ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเกตุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
| god_of = เทพแห่งความเป็นสิริมงคล ความลึกลับ ความหวั่นไหว การทะเลาะวิวาท การเสียสละ การปล่อยวาง [[ดาวหาง]]
| จำพวก = เทวดานพเคราะห์ และอสูร
| เทวพาหนะ = พญานาค,นกอินทรี,แร้ง,ปลา,กวาง,แพะ,ราชรถสีส้มเทียมม้าสีแดง 8 ตัว
| ดาวพระเคราะห์ = เกตุโลก หรือ ดาวเกตุ ([[ดาวเนปจูน]]) [[ภาพ:Ketu symbol.png|15px|]]
| อาวุธ = พระขรรค์,ดาบ,โล่,ธง,คทา,หอก,หม้อน้ำ,ลูกประคำ ฯลฯ
บรรทัด 14:
'''พระเกตุ''' ([[อักษรเทวนาครี|เทวนาครี]]: केतु ''เกตุ'') เป็น[[เทวดานพเคราะห์]]องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเกตุถูกสร้างขึ้นมาจาก[[พระศิวะ]]ทรงนำ[[พญานาค]] ๙ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระเกตุ มีพระวรกายสีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและแก้วโกเมน ทรงพญานาคเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเบื้องกลาง บ้างก็ว่า พระเกตุเกิดจากหางของ[[พระราหู]] เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม [[พระวิษณุ]]โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์[[น้ำอมฤต]] พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำอยู่ทิศเบื้องกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนัก
 
ในคติฮินดู พระเกตุ เป็นน้องชายของ[[พระราหู]] ที่เกิดจากท้าววิประจิตติ กับนางสิงหิกา แต่ส่วนมากนิยมว่า พระเกตุเป็นส่วนลำตัวของ[[พระราหู]]ที่ถูกจักรตัดออกไป พระราหูจึงมีแต่หัว ส่วนพระเกตุมีแต่ลำตัวที่ไม่มีหัว บ้างก็ว่าพระศุกร์ได้นำนาคมาผ่าเป็น 2 ส่วน เพื่อมาต่อให้ราหูและเกตุ พระราหูมีหัวเป็นอสูรตัวเป็นเทพนาค พระเกตุมีหัวเป็นเทพนาคตัวเป็นอสูร
 
ลักษณะของพระเกตุ ในคติไทย เป็นเทพบุรุษมีกายสีทอง มี ๒ กร ทรงพระขรรค์เป็นอาวุธ สวมมงกุฎยอดชัย สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและแก้วโกเมน ทรงพญานาคเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทพอสูรมีกายสีส้มทองดังดอกทองกวาว กายใหญ่ มีเศียรใหญ่ นัยน์ตาสีแดงเลือด บ้างก็ว่าสีน้ำตาล มี มี ๔ กร ทรงธง คทา ดาบ โล่ ฯลฯ สวมมงกุฎทองคำ มีรัศมีสีแดง สวมอาภรณ์สีทองและสีแดง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและแก้วโกเมน ทรงนกอินทรีเป็นพาหนะ บ้างก็วาดพระเกตุเป็นครึ่งอสูรครึ่งนาค บ้างก็วาดพระเกตุเป็นครึ่งอสูรครึ่งนาค แต่หัวขาด พระเกตุ ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระโฆระ,พระสถูลศิระ,พระธวชากฤติ,พระมหาภีติกร,พระจิตรวรรณ,พระรักตเนตร,พระมหาสูร,พระกรูระกัณฐ์,พระโกรธนิธิ,พระอันตยเคราะห์,พระคทาปาณี,พระมันทสขา ฯลฯ