ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดราชผาติการามวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
| footnote =
}}
'''วัดราชผาติการามวรวิหาร''' เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่[[ถนนราชวิถี]] เชิง[[สะพานกรุงธน]] แขวงวชิรพยาบาล [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]] ตรงข้ามกับ[[บ้านอาจารย์ฝรั่ง]] สร้างขึ้นเมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรง[[ผาติกรรม]]วัดส้มเกลี้ยงเดิม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหลัง[[โรงเรียนเซนต์คาเบรียล]]ในปัจจุบัน และได้รับการทำนุบำรุงโดยดีมาตลอดรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มหาราช ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]พระราชทานพระนามใหม่แก่วัดว่า "วัดราชผาติการาม" อันมาจากคำว่า "ราช-" คือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน, "ผาติกรรม" คือการทำผาติกรรมที่สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงทำ และ "อาราม" คือวัด จึงแปลความได้ว่า วัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงทำผาติกรรมขึ้นมา วัดได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยพระราชกระแสใน[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]มหาราช โดยทรงพระราชทานพระราชทรัยพ์ส่วนพระองค์มูลค่า 250 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมโบราณ พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถเป็นเรื่อง[[พระมหาชนก]]
 
ภายในวัดราชผาติการามวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มหาราช ในกล่อศิลาด้านหลังพระอุโบสถ ไม่ปรากฏนามผู้ที่นำพระบรมอัฐิมามอบให้ บริเวณวัดราชผาติการามยังเป็นที่ตั้งของ[[โรงเรียนวัดราชผาติการาม]] วัดราชผาติการามในปัจจุบันอยู่ภายใต้การอนุรักษ์และปรับปรุงของ[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]]
บรรทัด 50:
ต่อมาในรัขสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มหาราช การก่อสร้างวัดยังไม่แล้วเสร็จ จึงทรงสานต่อพระราชปนิธานของพระบรมราชชนก โดยโปรดเกล้าฯ ให้[[กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ]] ทรงควบคุมการก่อสร้างต่อ แต่พระองค์เสด็จทิวงคตก่อน การก่อสร้างจึงหยุดชะงักลง ต่อมาเมื่อมีการสร้าง[[ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)|ถนนราชวิถี]] ตัดผ่านในบริเวณกุฏิสงฆ์ของวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้[[พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล)]] ย้ายกุฏิสงฆ์ออกจากจุดที่ถนนจะตัดผ่าน และสร้างกำแพงล้อมรอบบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยเดิมทีไม่มีการกำหนดพื้นที่บริเวณวัด พื้นที่สีมาของวัดนั้นกินพื้นที่สังฆาวาสปะปนอยู่กับพื้นที่พุทธาวาส และกินพื้นที่ถนนราชวิถีด้วย ด้วยเหตุเดียวกันนี้ทำให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมได้ไม่สะดวก [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า|พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์]] [[สมเด็จพระสังฆราช]]ในขณะนั้นจึงโปรดให้[[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)]] ทำพิธีผูกพันธสีมาขึ้นเฉพาะบริเวณพระอุโบสถของวัด เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471 จึงสามารถสังเกตได้จาก[[ใบสีมา]]ของวัดราชผาติการามนั้นจะประดิษฐานอยู่บนผนังอาคารอุโบสถ ไม่ได้อยู่บนบลานวัดเหมือนวัดอื่น ๆ
 
[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]พระราชทานพระนามใหม่แก่วัดส้มเกลี้ยงว่า "วัดราชผาติการาม" อันแปลว่าวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงทำผาติกรรม ซึ่งตรงกับประวัติของวัดที่[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]เจ้าอยู่หัวทรงทำการผาติกรรมวัดแห่งนี้นมาในครั้งแรก พื้นที่ของวัดต่อมาได้ปรับปรุงใหม่หลังการก่อสร้าง[[สะพานกรุงธน]]ในสมัยรัฐบาล[[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] เมื่อปี พ.ศ. 2501 ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโดยตลอด โดยพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชวงศ์ เจ้าอาวาทวัดทุกรูป เมื่อปี พ.ศ. 2516 [[สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)]] เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 12 ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐานพระอุโบสถ ภายหลังการบูรณะพระอุโบสถครั้งใหญ่ และไดรับพระมหากรุณาธิคุณใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] เสด็จฯ มาทรงยกฉัตรเจ็ดชั้นกั้นหลวงพ่อสุก พระประทานในพระอุโบสถ
 
=== โครงการบูรณปฏิสังขรณ์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ===
[[พระธรรมปัญญาจารย์ (สุพจน์ ปภสฺสโร)]] เจ้าอาวาสรูปที่ 13 ของวัดได้เริ่มดำเนินโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชผาติการาม เพื่อถวยพระราชกุศลแด่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เนื่องในวโรกาส[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554]] และ [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ภายใต้การร่วมมือของ[[สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์]] โดย[[กรมศิลปากร]]ดูแล นอกจากนี้ทางวัดยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภู๊มิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มูลค่า 250 ล้านบาทเพื่อร่วมบูรณปฏิสังขรณ์วัดในครั้งนี้ด้วย
 
ในครั้งนี้ได้จัดเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถขึ้น โดยเกิดจากเมื่อครั้น พ.ศ. 2520 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงสดับฟังพระธรรมเทศนา "มหาชนกชาดก" โดย [[สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)]] เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 12 แล้วเกิดความสนพระราชหฤทัยขึ้นเป็นอย่างมาก จึงทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าเรื่องมหาชนกชาดกอย่างละเอียดด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งทรงพระราชนิพนธ์โดยแก้เนื้อหาบางตอนให้ทันสมัย และเพิ่มเคนิคการปลูกมะม่วงเข้าไปในตอนจบของเรื่องเพื่อสอดแทรกแนวคิดเกษตรกรรมที่พระองค์ทรงศึกษามา เป็นพระราชนิพนธ์เรื่อง [[พระมหาชนก]] และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษจัดพิมพ์แก่ประชาชน ด้วบความทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์เรื่องมหาชนก ประกอบกับที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ซึ่งเป็นผู้จุดประกายความสนพระราชหฤทัยและก่อให้เกิดเรื่องมหาชนก เป็นอดีตเจ้าอาวาทของวัดราชผาติการาม จึงได้จัดให้วาดจิตรกรรมฝาผนังภาายในวัดขึ้นเป็นเรื่องพระมหาชนก ตามเนื้อเรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยใช้ศิลปะการเขียนภาพจิตรกรรมแบบไทยประยุกต์กับสมัยใหม่ พร้อมทั้งสอดแทรกอุปกรณ์เครื่องใช้ในสมัยปัจจุบัน เช่น แท็บเล็ต หูฟัง และได้วาดภาพพระราชวังเมืองมิถิลานครแทนด้วย [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] พร้อมภาพผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คณะทำงาน ศิลปิน และเจ้าอาวาสของวัดร่วมไปในภาพเขียนด้วย
 
นอกจากการวาดจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถแล้ว โครงการได้ปรับปรุงอาคารต่าง ๆ โดยคงไว้ด้วยลักษณะทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมเดิมไว้ พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบวัดให้สวยงาม สะอาด และทันสมัย โครงการได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2558 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงโปรดเกล้าฯ ให้[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]] (พระยศในขณะนั้น) เสด็จฯ เปิดพระอุโบสถที่ปรับปรุงใหม่และบริเวณวัด
 
== ลำดับเจ้าอาวาส ==