ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อมเรศ ศิลาอ่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sangtaksina (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sangtaksina (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไข เพิ่มเติมเนื้อหาเล็กน้อย
บรรทัด 51:
นายอมเรศ ศิลาอ่อน เริ่มเข้าเรียนระดับอนุบาลที่[[โรงเรียนราชินี]] ปากคลองตลาด [[โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์]] จบการศึกษาระดับอนุบาลที่[https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2 โรงเรียนมาแตร์แดอีวิทยาลัย] เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนกุลรัตน์วิทยาลัย และโรงเรียนจุลวิทยา เข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ในระหว่างนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ทางบ้านจึงส่งไปเรียนที่โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อหนีภัยสงคราม หลังสงครามสงบ เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่[[โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย]] ศึกษาต่อสายอาชีวะจนจบที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
 
หลังจากนั้น บิดาได้ส่งไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยเริ่มเรียนหลักสูตร General Certificate of Education (GCE) ซึ่งเป็นหลักสูตรปูพื้นฐานที่ Southend Municipal College สหราชอาณาจักร ก่อนจะเข้าศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ Manchester University สหราชอาณาจักร จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) ในปี พ.ศ. 2500  ขณะทำงานที่ [https://www.shellscg.co.thcom/landing/ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทยปูนซิเมนต์ไทย จำกัด] บริษัทเชลล์ฯ ได้ส่งเข้าอบรมหลักสูตรการจัดการระดับสูง (Advanced Management Program) Harvard Business Schoolสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2517 สมัครเข้าเรียนหลักสูตรอภิธรรมบัณฑิต[https://www.mcu.ac.th/ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์] จนจบหลักสูตร ได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.)เทียบเท่าระดับปริญญาตรี ในปี พ.ศ. 2555  และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจาก[[มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]] มอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาการจัดการ ในปี พ.ศ. 2556
 
== การทำงาน ==
บรรทัด 87:
นายอมเรศสมัครเข้าเรียนหลักสูตรการเรียนการสอนพระอภิธรรม ของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย 9 ชั้นได้แก่ ชั้นที่ 1 จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 2 จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 3 จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 4 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 5 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 6 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 7 มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 8 มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน) ชั้นที่ 9 มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)จนจบหลักสูตร รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง 9 ชั้น 7 ปี 6 เดือนได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.) เทียบเท่าระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ. 2555 และศึกษาพระไตรปิฏกต่อกับอาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ (อาจารย์ดิษกฤต สาสนเวชช์) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน<ref>'''อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยสอนอภิธรรมระดับปริญญาตรี เรียนฟรีจนจบ'''<nowiki>https://www.posttoday.com/dhamma/107556</nowiki></ref>
 
== งานด้านสังคม ==
 
นายอมเรศ ศิลาอ่อน เคยทำหน้าที่นายกสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เลขาธิการกิตติมศักดิ์สมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาหลายองค์กร อาทิ สมาคมศิษย์เก่ากรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์วิทยาลัย นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์4 สมัย ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 2 สมัย และในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน 2 สมัย เคยดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ อดีตประธานองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ กรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ประธานบริษัทสามารถ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยาจำกัด ประธานกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นต้น
 
== คดีความ ==
หลังวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือที่เรียกรู้จักกันทั่วไปว่า “[https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2540 วิกฤติต้มยำกุ้ง]” นำไปสู่การระงับการดำเนินกิจการสถาบันการเงินไทย รวม 58 แห่ง และได้มีการตั้ง[[องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน]] หรือ ปรส. ขึ้นชุดแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2540  ในสมัยรัฐบาล[[พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ]] กำกับดูแลสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สุจริต รวมทั้งชำระบัญชีของสถาบันการเงินในกรณีที่ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้
 
ดร.[[วีรพงษ์ รามางกูร]] ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ในสมัยรัฐบาลพลเอก[[ชวลิต ยงใจยุทธ]] ได้มาขอร้องให้นายอมเรศช่วยดูแลองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) หลังจากดำเนินการได้ระยะหนึ่ง เกิดปัญหาการแทรกแซงทางการเมือง นายอมเรศและกรรมการทั้งหมดจึงขอลาออก ต่อมา พ.ศ.2541 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ขอให้นายอมเรศกลับไปรับตำแหน่งประธาน ปรส. อีกครั้ง โดยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีได้โทรศัพท์มารับรองว่า "ถ้าคุณอมเรศรับ ผมรับรองว่าจะไม่มีการแทรกแซงทางการเมือง"<ref>อมเรศ ศิลาอ่อน, ทำดีแล้ว...อย่าหวั่นไหว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิตยสารแพรว อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2556. หน้า 181.</ref>
 
ภายหลังจาก ปรส. ได้ประมูลขายทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มีการกล่าวหาคณะกรรมการและผู้บริหารของปรส.ต่อ[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] หรือ ป.ป.ช. รวม 6 เรื่องผลการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่ากรณีกล่าวหาคณะกรรมการปรส.และผู้บริหาร ปรส. คณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป จำนวน 3 เรื่อง และมีมติไม่ยกขึ้นพิจารณา เนื่องจากเป็นกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจำนวน 1 เรื่อง