ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ris24 (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติ
Ris24 (คุย | ส่วนร่วม)
สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)
บรรทัด 208:
# สำนักอะษะรี เป็นทัศนะของ[[อะฮ์มัด บินฮันบัล]] ผู้เป็นเจ้าสำนักฟิกฮ์ดังกล่าวมาแล้ว
 
หากมุอฟิกฮ์ตะซิละหฟิกฮ์แยกตัวออกจากสำนักของฮะซัน อัลบัศรี ย่อมแสดงว่าก่อนหน้านั้นต้องมีสำนักปรัชญามาก่อนแล้ว ฮะซัน อัลบัศรี เองก็มีแนวคิดของตนเช่นกัน นั่นก็เพราะ ฮะซัน อัลบัศรี เป็นปรมาจารย์ของสำนักศูฟีที่ภายหลังแตกขยายเป็นหลายสาย
 
'''1. มัซฮับหะนะฟียะฮ์ المذهب الحنفي'''
ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ระหว่างปี ค.ศ. 661 ถึงปี ค.ศ. 750 ผู้คงแก่เรียนอิสลามเน้นการศึกษาที่เกี่ยวกับอัลกุรอาน แต่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ตามมาสนับสนุนการศึกษาของกรีกและมนุษย์วิทยาตามแนวคิดของตระกูลปรัชญามุอ์ตะซีลี (Mu'tazili) ของอิสลาม ตระกูลความคิดนี้ก่อตั้งขึ้นในบาสราโดยวะศีล อิบุน อะฏอ (واصل بن عطاء‎ - Wasil ibn Ata) (ค.ศ. 700–ค.ศ. 748) ที่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าอัลกุรอานมาจากอัลลอฮ์และอัลลอฮฺมีพระประสงค์อย่างเดียวคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ ปรัชญานี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยตระกูลปรัชญาอัชชาริยยะห์ (الأشاعرة - Ash'ariyyah) และ อาษาริยยะห์ (Athariyyah) ซึ่งเป็นตระกูลปรัชญาของซุนนีย์
 
ได้กล่าวระบุไว้ใน อัลฟะตาวา อัลฮินดียะฮ์ ว่า "เมื่อมัยยิดถูกฝังเรียบร้อยแล้ว สุนัตให้บรรดามุสลิม ทำการนั่งที่กุโบร สักช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากฝังเสร็จ ด้วยขนาดเวลาที่อูฐถูกเชื่อด และเนื้อของมัน ได้แจกจ่ายไป โดยที่ให้พวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน และขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิด....การอ่านอัลกุรอาน ตามทัศนะของ ท่านมุหัมมัด (ร.ฮ.) นั้น ไม่ถือว่ามักโระฮ์ และบรรดาคณาจารย์ของเรา ได้ยึดเอาทัศนะคำกล่าวของเขา" ดู เล่ม 1 หน้า 166
ดังนั้น “ประตูแห่งอิญฏีหะ” (Gates of Ijtihad (اجتهاد) ) จึงเปิดขึ้นที่ทำให้เกิดการโต้แย้งกันภายในแวดวงระหว่างความคิดของปรัชญาตระกูลต่างๆ ของอิสลาม
 
ท่านอิบนุอาบิดีน ได้กล่าวระบุไว้ในหนังสือ ร๊อดดุลมั๊วะหฺตาร ว่า "การนั่งอ่านอัลกุรอาน ที่กุโบร ไม่เป็นมักโระฮ์ ตามทัศนะที่ถูกเลือกเฟ้นแล้ว" ดู เล่ม 2 หน้า 246
 
ได้มีการกล่าวระบุไว้ในหนังสือ อันนิยาบะฮ์ ชัรหฺ อัลฮิดายะฮ์ ว่า " การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรนั้น ไม่เป็นไร แต่อย่านั่งบนกุโบร และอย่าเข้าไปในกุบูร แล้วอ่านอัลกุรอาน" ดู เล่ม 3 หน้า 306
 
'''2. มัซฮับมาลิกียะฮ์''' '''المذهب المالكي'''
 
อุลามาอ์มัซฮับมาลิกียะฮ์ มีทัศนะว่า มักโระฮ์กับการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร แต่บรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกียะฮ์ ยุคหลังนั้น มีมติที่แน่นอนแล้วว่า ให้กระทำได้ บ้างก็บอกว่าเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ หลังจากที่พวกเขา พบหลักฐานว่า มีซอฮาบะฮ์บางท่านได้สั่งเสียให้กระทำ
 
ท่านอัลลามะฮ์ (ปรมาจารย์) ชัยค์ อัดดัรเดร กล่าวว่า "บรรดาอุลามาอ์ (มัซฮับมาลิกีย์) ยุคหลัง มีทัศนะว่า การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร การซิกิร และฮะดียะฮ์ผลบุญ ให้แก่มัยยิดนั้น ถือว่าไม่เป็นไร และผู้ที่กระทำดังกล่าว ย่อมได้รับผลตอบแทนด้วย อินชาอัลเลาะฮ์" ดู อัชชัรหฺ อัลกะบีร ตีพิมพ์พร้อมกับ หาชียะฮ์ อัดดุซูกีย์ เล่ม 1 หน้า 423
 
'''''ข้อควรระวัง'''''
 
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิกติฏออ์ อัสซิรอต๊อลมุสตะกีม ว่า " อิมามมาลิกกล่าวว่า ฉันไม่รู้เลยว่า มีคนใดได้กระทำสิ่งดังกล่าว ดังนั้น จึงเป็นที่ทราบว่า ซอฮาบะฮ์ และตาบีอีนนั้น พวกเขาไม่ได้กระทำมัน" ดู เล่ม 2 หน้า 744
 
เราขอกล่าวว่า การที่ท่านอิมามมาลิก (ร.ฮ.) ไม่รู้นั้น ไม่ได้หมายความถึง การปฏิเสธการกระทำ ของบรรดาซอฮาบะฮ์ และตาบิอีนทั้งหมด และการสรุปความเห็นของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ และตาบิอีน ไม่เคยทำนั้น เป็นการขัดกับบรรดาตัวบท ที่ได้มีการระบุไว้ ดังนี้ คือ
 
ท่าน อัลค๊อลลาล ได้นำเสนอรายงาน ว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอบูยะหฺยา อันนากิด เขากล่าวว่า ได้เล่ากับเรา โดยซุฟยาน บิน มะเกี๊ยะอฺ เขากล่าวว่า ได้เล่ากับเรา โดยหัฟซฺ (บินฆอยยาษ) , จากมุญาลิด , จากท่านอัชชะอฺบีย์ เขากล่าวว่า " บรรดาชาวอันซอรนั้น เมื่อมีผู้ตายคนหนึ่งของพวกเขา ได้เสียชีวิต พวกเขาก็จะทำการสลับกันไป ที่กุบูร เพื่อพวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรของมัยยิดผู้นั้น" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126
 
ท่าน อัลค๊อลลาล ได้กล่าวว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอิบรอฮีม บิน ฮาชิม อัลบะฆอวีย์ ซึ่งเขากล่าวว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอับดุลเลาะฮ์ บิน ซินาน อบูมุหัมมัด ซึ่ง เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบ โดยอัลฟัฏล์ บิน มูซา อัลชัยบานีย์ , จากชารีก , จากมันซูร , จากอัลมัรรีย์ ว่า แท้จริง ท่านอิบรอฮีม (อันนะค่าอีย์) กล่าวว่า "การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรต่างๆ นั้น ไม่เป็นไร" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 127
 
ดังนั้น คำกล่าวของท่านอัชชะอ์บีย์ ได้ชี้ให้เห็นว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ ได้กระทำการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร และท่านอิบรอฮีม อันนะค่าอีย์ ก็เป็นอุลามาอ์อัตตาบิอีน ที่มีทัศนะให้กระทำได้
 
'''3. มัซฮับชาฟิอียะฮ์  المذهب الشافعي'''
 
ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-มัจญฺมั๊วะ ของท่านว่า "บรรดาอุลามาอ์ของเรา กล่าวว่า สุนัตให้ผู้ที่ไปเยี่ยมกุบูร ทำการให้สลามแก่ชาวกุบูร , และให้เขาทำการขอดุอาอ์ ให้แก่ผู้ที่เขาไปเยี่ยม และแก่ชาวกุโบรทั้งหมด , และถือเป็นการดียิ่ง ที่จะกล่าวให้สลาม และขอดุอาอ์ ด้วยกับสิ่งที่ได้ระบุไว้ ในหะดิษ, และสุนัตให้ผู้ไปเยี่ยมกุบูร ทำการอ่านสิ่งที่ง่าย ๆ จากอัลกุรอาน และทำการขอดุอาอ์ ให้แก่เขา หลังจากเสร็จสิ้นการอ่าน ซึ่งอิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ระบุมันไว ้(ในหนังสืออุมมฺ) และบรรดาสานุศิษย์ ก็มีความเห็นพร้องกันต้องกัน" ดู เล่ม 5 หน้า 276
 
ท่านอิมามรอมลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ นิฮายะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ ว่า " สุนัตให้อ่านอัลกุรอานที่ง่าย ๆ ที่กุบูร" ดู เล่ม 3 หน้า 36 และท่านอิมามรอมลีย์กล่าวอีกว่า "ให้เขาทำการอ่านอัลกุรอาน และขอดุอาอ์ หลังจากการอ่านอัลกุรอานของเขา และการขอดุอาอ์นั้น เป็นผลประโยชน์แก่มัยยิด โดยที่การขอดุอาอ์ ถัดจากการอ่านอัลกุรอานนั้น ทำให้ถูกตอบรับเร็วมากกว่า" ดู เล่ม 3 หน้า 37
 
'''''ข้อควรระวัง'''''
 
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิกติฏออ์ อัลซิรอต๊อลมุสตะกีม ว่า" ไม่ได้ถูก (รายงาน) มาสักคำกล่าวเดียว จากอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เกี่ยวกับปัญหาประเด็นนี้ (คือการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร) และดังกล่าวนั้น เพราะว่ามันเป็นบิดอะฮ์ ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์" ดู เล่ม 2 หน้า 734
 
เราขอกล่าวว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวอย่างผิดพลาด ต่อทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) และทำการปฏิเสธ สายรายงานที่ถูกรับรอง จากอิมามชาฟิอีย์ และทำการกล่าวพาดพิงทัศนะ ถึงอิมามชาฟิอีย์ โดยที่ท่านอิมามชาฟิอีย์ ไม่ได้เคยกล่าวไว้เช่นนั้นเลย (คือกล่าวว่าบิดอะฮ์)
 
สำหรับสิ่งที่ได้มีการยืนยันระบ ุจากอิมามชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) นั้น คือ ท่าน อัลค๊อลลาล ได้กล่าวรายงานว่า
 
" ได้บอกเล่าให้ฉันทราบ โดยท่าน เร๊าห์ บิน อัลฟะร๊อจ ซึ่งได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่าน อัลหุซัยน์ บิน อัศศ๊อบบาหฺ อัซซะฟะรอนีย์ กล่าวว่า ฉันได้ถามอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ดังนั้น ท่านอัช-ชาฟิอีย์ตอบว่า "การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรนั้น ไม่เป็นไร" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126
 
และบรรดาอุลามาอ์ ชั้นนำ ในมัซฮัลอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวยืนยันว่า มีตัวบทระบุ อย่างชัดเจน จากอิมามชาฟิอีย์ ว่า อนุญาติให้อ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ได้ อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า อิมามอัชชาฟิอีย์ ได้กล่าวระบุ (การอนุญาตอ่านอัลกุรอานที่กุบูร) ไว้ใน หนังสืออุมมฺ" (ดู หนังสือมัจญฺมั๊วะ เล่ม 5 หน้า 286) และอิมามอิบนุหะญัรอัลฮัยตะมีย์ (ดู อัลฟาตาวา อัลกุบรอ เล่ม 2 หน้า 27)
 
และหากเรากลับไปด ูหนังสืออัลอุมมฺของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ จากเรื่อง "อัลญะนาอิซฺ" ในบทย่อยเกี่ยวกับเรื่อง "จำนวนการห่อมัยยิด" ซึ่งท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ กล่าวระบุไว้ว่า "ฉันรัก หากมีการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร และมีการขอดุอาอ์ ให้แก่มัยยิด (ผู้ตาย) และในเรื่องดังกล่าวนั้น ไม่มีการขอดุอาอ์ ที่ถูกกำหนดเวลา เอาไว้ตายตัว (คือขอดุอาให้ผู้ตายได้ทุกเวลา)"
 
มีบางคน ที่ไม่ค่อยจะมีความรู้มากนัก ได้พยายามกล่าวอ้างทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ที่ว่า ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ไม่ถึงมัยยิด เพื่อจะแอบอ้างว่า เมื่อผลบุญไม่ถึง การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ก็ไร้ความหมาย ซึ่งคำกล่าวนี้ เป็นความเข้าใจ ที่ปราศจากความเข้าใจ ในมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์
 
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ อัลอัซฺการของท่านว่า "บรรดาปวงปราชน์ ได้ ลงมติ เห็นพร้องว่า แท้จริง การขอดุอาอ์ให้แก่บรรดาผู้ตายนั้น มันเป็นผลประโยชน์ แก่พวกเขา และถึงพวกเขา และบรรดาอุลามาอ์ ได้ขัดแย้งกัน เกี่ยวกับเรื่องผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ถึงผู้ตาย ดังนั้น คำกล่าว ที่เลื่องลือ จากมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และกลุ่มหนึ่งนั้น คือ ผลบุญไม่ถึงผู้ตาย (หากอ่านอัลกุรอาน เพียงอย่างเดียว โดยไม่ขอดุอาตามท้าย) และท่านอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล พร้อมด้วยปวงปราชญ์กลุ่มใหญ่ และกลุ่มหนึ่ง จากบรรดาสานุศิษย์ ของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า แท้จริง ผลบุญดังกล่าว ถึงผู้ตาย และทัศนะที่ได้รับการแฟ้นแล้ว คือให้ผู้อ่าน กล่าวดุอาอ์ หลังจากเสร็จสิ้นจากการอ่านอัลกุรอาน ว่า "โอ้อัลเลาะฮ์ ขอได้โปรดทำให้ผลบุญ ของสิ่งที่ฉันได้อ่านมันไปแล้วนั้น ไปถึงคนนั้นๆ (..........) ด้วยเทอญ (ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันเอง วัลลอฮุอะลัม " ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194
 
ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า "คำกล่าวที่เลื่องลือ จากมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์.." นั้น ผู้อธิบายหนังสือ ชัรหฺ อัรเราฏ์ กล่าวว่า มัน หมายถึง การเหนียตฮะดียะฮ์ผลบุญการอ่าน ให้แก่มัยยิด โดยไม่ได้ทำการขอดุอาอ์ให้นั้น" ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194
 
ซึ่งหมายถึงว่า ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน จะมีประโยชน์ และถึงแก่ผู้ตายนั้น ไม่ใช่ด้วยการเหนียตฮะดียะฮ์ให้ เท่านั้น เพราะมันจะไม่ถึง ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ แต่ต้องขอดุอาอ์ ให้แก่มัยยิดด้วย ซึ่งในการขอดุอาอ์นั้น เราจะขอต่ออัลเลาะฮ์ ให้ผลบุญการอ่านของเรา ถึงมัยยิดนั้น ย่อมกระทำได้ อย่างไม่มีปัญหา เนื่องจากการขอดุอาอ์นั้น เป็นสื่อที่ทำให้ผลบุญ ไปถึงมัยยิด ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ไม่ใช่การเหนียตฮะดียะฮ์การอ่านอัลกุรอาน ที่ผู้อ่านได้อ่านเอง เพียงอย่าง เดียว
 
ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า "ท่านอิมามชาฟิอีย์ กล่าวว่า สิ่งที่อื่นจากวายิบ (เช่นฮัจญฺ ศีลอด) การทำทาน (คุณอะสัน บอกได้ไหมว่า การเลี้ยงอาหาร ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่ง จากการทำทาน) การขอดุอาอ์ และการอิสติฆฟาร นั้น จะไม่ถูกทำแทน ให้กับมัยยิด และผลบุญ ก็จะไม่ไปถึงเขา เพราะอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "ไม่มีให้กับมนุษย์ นอกจากสิ่งที่เขาได้กระทำไว้ เท่านั้น" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม3 หน้า373
 
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ อิมามอันนะวาวีย์ จึงกล่าวไว้ในหนังสืออัลอัซฺการว่า " และที่ได้เลือกเฟ้นแล้วนั้น คือให้ผู้อ่านกล่าวดุอาอ์ หลังจากเสร็จจากการอ่านอัลกุรอานว่า "โอ้อัลเลาะฮ์ โปรดจงทำให้ผลบล สิ่งที่ฉันได้อ่านมัน ไปแล้วนั้น ไปถึงคนนั้นๆ (..........) วัลลอฮุอะลัม" ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194
 
และอาจารย์ของอิมามอันนะวาวีย์ คือ ท่านอิบนุ อัศศ่อลาหฺ กล่าวว่า " ผู้ขอดุอา ควรกล่าวว่า ,โอ้อัลเลาะฮ์ โปรดทรงทำให้ผลบุญ ของสิ่งที่ฉันได้อ่านมันไปแล้วนั้น ไปถึงผู้ตายคนนั้นๆ (..........) , โดยที่เขาทำให้การอ่านอัลกุรอาน แล้วขอดุอาอ์ (ให้ถึงผู้ตาย) ไม่ว่าผู้ตายจะอยู่ใกล้ หรือไกลก็ตาม และต้องยาเกนมั่นใจ ในการที่มัยยิด ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว (จากการขอดุอาอ์) นั้น" ดู หนังสือ มุฆนีย์ อัลมั๊วะตาจญฺ เล่ม 4 หน้า 116 - 117
 
และเมื่ออิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้ระบุไว้ในหนังสืออัลอุมม์ว่า "ฉันรัก หากถูกอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร และถูกขอดุอาอ์ ให้แก่ผู้ตาย และในสิ่งดังกล่าวมานั้น ไม่มีการขอดุอาอ์ ที่ถูกกำหนดเวลาเอาไว้" ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตามีย์ จึงได้กล่าวอธิบายว่า " และให้เขา ทำการอ่านอัลกุรอานที่ง่ายๆ แก่เขา (ที่กุบูร) และทำการขอดุอาอ์ ถัดจากการอ่าน โดยที่หลังจากเขาได้หันหน้า ไปทางกิบละฮ์ เพราะการดุอาอ์ หลังจากอ่านอัลกุรอานนั้น มีความหวังในการตอบรับมากกว่า " ดู หนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะห์ตาจ เล่ม 1 หน้า 602 ตีพมพ์ที่ อัษษะกอฟะฮ์ อัดดีนียะฮ์
 
'''4. มัซฮับ อัลหะนาบิละฮ์ المذهب الحنبلي'''
 
ท่าน อัลมัรดาวีย์ ได้กล่าวระบุไว้ในหนังสือ อัลอินซอฟ กล่าวว่า "การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ไม่เป็นมักโระฮ์ ตามในสายรายงานซอฮิหฺที่สุด (ซึ่งมาจากอิมามอะหฺมัด) และ นี้ก็คือ มัซฮับ ที่(ท่านอิบนุมุฟลิหฺ) ได้กล่าวไว้ใน หนังสืออัลฟุรั๊วะอ์ และได้ระบุเรื่องนี้ไว้ในมัซฮับ , ผู้อธิบายได้กล่าวว่า นี้คือคำกล่าว ที่เลื่องลือ จากอิมามอะหฺมัด" ดู เล่ม 2 หน้า 532
 
ท่านอิบนุมุฟลิหฺ กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุบเดี๊ยะอ์ ชัรหฺ อัลมุกเนี๊ยะอ์ ว่า " การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ไม่เป็นมักโระฮ์ ตามสองสายรายงาน ที่ซอฮิหฺยิ่ง ที่รายงานจากท่านอิมามอะหฺมัด และ นี้ก็คือ มัซฮับ (ของอิมามอะหฺมัด)" ดู เล่ม 2 หน้า 281
 
คำพูดต่างๆ ที่ถูกรายงาน เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ท่าน อัซฺซ่ะฮ่ะบีย์ ได้กล่าว ประวัติท่าน อบูญะฟัร อัลฮาชิมีย์ อัลหัมบาลีย์ ชัยค์ มัซฮับอัลหะนาบิละฮ์ (เสียชีวิตปี 470) ว่า " และเขาได้ถูกฝัง เคียงข้างกุบูรของท่านอิมามอะหฺมัด , และบรรดาผู้คน ได้ประจำอยู่ที่กุบูรของเขา เป็นเวลานาน จนกระทั้งกล่าวกันว่า อัลกุรอานได้ถูกอ่านจบ ที่กุบูรของเขา ถึง 10000 จบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 18 หน้า 547
 
ท่าน อัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าว ถึงท่าน อัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์ ว่า " ท่านอัลคอฏีบ เป็น อิมามที่โดดเด่น เป็นอัลลามะฮ์ เป็นมุฟตี เป็นนักจำหะดิษ ที่เชี่ยวชาญ เป็นนักหะดิษแห่งสมัยนั้น.....ท่านอิบนุ ค๊อยรูน กล่าวว่า ท่านอัลคอฏีบ ได้เสียชีวิตในช่วงสาย....ได้มีบรรดานักปราชญ์ฟิกห์ และบรรดาผู้คนมากมาย ได้ทำการติดตาม ส่งญะนาซะฮ์ท่านอัลค่อฏีบ และแบกไปยัง ญาเมี๊ยะอ์ อัลมันซูร โดยที่มีผู้คน กล่าวประกาศก้องว่า นี้คือผู้ที่ปกป้องการโกหก ต่อท่านนบี (ซ.ล.) และนี้คือผู้ที่จำหะดิษ ของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) และได้ถูกอ่านอัลกุรอาน หลายจบด้วยกัน ที่กุบูรของเขา" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 13 หน้า 584
 
ท่านอัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ตารีค อัลอิสลาม ว่า " ท่านอัศศิละฟีย์ กล่าวว่า ท่านอัลมุตะมิน อัศศาญีย์ ได้บอกเล่าแก่ฉัน ในวันศุกร์ที่ 2 หลังจากการเสียชีวิต ของ ท่านอบูมันซูร - คือ ท่านมุหัมมัด บิน อะหฺมัด บิน อะลี อัลคอยยาฏ (เสียชีวิตปีที่ 499) - ว่า " ในวันนั้น บรรดาผู้คนได้ทำการอ่านอัลกุรอานจบ ที่กุบูรของเขา ถึง 221 จบ กล่าวคือ พวกเขาได้ทำการอ่านอัลกุรอาน จนจบซูเราะฮ์ อัลอิลาศ (กุลฮุวัลลอฮ์) เพราะพวกเขา ก็จะทำการรวมตัวกัน แล้วทำการขอดุอาอ์ ถัดจากทุกๆ การอ่านจบ เล็กน้อย"
 
ท่านอัซฺซะฮะบีย์ กล่าวถึงประวัติของ ท่านอิบนุ อัลคอซิบะฮ์ ว่า " เขาคือ ชัยค์ อิมาม นักหะดิษ นักจำหะดิษ เป็นผู้ที่พูดจริง เป็นแบบอย่าง และศิริมงคล แก่บรรดานักหะดิษ...เขาได้เสียชีวิต ในวันที่ 2 เดือนรอบิอุลเอาวัล ปี 489 ฮ.ศ. ญะนาซะฮ์ของเขานั้น เป็นที่โดดเด่น และอัลกุรอาน ได้ถูกอ่านจบ ที่กุบูรของเขานั้น กับหลายจบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 14 หน้า 176
 
จากประวัติของบรรดานักปราชน์หะดิษ ที่ได้หยิบยกกล่าวมาแล้วนั้น เราจะพบว่า การกระทำของพวกเขา และบรรดาอุลามาอ์ ที่อยู่ในแต่ละสมัย ของพวกเขานั้น ได้ทำการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรกันหลายๆ จบด้วยกัน แม้กระทั้งนักหะดิษที่มีคุณธรรม บรรดาผู้คน ก็ทำการอ่านอัลกุรอาน ให้กับพวกเขา หลายจบด้วยกัน จนกระทั้งถึง 10000 จบ ซึ่งการกระทำของพวกเขาเหล่านั้น เป็นการกระทำ ของผู้ที่ไม่เข้าใจศาสนาอิสลาม กระนั้นหรือ? และบรรดาพ่อแม่ของเรา ก็ไม่ใช่จะเป็นผู้ที่มีความรู้มากนัก รู้ศาสนาเพียงแค่เอาตัวรอดได้ เท่านั้นเอง และเมื่อพวกเขาได้เสียชีวิต พวกเราไม่มีสิทธิ์ ที่จะอ่านอัลกุรอาน เพื่อุทิศเป็นผลบุญ ให้พวกบิดามารดาของพวกเราเลย กระนั้นหรือ? ทั้งที่บรรดาอุลามาอ์ ผู้ทรงความรู้ ยังถูกอ่านให้ 10000 จบ แล้วบิดามารดาของเรานั้น ไม่ต้องการความช่วยเหลือ มากไปกว่าบรรดาอุลามาอ์ กระนั้นหรือ? การอ่านอัลกุรอานให้แก่มัยยิด ในช่วง 7 วันนั้น เป็นสิ่งที่สมควรกระทำ เนื่องจากมัยยิด กำลังถูกมะลาอิเกาะฮ์สอบถาม ในช่วงนั้น ดังนั้น การทำบุญเลี้ยงอาหาร เพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์ การอ่านอัลกุรอาน และขออุดาอ์อุทิศส่วนกุศล ไปให้ ในช่วง 3 วัน หรือ 7 วันนั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้ตาย ส่วนประเด็นข้อขัดแย้ง ที่ว่า ผลบุญจะถึงผู้ตาย หรือไม่นั้น? เราก็ต้องพูดกันด้วยหลักฐาน และเราจะรู้อย่างชัดเจน เมื่อเราได้ตายไปแล้ว แต่มันก็คงเป็นเรื่อง ที่น่าเสียดาย ที่คนตายไปแล้ว จะกลับมาบอกว่า ผลบุญนั้นถึงฉัน หรือไม่ ก็ไม่ได้? ซึ่งเหล่านี้ จึงต้องอาศัยหลักฐาน และหลักการที่ชัดเจน จึงจะรู้ถึงซึ่งความเป็นจริง
 
ท่าน อัลหาฟิซฺ อิบนุ อัลร่อญับ กล่าวว่า " ได้รายงานโดยท่านญะฟัร อัล-คุลดีย์ เขากล่าวว่า ได้เล่ามให้เราทราบ โดยอัลอับบาส บิน ยะกูบ บิน ซอลิหฺ อัลอัมบารีย์ ว่า ฉันได้ยินบิดาของฉันกล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้มีคุณธรรม (ซอลิฮีน) ได้ฝันเห็นบิดาของเขา ดังนั้น บิดาของเขา ได้กล่าวแก่เขาว่า โอ้ลูกของฉัน เหตุใดพวกท่าน ถึงตัดขาดการฮะดียะฮ์ มอบผลบุญไปถึงเรา เขากล่าว (กับบิดา) ว่า โอ้บิดาของฉัน บรรดาผู้ตายนั้น รู้ถึงการฮะดียะฮ์ (การมอบผลบุญให้) จากคนเป็นด้วยหรือ? บิดาของเขากล่าวว่า โอ้ลูกเอ๋ย หากแม้นว่า ไม่มีคนเป็นทั้งหลาย แน่แท้ว่า บรรดาผู้ที่ตาย ก็จะพินาศ" ดู อิตหาฟ อัศศาดะฮ์ อัลมุตตะกีน ของท่านอัซซะบีดีย์ เล่ม 10 หน้า 372
 
ดังนั้น การอ่านอัลกุรอานที่กุบูร จึงเป็นประเด็นข้อปลีกย่อย ทางฟิกห์ ที่ขัดแย้งกัน ในหมู่บรรดานักปราชญ์ ซึ่งไม่ใช่เป็นประเด็น ในเรื่องอากิดะฮ์ จนเอาไปโยงกันอย่างสับสนไปหมด โดยนับว่า เป็นการเลยเถิด ในการต่อต้าน เรื่องการอ่านอัลกุรอาน ให้ผู้ตายนั้น มันเป็นการญิฮาด (ต่อสู้) ที่ผิดสมรภูมิ และมันเป็นการแอบอ้าง การต่อสู้กับผู้ที่ไม่ใช่เป็นศัตรู!!! และหลักฐานการอ่านอัลกุรอาน ให้แก่มัยยิดนั้น ก็ไม่เคยมีระบุห้าม จากอัลกุรอาน จากซุนนะฮ์ และจากคำกล่าวห้ามหะรอม จากบรรดาอุลามาอ์ มัซฮับทั้ง 4 เลย ดังนั้น คนบางกลุ่ม ได้อาจหาญ ทำการหุกุ่มพี่น้องมุสลิมด้วยกันว่า การอ่านอัลกุรอาน ให้กับผู้ตายนั้น เป็นสิ่งที่หะรอมบิดอะฮ์ได้อย่างไร? ในเมื่อไม่มีอุลามาอ์ท่านใด เคยกล่าวอย่างนั้น
 
ผู้อวดรู้บ้านเรา บางคนถึงกับตัดสิน ผู้ที่อ่านอัลกุรอาน ให้กับผู้ตายว่า กำลังเผาผู้ตาย ผมไม่ทราบจริงๆ ว่า เขาเอาหลักฐานมาจากใหน? พร้อมกับอ้างซุนนะฮ์ แบบไร้ความจริง และเป็นเท็จต่ออัลกรุอาน และซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) วัลอิยาซุบิลลาฮ์
 
และที่ผมได้นำเสนอ ไปนั้น เราจะพบว่า ท่านอิบนุอุมัร (ร.ฏ.) ซอฮาบะฮ์ผู้เคร่งครัด ในซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์ ก็ยอมรับในเรื่องดังกล่าว บรรดาชาวอันซอร ก็กระทำการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร เพื่อเป็นผลประโยชน์ แด่ผู้ตาย และท่านอิมามอะหฺมัด ซึ่งเป็นหนึ่งในอุลามาอ์สะลัฟ ผู้ยึดการตามร่องรอย จากสะลัฟ มากที่สุด ก็ยอมรับ และยกเลิกทัศนะเดิม เมื่อทราบว่า ท่านอิบนุอุมัร ได้กระทำ และก็มีบรรดาอุลามาอ์สะลัฟ และคอลัฟมากมาย ได้ให้การยอมรับ ในเรื่องดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่มีทัศนะไม่เห็นด้วย ก็สมควรใจกว้าง ในเรื่องของประเด็นข้อปลีกย่อย ไม่สมควรกล่าวว่า บิดอะฮ์หะรอม แก่อีกฝ่ายหนึ่ง แต่สมควรชี้แจงว่า มันมีสองทัศนะ และทำการให้น้ำหนัก สิ่งที่ตนเห็นว่าอันใด ที่เป็นทัศนะ ที่มีน้ำหนัก โดยไม่ไปละเมิด หุกุ่มผู้อื่น ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมเป็นการละเมิด ในเรื่องศาสนา และนั่นก็ไม่ใช่แบบฉบับ ของสะละฟุศศอลิหฺ และอุลามาอ์ยุคคอลัฟ ที่มีคุณธรรม
 
'''5. มัสฮับ'''[[อิมาม (ชีอะฮ์)#cite%20ref-1|ชีอะฮ์]] (สายอิมามียะฮ์اَلْشِيْعَةِ اَلإمَامِيَّة ,  สายซัยยิดดียะห์ اَلْزَيِّدِّيَّةِ اَلْشِيْعَةِ )  ถือเป็นมัสฮับที่อยู่นอกกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลจะมาอะฮ์ (اَهْلُ الْسُنَّةُ وَ الْجَمَاعَةِ) เพราะมีความหลักยึดมั่น (อะกีดะฮ์  عَقِيْدَةَ) และหลักปฏิบัติ (ฟิกฮฺ اَلْفِقْة) ที่แยกเป็นเอกเทศออกไปต่างหากจากกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ฯ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะอยู่แถบภาคกลาง และก็มีกระจายไปส่วนอื่นๆ บ้าง โดยเฉพาะภาคใต้ในบางพื้นที่
 
'''6.  กลุ่มนอกรีต''' غير تقليدي '''Unconventional''' ที่แอบอ้างในนามอิสลาม กลุ่มนี้ถือเป็นคนกลุ่มน้อย แต่ก็ถือว่ามีอิทธิพลในการกำหนดความเข้าใจของผู้คนที่มีต่ออิสลามได้ สมาชิกของกลุ่มนี้อาจมาจากมุสลิมเองบางคนที่สับสนในความคิดของตัวเอง เนื่องเพราะได้รับอิทธิพลทางความคิดจากตะวันตก หรือจากที่อื่นที่อิสลามไม่ให้การยอมรับ เป็นต้น หรืออาจมาจากกลุ่มอื่นที่มีเป้าหมายเพื่อหันเหความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอิสลามไปสู่ความเข้าใจที่ขัดกับอิสลาม โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลายรากฐานของอิสลามจากภายใน หรือเพื่อยืนยันความเชื่อของตนเองด้วยคำสอนที่มีอยู่ในอิสลาม แม้อิสลามจะปฏิเสธความเชื่อดังกล่าวนั้นไปแล้วก็ตาม
 
7.  กลุ่มเฅาะวาริจ[[:ไฟล์:///D:/Baba Doc/1เรื่องศาสนาอิสลาม/บทที่เรียบเรียงเอง/ส-ทัศนะของมัซฮับทั้ง 4.docx#%20ftn1|[1]]]สมัยใหม่ (الخوارج   ) คือกลุ่มที่ต้องการสร้างเอกภาพขึ้นในอิสลามโดยเอามาตรฐานของตัวเองมาเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งมีการปฏิเสธแนวคิดของกลุ่มอื่นอย่างเด็ดขาดไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่มนี้ค่อนข้างง่ายต่อการตัดสินแนวคิดอื่นในแง่เสียหาย พร้อมกับพยายามแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตนเท่านั้นที่เข้าใจอัลกุรฺอานและอัลหะดีษมากที่สุด กลุ่มนี้ค่อนข้างระบาดหนักในหมู่นักศึกษา โดยเฉพาะแถบภาคกลาง และรวมถึงภาคใต้ตอนล่างบางส่วน โดยปกติแล้วกลุ่มนี้จะไม่มีชื่อเฉพาะของตนเอง แต่มักจะเรียกตนเองด้วยชื่อต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นอิสลาม แต่ในขณะเดียว กลุ่มนี้ก็มักจะได้รับการโจมตีจากแนวคิดอื่นอยู่เสมอ เนื่องเพราะความแข็งกร้าวของกลุ่มนี้ที่มีต่อแนวคิดอื่นนั่นเอง ซึ่งเป็นผลทำให้แนวคิดอื่นไม่ค่อยที่จะให้การยอมรับเท่าไร และบุคคลที่ให้การยอมรับกลุ่มนี้ก็ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักศึกษา และกลุ่มคนที่ไม่รู้เรื่องศาสนาอย่างดีจริง
 
* '''มัซฮับฮะนะฟีย์''' เป็นที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอุษมานียะฮฺแห่งตุรกีตลอดจนกลุ่มประเทศมุสลิมในเอเชียกลางและเอเชียใต้
* '''มัซฮับมาลิกีย์'''  นั้นเป็นที่นิยมในหมู่พลเมืองในแอฟริกา ทั้งแอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันออกและตะวันตก
* '''มัซฮับชาฟิอีย์''' เป็นที่นิยมของพลเมืองมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เยเมน และอียิปต์ เป็นต้น
* '''มัซฮับฮัมบะลีย์'''  นั้นถือเป็นมัซฮับอย่างเป็นทางการในประเทศซาอุดิอาระเบียและมีผู้นิยมน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับมัซฮับอื่น ๆ
 
<br />
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ซุนนี"