ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แปลก พิบูลสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 159:
 
===การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก===
นับแต่จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2481 ได้มี[[การแผลงเป็นไทย|นโยบายในการสร้างชาติ]] ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลัทธิ[[ชาตินิยม]] เช่น ออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า ''"ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ"'' รัฐบาลจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้เกิดความทันสมัย เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน มีการยกเลิกบรรดาศักด์ และยศข้าราชการพลเรือน มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และเปลี่ยน[[วันขึ้นปีใหม่]]จากวันที่ 1 เมษายน ตามโบราณราชประเพณีพระราชจักรีวงศ์ เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักโลกตะวันตก โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ ปี พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือน และทำให้อนาคตสั้นลง
 
มีการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ โดยจัดตั้ง[[สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ]]ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 เพื่อจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ โดยประกาศ[[รัฐนิยม]]ฉบับต่าง ๆ อาทิ สั่งห้ามประชาชนกิน[[หมาก]]โดยเด็ดขาด ให้ผู้หญิงเลิกนุ่ง[[โจงกระเบน]] เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน ให้สวมหมวก สวมรองเท้า ไม่ส่งเสริมศิลปะและดนตรีไทยเดิมแต่ส่งเสริมดนตรีสากล ฯลฯ โดยมีคำขวัญในสมัยนั้นว่า ''"มาลานำไทยสู่มหาอำนาจ"'' หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกจะถูกตำรวจจับและปรับ และยังวางระเบียบการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน, ท่าน, เรา มีคำสั่งให้[[ข้าราชการไทย]]กล่าวคำว่า "[[สวัสดี]]" ในโอกาสแรกที่พบกัน และมี[[ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม|การตัดตัวอักษรที่ออกเสียงซ้ำกัน]]จึงมีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย เช่น [[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทรวงศึกษาธิการ]] เขียนเป็น กระซวงสึกสาธิการ เป็นต้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย [[อักขรวิธี]]ภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมที่สังคมไทยเริ่มรับมาจากตะวันตกหลายรูปแบบในขณะนั้น ยังคงอยู่ต่อมาแม้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ตาม "รัฐนิยม" อีกต่อไป และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ไปแล้ว<ref>[http://www.taharn.net/war/47c1.html โหมโรง, รัฐนิยม, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประวัติศาสตร์ที่ต้องไม่บิดเบือน]</ref>
บรรทัด 167:
หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน จอมพล.ป ได้ประกาศให้ประเทศไทยดำรงสถานะเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดจนกระทั่งญี่ปุ่นทำการยกพลขึ้นบกเพื่อขอทางผ่านไปโจมตี[[พม่า]]และ[[มาเลเซีย]] จอมพล ป. ในฐานะ[[นายกรัฐมนตรีไทย]] ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประคับประคองประเทศชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤตจึงประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและเข้าร่วม[[ฝ่ายอักษะ]]<ref name="หนังสือ">หนังสือ 2484 ญี่ปุ่นบุกไทย โดย ส.คลองหลวง</ref> ทั้งนี้มีการบอกเล่ากันว่า ท่านขอพระราชทานยศจอมพลให้กับตนเองเพราะท่านต้องการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ<ref name="หนังสือ"/> ในระหว่างสงครามจอมพล ป. ได้ทำการตกลงช่วยเหลือญี่ปุ่นด้านการรบ เพราะหวังว่าจะได้ดินแดนเพิ่มเติมเข้ามาครอบครอง โดยประเทศไทยได้รับ[[จังหวัดมาลัย]] อีกทั้งได้ส่งกองทัพพายัพเข้าดินแดนบางส่วนของพม่าจัดตั้ง[[สหรัฐไทยเดิม]] หลังสงครามถูกไต่สวนในฐานะ[[อาชญากรสงคราม]]อยู่ระยะหนึ่ง ตาม [[พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม]] ที่รัฐบาลไทยประกาศใช้เป็นกฎหมายหลังสงครามโลก (มีผู้วิเคราะห์ว่า ส่วนหนึ่งเพื่อมิให้ต้องส่งตัวผู้นำรัฐบาลและนายทหารไทยในยุคนั้นไปให้[[ศาลอาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศ]] ที่สัมพันธมิตรตั้งขึ้นที่โตเกียวและ[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก|เนือร์นแบร์ก]]พิพากษาคดี แต่ให้ศาลไทยเป็นผู้พิพากษาแทน ซึ่งเป็นผลดีต่อชีวิตของอาชญากรรมสงครามเหล่านี้ที่เป็นคนไทยรอดพ้นจากโทษ[[ประหารชีวิต]]ทั้งหมด) อย่างไรก็ดี ศาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า กฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง จึงปล่อยตัวเป็นอิสระ หลังจากนั้นก็ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด กลับไปใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่บ้านที่ [[อำเภอลำลูกกา]] [[จังหวัดปทุมธานี]] โดยปลูก[[ผัก]]ต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงชีพอดมื้อกินมื้อ
 
โดยจอมพลแปลกได้ถูกให้ออกจากประจำการเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/D/081091/1878.PDF เรื่องให้นายทหารออกจากประจำการ]</ref>
 
===การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในครั้งหลัง===