ระลึกของวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์นานาชาติ (International Holocaust Remembrance Day) วันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์ในสหราชอาณาจักร และวันรำลึกในวาระที่คล้ายคลึงกันในประเทศอื่น ๆ