ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดราชผาติการามวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53:
 
=== โครงการบูรณปฏิสังขรณ์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ===
[[พระธรรมปัญญาจารย์ (สุพจน์ ปภสฺสโร)]] เจ้าอาวาสรูปที่ 13 ของวัดได้เริ่มดำเนินโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชผาติการาม เพื่อถวยพระราชกุศลแด่[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เนื่องในวโรกาส[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554]] และ [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ภายใต้การร่วมมือของ[[สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์]] โดย[[กรมศิลปากร]]ดูแล นอกจากนี้ทางวัดยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภู๊มิพลสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มูลค่า 250 ล้านบาทเพื่อร่วมบูรณปฏิสังขรณ์วัดในครั้งนี้ด้วย
 
ในครั้งนี้ได้จัดเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถขึ้น โดยเกิดจากเมื่อครั้น พ.ศ. 2520 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงสดับฟังพระธรรมเทศนา "มหาชนกชาดก" โดย [[สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)]] เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 12 แล้วเกิดความสนพระราชหฤทัยขึ้นเป็นอย่างมาก จึงทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าเรื่องมหาชนกชาดกอย่างละเอียดด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งทรงพระราชนิพนธ์โดยแก้เนื้อหาบางตอนให้ทันสมัย และเพิ่มเคนิคการปลูกมะม่วงเข้าไปในตอนจบของเรื่องเพื่อสอดแทรกแนวคิดเกษตรกรรมที่พระองค์ทรงศึกษามา เป็นพระราชนิพนธ์เรื่อง [[พระมหาชนก]] และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษจัดพิมพ์แก่ประชาชน ด้วบความทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์เรื่องมหาชนก ประกอบกับที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ซึ่งเป็นผู้จุดประกายความสนพระราชหฤทัยและก่อให้เกิดเรื่องมหาชนก เป็นอดีตเจ้าอาวาทของวัดราชผาติการาม จึงได้จัดให้วาดจิตรกรรมฝาผนังภาายในวัดขึ้นเป็นเรื่องพระมหาชนก ตามเนื้อเรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยใช้ศิลปะการเขียนภาพจิตรกรรมแบบไทยประยุกต์กับสมัยใหม่ พร้อมทั้งสอดแทรกอุปกรณ์เครื่องใช้ในสมัยปัจจุบัน เช่น แท็บเล็ต หูฟัง และได้วาดภาพพระราชวังเมืองมิถิลานครแทนด้วย [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] พร้อมภาพผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คณะทำงาน ศิลปิน และเจ้าอาวาสของวัดร่วมไปในภาพเขียนด้วย
 
นอกจากการวาดจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถแล้ว โครงการได้ปรับปรุงอาคารต่าง ๆ โดยคงไว้ด้วยลักษณะทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมเดิมไว้ พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบวัดให้สวยงาม สะอาด และทันสมัย โครงการได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2558 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงโปรดเกล้าฯ ให้[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เปิดพระอุโบสถที่ปรับปรุงใหม่และบริเวณวัด